พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ฟ้องขับไล่โดยไม่มีสิทธิ ไม่เกี่ยวพันกับฟ้องเดิม ศาลไม่รับ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารหอพัก โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่ต่อไป ให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ออกไปจากที่ดินและหอพัก พร้อมกับให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฟ้องแย้งว่าโจทก์ฟ้องโดยรู้อยู่ว่าไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับความเสียหาย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการกล่าวอ้างในการใช้สิทธิทางศาลเนื่องมาจากโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยการฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่อศาลโดยไม่สุจริต ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม และเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อหาเดิม หากไม่เกี่ยวพัน แม้โจทก์ถอนฟ้อง ก็ไม่อาจรวมพิจารณาได้
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาว่าควรรับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะมีหนังสือแจ้งให้ศาลฎีกาทราบว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสามและจำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความไปแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ทำให้ปัญหาตามฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามตกไปด้วย ศาลฎีกาจึงพิจารณาฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมและข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลย หากไม่เกี่ยวพัน ศาลไม่ต้องรับฟ้องแย้ง
ฟ้องแย้งนอกจากจะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้แล้วต้องเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมอย่างไร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ด้วย ซึ่งจำเลยให้การว่าเอกสารตามฟ้องแย้งเป็นเอกสารปลอมที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้แล้ว โจทก์หรือตัวแทนโจทก์ร่วมกันกรอกข้อความโดยจำเลยไม่ได้ให้ความยินยอม หากคดีฟังได้ดังที่จำเลยให้การไว้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องของโจทก์ย่อมรับฟังไม่ได้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องเอกสารดังกล่าวก็ไม่อาจนำไปใช้อ้างเป็นประโยชน์ต่อโจทก์หรือบุคคลภายนอกได้อยู่แล้ว หาจำเป็นที่จำเลยต้องฟ้องแย้งเพื่อให้โจทก์คืนหรือทำลายเอกสารดังกล่าวไม่ ที่จำเลยอ้างว่าเมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จำเลยไม่อาจเรียกเอกสารดังกล่าวคืนจากบุคคลภายนอกได้ จึงเกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่แล้ว ชอบที่จะฟ้องแย้งได้นั้น การที่จำเลยจะเรียกเอกสารดังกล่าวคืนจากบุคคลภายนอกได้หรือไม่ ไม่เกี่ยวกับข้อโต้แย้งอันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ในคดีนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620-4621/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีต่างสำนวน แม้โทษจำคุกตลอดชีวิตก็ทำได้หากคดีไม่เกี่ยวพันกัน
คดีสำนวนแรกและสำนวนหลังมิได้เกี่ยวพันกันไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ แม้ทั้งสองคดีศาลต่างลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ก็สามารถนับโทษต่อกันได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
การนับโทษต่อหาจำต้องคำนึงถึงว่าจำเลยซึ่งต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีสำนวนแรกจะถึงแก่ความตายในเวลาต่อไปอันเป็นเหตุให้โทษเป็นอันระงับไปหรือไม่ ศาลล่างนับโทษจำเลยที่ 1 สำนวนหลังต่อจากโทษจำเลยสำนวนแรกไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 และ 91(3)
การนับโทษต่อหาจำต้องคำนึงถึงว่าจำเลยซึ่งต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีสำนวนแรกจะถึงแก่ความตายในเวลาต่อไปอันเป็นเหตุให้โทษเป็นอันระงับไปหรือไม่ ศาลล่างนับโทษจำเลยที่ 1 สำนวนหลังต่อจากโทษจำเลยสำนวนแรกไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 และ 91(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีความผิดหลายกรรมต่างกันที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายอาญา ม.91(2)
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ซึ่งบัญญัติว่าเมื่อปรากฏว่าผู้ใดกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง เกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดยี่สิบปีนั้น เป็นบทบัญญัติ เกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกัน โดยอาจถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือแยกฟ้องเป็นหลายคดีสำหรับคดีของจำเลยทั้ง 11 คดีซึ่งเป็นคดีที่จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ 10 คดี และฐานรับของโจร 1 คดีนั้น เป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระแยกต่างหากโดยไม่มีความเกี่ยวพันกัน ทั้งไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาทั้ง 11 คดี ติดต่อกันเกินกว่า 20 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีอาญา: คดีไม่เกี่ยวพันกันไม่อาจรวมโทษได้
คำร้องของจำเลยที่ขอให้นับโทษคดีนี้รวมกับโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกคดีหนึ่งนั้นมิได้แสดงว่าคดีทั้งสองเกี่ยวพันกันอย่างไร และโจทก์อาจฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวกันได้หรือไม่ หรือหากโจทก์ฟ้องแยกกันมาศาลอาจมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันเพื่อความสะดวกแก่การพิจารณาพิพากษา ทั้งยังปรากฏว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้อื่น ส่วนคดีที่จำเลยขอให้นับโทษคดีนี้รวมกับคดีดังกล่าวนั้น จำเลยถูกฟ้องในข้อหาต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ โดยเหตุเกิดต่างวันกันด้วย จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจรวมการพิจารณาพิพากษาได้ หากจะให้รวมการนับโทษตามคำร้องของจำเลยก็เท่ากับว่าผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก 50 ปีถ้ากระทำความผิดอื่นอีกก็ไม่ต้องรับโทษ ซีงมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายประสงค์ให้เป็นเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีที่ฟ้องแยกกันและไม่เกี่ยวพันกัน ไม่เข้าข่ายมาตรา 91(2) ป.อ.
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษ ผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิด กระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปี นั้นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำ ความผิดหลายกรรมแต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลย ถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่ง ให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2) เช่นเดียวกัน คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการ ฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ 8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอกคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐาน ที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆ ดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดี เดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกันจึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533,7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า 20 ปีได้คดีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ศาลไม่รับพิจารณาหากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานไม่เกี่ยวพันกับฟ้องเดิม
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายสำหรับสินค้าของโจทก์ที่ขาดหายไป เพราะจำเลยทุจริตต่อหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยนั้นขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหาย ดังนั้นฟ้องเดิมจึงเป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่ฟ้องแย้งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้ฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งจึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งคดีแรงงานต้องไม่เป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม แม้เป็นคดีแรงงานเดียวกัน
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลย (ลูกจ้าง)คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ยักยอกไป ฟ้องแย้งเป็นเรื่องขอให้บังคับโจทก์ (นายจ้าง) จ่ายค่าจ้าง สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย อ้างว่าโจทก์ขู่บังคับให้จำเลยลาออกโดยมิชอบ แม้ว่าทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งจึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของทหาร ไม่เกี่ยวพันกับคดีแพ่งเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่ง เป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งต่อศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(1) และ (3) ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13