คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ใช้สิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุ
ผู้ร้องไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหลังสุดนอกจากนี้เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดประกาศชื่อผู้ร้องในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้ร้องก็มิได้ไปแจ้งเหตุการณ์ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3)
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลเกิน การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนได้ภายหลัง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลบางส่วนคืนโดยอ้างว่าได้ชำระเกินไปกว่าที่จะต้องชำระตามกฎหมาย ย่อมเท่ากับเป็นการยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 บัญญัติยกเว้นให้สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไปแล้วคืนได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8856/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. และไม่มีการแจ้งเหตุ
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 54 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะลงคะแนนไปแสดงตนต่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตรวจสอบชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้ว ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือผู้ใดทักท้วง ให้หมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยให้จดหมายเลขบัตรและสถานที่ออกบัตร และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นหลักฐาน ตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด แล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนน..." และมีระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542 ข้อ 103 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "การตรวจสอบการขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตรวจสอบหลักฐานตามข้อ 101 หรือข้อ 102 ของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งกับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เมื่อพบชื่อและตรวจสอบถูกต้องแล้ว ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครหรือผู้ใดทักท้วง ให้หมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจดเลขประจำตัวประชาชนหรือเลขบัตรประจำตัวหรือหลักฐาน และสถานที่ออกบัตรหรือหลักฐาน และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาลงในช่องพิมพ์ลายนิ้วมือที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง แล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบบัตรเลือกตั้งหนึ่งบัตรให้แก่ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนน พร้อมทั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้จ่ายบัตรเลือกตั้งลงลายมือชื่อและบันทึกชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งตรงใต้ช่องพิมพ์ลายนิ้วมือด้วย" ข้อ 106 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับบัตรเลือกตั้งแล้วให้ไปยังคูหาลงคะแนน แล้วทำเครื่องหมายกากบาทลงในบัตรเลือกตั้งหนึ่งเครื่องหมาย และนำบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง" ตามบทบัญญัติและระเบียบดังกล่าวกำหนดวิธีปฏิบัติของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไว้เป็นขั้นเป็นตอน นับแต่ตรวจสอบหลักฐานของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิ มอบบัตรเลือกตั้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและควบคุมการหย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบบัตรเลือกตั้ง เห็นได้ว่า หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งต้องบันทึกเลขประจำตัวประชาชนหรือเลขบัตรประจำตัวหรือหลักฐานอื่นใดพร้อมสถานที่ออกบัตรของผู้ไปใช้สิทธิในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย ในทางตรงข้ามหากผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก็จะไม่ปรากฏบันทึกของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของผู้นั้นในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กรณีของผู้คัดค้าน ผู้ร้องมีพยานบุคคลเบิกความประกอบเอกสารราชการอันเป็นหลักฐานในเบื้องต้นว่า ผู้คัดค้านมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านนำพยานบุคคลเข้าสืบพิสูจน์ว่าได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ในขั้นตอนการตรวจสอบหลักฐานของผู้คัดค้าน กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไม่ได้จดเลขประจำตัวประชาชนและไม่ได้ให้ผู้คัดค้านลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ขั้นตอนการมอบบัตรเลือกตั้งนอกจากผู้คัดค้านพิมพ์ลายนิ้วมือที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งแล้ว ผู้คัดค้านยังได้ลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรด้วย และขั้นตอนการหย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบบัตรเลือกตั้งผู้คัดค้านไม่ได้หย่อนบัตรด้วยตนเองแต่มอบให้บุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน วิธีปฏิบัติของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งดังที่ผู้คัดค้านนำสืบล้วนแต่ขัดแย้งกับขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542 ข้อ 103 และ 106 ทั้งสิ้น เมื่อผู้คัดค้านนำสืบแสดงข้อเท็จจริงไม่ได้ว่าตนได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2543 และคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนนทบุรีได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุหรือแจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิได้เป็นเหตุอันสมควร โดยมีชื่อผู้คัดค้านอยู่ในบัญชีดังกล่าว และผู้คัดค้านมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้คัดค้านจึงเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8295/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องขอรับสมัครเลือกตั้ง สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง การไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง
เมื่อผู้ร้องขอถอนคำร้องที่ขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ผู้คัดค้านรับสมัครผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้คัดค้านไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้อง ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8265/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุตามกฎหมาย
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการเลือกตั้งครั้งใด ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้เนื่องจากมีเหตุสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำแต่ละเขตเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน มาตรา 22 บัญญัติว่า เมื่อครบกำหนดสามสิบวันหลังจากวันเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และมิได้แจ้งเหตุตามมาตรา 21 เพื่อให้ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งดังกล่าวแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันประกาศ และมาตรา 23 วรรคหนึ่ง (3) บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 ฯลฯ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ตามมาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ให้ผู้นั้นเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภารอบสอง ทั้งมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ทั้งก่อนและหลังวันเลือกตั้งตามความในมาตรา 21 และมาตรา 22 ดังกล่าว ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในวันดังกล่าวผู้ร้องป่วยจริง ก็เป็นเพียงเหตุที่ผู้ร้องอาจแจ้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ว่าไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ โดยอาจแจ้งก่อนหรือหลังวันเลือกตั้งตามความในมาตรา 21 และมาตรา 22 ดังกล่าวเท่านั้น เมื่อผู้ร้องมิได้แจ้งเหตุเช่นนี้ จึงไม่อาจอ้างเหตุที่ผู้ร้องป่วยมาขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ผู้คัดค้านรับสมัครผู้ร้องได้
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากการไม่ใช้สิทธิเลือกตั้ง และขอบเขตของวันเลือกตั้ง
ผู้ร้องมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในครั้งที่สองโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งมีกำหนดเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้ร้องไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้งครั้งที่ผู้ร้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งตามนิยามศัพท์ในมาตรา 4 คำว่า วันเลือกตั้งหมายถึง เฉพาะวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นครั้งใด หาได้หมายรวมถึงวันเลือกตั้งอื่น ๆ ด้วยไม่เมื่อไม่ปรากฏว่ายังไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเกิดขึ้นอีก จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องยังมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ร้องจะอ้างการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นมาเป็นข้อแก้ตัวให้กลับเป็นผู้มีสิทธิมิได้
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมระงับสิ้นเนื่องจากไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี และใช้ทางโดยความยินยอม
จำเลยได้ปลูกบ้านและทำประตูรั้วปิดกั้นทางพิพาทมานานประมาณ20 ปีแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยตลอดมา ถึงแม้โจทก์จะเคยได้ภาระจำยอมเหนือทางพิพาทมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ต่อมาโจทก์ยอมรับสิทธิเหนือทางพิพาทของจำเลย ฐานะของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปเป็นการใช้ทางพิพาทโดยความยินยอมของจำเลยเป็นเวลานานถึง 20 ปี ย่อมถือได้ว่าภาระจำยอมระงับสิ้นไปเพราะการไม่ใช้ภาระจำยอมเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย จึงไม่เป็นทางภาระจำยอมอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมระงับสิ้นเนื่องจากไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี แม้เคยมีสิทธิมาก่อน
จำเลยได้ปลูกบ้านและทำประตูรั้วปิดกั้นทางพิพาทมานานประมาณ 20 ปีแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยตลอดมา ถึงแม้โจทก์จะเคยได้ภารจำยอมเหนือทางพิพาทมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ต่อมาโจทก์ยอมรับสิทธิเหนือทางพิพาทของจำเลย ฐานะของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปเป็นการใช้ทางพิพาทโดยความยินยอมของจำเลยเป็นเวลานานถึง 20 ปี ย่อมถือได้ว่าภารจำยอมระงับสิ้นไปเพราะการไม่ใช่ภารจำยอมเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย จึงไม่เป็นทางภารจำยอมอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมระงับสิ้นเนื่องจากการไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี แม้เคยมีสิทธิมาก่อน
จำเลยได้ปลูกบ้านและทำประตูรั้วปิดกั้นทางพิพาทมานานประมาณ20ปีแล้วหลังจากนั้นโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยตลอดมาถึงแม้โจทก์จะเคยได้ภารจำยอมเหนือทางพิพาทมาก่อนหน้านั้นแล้วแต่ต่อมาโจทก์ยอมรับสิทธิเหนือทางพิพาทของจำเลยฐานะของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปเป็นการใช้ทางพิพาทโดยความยินยอมของจำเลยเป็นเวลานานถึง20ปีย่อมถือได้ว่าภารจำยอมระงับสิ้นไปเพราะการไม่ใช่ภารจำยอมเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1399ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางภารจำยอมอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: การไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี และภารจำยอมหมดประโยชน์
การจะรับฟังว่าภารจำยอมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1399 นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า ทางภารจำยอมมิได้ใช้สิบปีขึ้นไป ส่วนภารจำยอมสิ้นไปตามมาตรา 1400 โจทก์ก็จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าภารจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยกทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ใช้ที่ดินแปลงอื่นซึ่งซื้อจากบุคคลภายนอกไปสู่โรงงานของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น เป็นทางซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์ใช้เป็นประโยชน์สำหรับที่ดินแปลงอื่นเพื่อใช้ออกสู่โรงงาน ไม่ใช่สำหรับที่ดินแปลงสามยทรัพย์เพื่อใช้ออกทางสาธารณะ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าทางภารจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยทรัพย
of 2