พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3294/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การไม่รับฟ้องเนื่องจากความผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลอื่น และไม่มีเหตุผลพิเศษในการรับชำระคดี
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าเมื่อความผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดตรังและอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดตรังได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าการชำระคดีที่ศาลชั้นต้นจะสะดวกกว่าจึงไม่ประทับรับฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขเจ้าหนี้มีประกัน ทำให้ศาลไม่รับฟ้องและไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ไม่รับคำฟ้องโจทก์เนื่องจากเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10 (2) ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคสอง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกามาพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลล้มละลายกลางจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง โดยต้องส่งอุทธรณ์และคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณา การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ไม่มีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่จะรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่ แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับมูลหนี้สัญญาจ้างแรงงาน ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาจ้างอันเป็นการฟ้องในมูลหนี้สัญญาจ้างแรงงาน จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย และฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ใช่มูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยโจทก์หลายคนที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุแห่งคดีเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งไม่รับฟ้อง
โจทก์แต่ละคนเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์แต่ละคนมีข้อตกลงกับฝ่ายจำเลยว่า จำเลยทั้งหกจะจ่ายเงินสงเคราะห์ศพให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิต แต่ปรากฏว่าเมื่อไปขอรับเงินสงเคราะห์ศพเพื่อจัดการศพได้รับแจ้งจากจำเลยทั้งหกว่าไม่มีเงินจ่ายสงเคราะห์ศพ และอ้างว่าสมาชิกทุกคนได้ลาออกหมดซึ่งความจริงสมาชิกยังมิได้ลาออกและไม่ได้กระทำผิดระเบียบ การที่จำเลยทั้งหกกระทำผิดข้อตกลงและสัญญาที่ให้ไว้ข้างต้นและเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย จำเลยทั้งหกจึงต้องคืนเงินหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าถือว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เป็นคู่ความร่วมในคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลปกครองในคดีสัญญาทางปกครอง: การฟ้องซ้ำหลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองผิดสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนและเรียกค่าเสียหาย ย่อมเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ศาลปกครองจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 9 (4)
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลยุติธรรม โจทก์กับพวกเคยนำคดีทำนองเดียวกันนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นขอให้จำเลยคดีนี้ร่วมกับกรมป่าไม้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนในผลตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องโจทก์กับพวกไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่าคดีโจทก์กับพวกอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการ และยังไม่พ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม แต่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 51 จากนั้นโจทก์จึงนำคดีดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นมีความเห็นว่าคดีโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองก็ไม่จำต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 เพราะศาลปกครองสูงสุดเคยวินิจฉัยแล้วว่าคดีโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่มีคำสั่งถึงที่สุดไม่รับฟ้องโจทก์ด้วยเหตุผลว่าพ้นกำหนดเวลาฟ้องคดี ซึ่งศาลชั้นต้นก็มีความเห็นพ้องกับศาลปกครองสูงสุด กรณีมิใช่มีความเห็นแตกต่างกัน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นที่เป็นศาลยุติธรรม โจทก์กับพวกเคยนำคดีทำนองเดียวกันนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นขอให้จำเลยคดีนี้ร่วมกับกรมป่าไม้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนในผลตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องโจทก์กับพวกไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่าคดีโจทก์กับพวกอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แม้เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดขึ้นก่อนศาลปกครองเปิดทำการ และยังไม่พ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม แต่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 51 จากนั้นโจทก์จึงนำคดีดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นมีความเห็นว่าคดีโจทก์อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองก็ไม่จำต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 เพราะศาลปกครองสูงสุดเคยวินิจฉัยแล้วว่าคดีโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่มีคำสั่งถึงที่สุดไม่รับฟ้องโจทก์ด้วยเหตุผลว่าพ้นกำหนดเวลาฟ้องคดี ซึ่งศาลชั้นต้นก็มีความเห็นพ้องกับศาลปกครองสูงสุด กรณีมิใช่มีความเห็นแตกต่างกัน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีสัมปทานทางปกครองที่ฟ้องซ้ำ ศาลชั้นต้นชอบแล้วที่ไม่รับฟ้องหลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองผิดสัญญาสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน และเรียกค่าเสียหาย ก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น โจทก์กับพวกต่างเคยนำคดีในทำนองเดียวกันกับคดีนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นขอให้จำเลยในคดีนี้ร่วมกับกรมป่าไม้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ย ต่อมาศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนในผลตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องโจทก์กับพวกไว้พิจารณา โดยวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่ผู้ฟ้องยื่นฟ้องพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 51 ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีโจทก์อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ซึ่งเป็นความเห็นพ้องกับศาลปกครองสูงสุด กรณีมิใช่มีความเห็นแตกต่างกัน ศาลชั้นต้นไม่จำต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 และมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุมัติรับฟ้องแย้งและผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกร้องทางศาล
คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นให้ส่งสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา โดยมิได้งดการพิจารณา ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้ทำคำสั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาไว้ในระหว่างอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีเดิม ต่อมาศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาคดีเกี่ยวกับฟ้องแย้งโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อจำเลยฎีกา จึงไม่มีเหตุที่จะให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและรื้อฟื้นพิจารณาพิพากษาประเด็นตามฟ้องแย้งใหม่ หากจำเลยเห็นว่ามีสิทธิตามฟ้องแย้งก็ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้เพราะคำพิพากษาดังกล่าวไม่ตัดสิทธิของจำเลยที่จะเรียกร้องตามสิทธิของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการไม่รับฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลพิจารณาประเด็นการรุกล้ำที่ดินก่อน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสี่ให้การว่า จำเลยที่ 3 อาศัยอยู่ในบ้านที่ อ. ปลูกในที่ดินว่างเปล่าและยกให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ว่างบริเวณใกล้เคียงกับบ้านที่จำเลยที่ 3 อาศัยอยู่แล้ว จำเลยที่ 1 ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ครอบครองลุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ที่ดินนั้นก็ตกเป็นของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยการครอบครองปรปักษ์ คดีนี้จึงมีประเด็นในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ปลูกบ้านทั้งสองหลังรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องหรือไม่ หากฟังไม่ได้ว่าบ้านทั้งสองหลังดังกล่าวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองไปโดยไม่ต้องพิจารณาคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฟ้องแย้งว่า หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ครอบครองรุกล้ำหรือเห็นส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปกปักษ์ จึงเป็นฟ้องแย้งโดยมีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งซื้อที่ดินรุกล้ำไม่ชอบ ศาลไม่รับ เหตุมีเงื่อนไขและขัด กม.แพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การในตอนแรกว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยถูกต้องตามกฎหมายและตามที่โจทก์นำชี้ระวังแนวเขตที่ดิน มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นการปฏิเสธว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ตอนท้ายให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงแล้วก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเลือกตั้งเกินกำหนดเวลาและขาดคุณสมบัติผู้ฟ้องร้อง ศาลไม่รับฟ้องและยืนตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ยื่นฟ้องเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 จึงไม่รับฟ้อง ส่วนศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลย พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220