คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ระงับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5412/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ไม่ใช่การยอมความ ไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ที่จำเลยตกลงยินยอมผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพิพาทกับหนี้ในคดีอื่นอีกพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หากจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามบันทึกครบถ้วนโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นทั้งหมด หากจำเลยผิดเงื่อนไขยินยอมให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาต่อไปตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงที่จำเลยทั้งสองจะชดใช้เงินของโจทก์ที่ยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลง เลิกหรือระงับการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงบันทึกที่จะชดใช้ค่าเสียหายกันในทางแพ่ง มิใช่เป็นการยอมความอันมีผลทำให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาของโจทก์ต้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คดีจึงยังไม่เลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกหนี้แม้ผู้กู้มอบเช็คแล้ว แต่ไม่นำไปขึ้นเงิน ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องระงับ
แม้ตามสัญญากู้ยืมเงินจะระบุว่า พ. สั่งจ่ายเช็คธนาคารนครหลวงไทย จำกัด เพื่อชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ แต่เมื่อไม่มีการนำเช็คฉบับดังกล่าวไปเรียกเก็บเงิน และต่อมา พ. ถึงแก่กรรมหนี้เงินกู้จึงยังไม่ระงับ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมได้ การที่โจทก์ไม่นำเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้กู้ยืมไปเรียกเก็บเงินก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาไม่ระงับเมื่อโจทก์ล้มละลาย สิทธิฟ้องยังคงอยู่หากยังไม่ถอนฟ้องหรือยอมความ
โจทก์เป็นนิติบุคคลฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แล้วโจทก์ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย แม้จะถือว่าโจทก์สิ้นสภาพบุคคลก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติว่า ในคดีอาญานั้นเมื่อโจทก์สิ้นสภาพบุคคลหรือตายแล้ว ให้คดีอาญาระงับไปคงมีแต่คดีอาญาเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 และมาตรา 39 กับคดีอาญาเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 เท่านั้น คดีนี้เป็นคดีอาญาอยู่ระหว่างรอการอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังมีผลบังคับอยู่ จะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3) มาใช้บังคับมิได้ เมื่อโจทก์มิได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ หรือมีเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ และจำเลยทั้งสอง มิได้นำเงินตามจำนวนในเช็คมาชำระภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ทรงว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คหรือมูลหนี้ที่ออกเช็คสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยทั้งสองจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีหาได้ไม่
สำหรับปัญหาการส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์กรณีที่โจทก์ไม่มีตัวตน หรือไม่มีผู้เข้าดำเนินคดีแทนนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 201 ประกอบมาตรา 216 ก็ได้บัญญัติแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินเพื่อแลกอิสรภาพไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ตามคำฟ้องฎีกาของจำเลยกล่าวแต่เพียงว่าจำเลยใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อแลกกับอิสรภาพ เมื่อผู้เสียหายยอมรับเงินคืนจากจำเลยย่อมเชื่อหรือสันนิษฐานได้ว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยเท่านั้น จำเลยมิได้อ้างว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความว่า ผู้เสียหายได้รับเงินคืนจากจำเลยแล้ว แต่ยังติดใจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยอยู่เพราะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี อันเป็นการยืนยันว่าผู้เสียหายไม่ได้ยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงจึงไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือประนีประนอมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ระงับมูลหนี้ละเมิด โจทก์ยังติดใจเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมได้
หนังสือประนีประนอมเอกสารที่พิพาทเป็นแบบพิมพ์ของจำเลยที่ 2 ถูกทำขึ้นไว้ก่อนแล้วนำมาให้ ส. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ลงชื่อรับเงินในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส โดยจำเลยที่ 2 มิได้มอบเงินจำนวนที่ระบุในหนังสือประนีประนอมให้แก่โจทก์ในวันที่ระบุในหนังสือประนีประนอม และโจทก์ยังติดใจเรียกร้องค่าเสียหายส่วนที่ขาดอยู่อีก การยอมรับเงินจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอม โจทก์มีเจตนารับชำระไว้เป็นค่าเสียหายเพียงบางส่วนกับมีเจตนาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับโทษทางอาญาในสถานเบา มิใช่เป็นการตกลงกันในค่าเสียหายทั้งหมด มูลหนี้ละเมิดที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่ถือเป็นการประนีประนอมยอมความ คดีอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองระบุว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์โดยจะขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์งวดแรกภายในหนึ่งสัปดาห์นับแต่วันนี้เป็นเงิน 60,000 บาทและงวดต่อไปอีกงวดละ 60,000 บาท ไปจนครบรวม 10 งวดโจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญาที่ศาลนี้ ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น มิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้เดิมยังอยู่ส่วนที่นำหนี้อื่นมารวมผ่อนชำระด้วยก็เพียงเพื่อความสะดวกไม่ต้องทำหนังสือหลายฉบับ ทั้งมิได้มีการเพิ่มเติมลูกหนี้แต่อย่างใดเพราะโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามเช็คพิพาทอยู่แล้ว จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ดังกล่าวจนครบ จึงจะถือว่าคดี อาญาระงับ ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การทำหนังสือดังกล่าวหาทำให้คดีอาญาเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 ไม่ สิทธินำคดี อาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ระงับสิทธิเรียกร้องจากผู้กระทำละเมิด หากอีกฝ่ายไม่ชำระหนี้
จำเลยที่1ขับรถยนต์ของจำเลยที่2นายจ้างไปในทางการที่จ้างชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ซึ่งร. ภรรยาโจทก์เป็นผู้ขับได้รับความเสียหายต่อมาจำเลยที่1ทำบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายกับร. มีข้อความว่าจำเลยที่1ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่รถยนต์โจทก์เสียหายแก่ร. จำนวน30,990บาทร. ตกลงตามข้อเสนอของจำเลยที่1และมีข้อความต่อไปว่าการตกลงครั้งนี้จะยังไม่ผูกพันจำเลยที่1เท่านั้นจำเลยที่2จะคงผูกพันอยู่จนกว่าร. จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวครบถ้วนเรียบร้อยแล้วร. จึงจะไม่ติดใจเรียกร้องใดๆกับจำเลยที่1หรือจำเลยที่2อีกแม้จำเลยที่2มิได้ร่วมลงลายมือในบันทึกก็ตามแต่ข้อความตอนท้ายของบันทึกดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาของฝ่ายโจทก์ว่าหากจำเลยที่1ยังไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ครบถ้วนโจทก์ก็ยังมิได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่2เมื่อจำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้หนี้ในมูลละเมิดจึงยังไม่ระงับโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่1ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ได้และมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่2ชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ ใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยรับว่าเป็นหนี้ตามเช็คในคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คคดีนี้จริง และขอผ่อนชำระเงินเป็นงวด หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมด และยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อให้นัดฟังคำพิพากษา อีกทั้งยอมให้ฟ้องร้องบังคับคดีในทางแพ่งได้ด้วย ส่วนผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไม่ได้แสดงเจตนาใด ๆ ให้ปรากฎในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวว่าจะสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีหรือตกลงให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแต่อย่างใด ส่วนคำแถลงของผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายก็มีใจความสำคัญว่า โจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากตกลงกันได้โจทก์จะถอนฟ้อง แต่ปรากฎว่าจำเลยถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย หากโจทก์ถอนฟ้องก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีก ขอให้ศาลพิพากษาไปได้เลย ไม่มีข้อความใดที่โจทก์แสถงเจตนาสละสิทธิดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีหรือตกลงให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช่นเดียวกัน กลับมีข้อความยืนยันให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไปเสียอีกดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความและคำแถลงของผู้เข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายดังกล่าว จึงมิใช่การยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตามนัย ป.วิ.อ.มาตรา39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไป
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกินสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุในเช็ค แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ปรากฎว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดกำหนดโทษไว้ให้ปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ อันเป็นอัตราโทษที่เบากว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยผู้กระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหนังสือค้ำประกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้หนี้ระงับสิ้นสุด ผู้ค้ำประกันยังคงมีผลผูกพัน
เหตุที่หนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 2 หายไปจากกองการเงินของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ไม่ทราบว่าหายไปเมื่อใดจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยินยอมคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วแต่เป็นเรื่องที่ได้มีการกระทำผิดต่อกฎหมายโดยมีผู้ลักเอาหนังสือสัญญาค้ำประกันไปเมื่อเอกสารดังกล่าวหายไปจากความครอบครองของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์คืนเอกสารนั้นแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้เอกสารดังกล่าวมาอย่างไร จึงมิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1ได้เอกสารนั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยที่ 2 จะได้เอกสารดังกล่าวไว้ในครอบครองก็หาใช่กรณีที่หนี้ของลูกหนี้ได้ระงับสิ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ไม่ สัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ยังคงมีผลบังคับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันจึงยังไม่ระงับ โจทก์ชอบที่จะบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ารับคืนสัญญาค้ำประกันนั้นจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ก็หาใช่เหตุที่จะทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดไม่ ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327วรรคสาม มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นได้ เมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันยังไม่ระงับกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ สิทธิในการฟ้องไม่ระงับ
ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกและกระทำอนาจารเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2522 และรุ่งขึ้นวันที่ 12 มกราคม 2522 พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นเข้ามาใหม่ ต่อมาวันที่ 15 มกราคม 2522 ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้ และในวันนั้นเองผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยนั้น ดังนี้ เห็นได้ว่าการถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยนั้นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาด ตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ผู้เสียหายจึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ โดยหาจำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ไว้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการด้วยไม่
of 3