พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175-5177/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของลูกจ้าง: การพิจารณาความผิดและสิทธิประโยชน์
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับจำเลย แต่มิได้เป็นกรณีร้ายแรง ส่วนโจทก์ที่ 3 ไม่ได้กระทำผิดข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีคำสั่งเพิกถอนการไล่ออกแก่โจทก์ทั้งสามตามมติของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งไล่ออกแก่โจทก์ที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 3 โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเนื่องจากต้องออกจากงานในช่วงระยะเวลาที่ถูกเลิกจ้างจนถึงวันกลับเข้าทำงาน ส่วนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดข้อบังคับของจำเลย กรณีไม่ใช่คำสั่งของจำเลยไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่อย่างใด การที่จำเลยระบุในคำสั่งเพิกถอนการไล่ออกแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ว่า ในระหว่างถูกลงโทษไล่ออกจากงาน โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ใด ๆ จากจำเลย เว้นแต่อายุการทำงานให้นับต่อเนื่องได้โดยไม่นับรวมระยะเวลาที่มิได้ปฏิบัติงานในช่วงที่ถูกลงโทษไล่ออก จึงชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัย – อำนาจผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาคในการเปลี่ยนแปลงโทษ – การไล่ออกชอบด้วยกฎหมาย
ตามระเบียบการประปาส่วนภูมิภาคว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยฯ หมวด 4 การประชุมปรึกษาและการรายงาน ข้อ 21 ถึง 24 มีข้อความเพียงแต่ให้คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยหรือไม่ และผู้กระทำผิดควรได้รับโทษสถานใด เมื่อผู้ว่าการเห็นควรให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมก็ยังสามารถทำได้ มิได้มีข้อความในข้อใดระบุไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายอันแสดงให้เห็นว่าเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นแล้วข้อเท็จจริงต้องยุติตามสำนวนการสอบสวน และเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นควรรับโทษสถานใดแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโทษให้น้อยลงหรือเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งข้อความที่ว่า ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานการสอบสวนนั้นต่อผู้ว่าการเพื่อสั่งการโดยมิชักช้า คำว่าเพื่อสั่งการย่อมมีความหมายว่าให้ผู้ว่าการพิจารณาก่อนว่ามีความเห็นตามที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นหรือไม่ การพิจารณาดังกล่าวก็มิได้กำหนดไว้ว่าผู้ว่าการจะต้องเป็นผู้พิจารณาด้วยตนเอง การที่ผู้ว่าการจำเลยเกษียนสั่งอนุมัติการขยายเวลาการสอบสวนตามที่คณะกรรมการสอบสวนขอมาพร้อมกับส่งเรื่องไปให้รองผู้ว่าการ (บริหาร) พิจารณาดำเนินการต่อไป จำเลยโดยผู้ว่าการยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเสนอการลงโทษโจทก์ เมื่อรองผู้ว่าการ (บริหาร) พิจารณาแล้วก็มอบเรื่องให้กองการเจ้าหน้าที่ไปพิจารณา ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงตามสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นควรเสนอผู้ว่าการเพื่อมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานเนื่องจากโจทก์ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ ก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มิได้เป็นการกระทำที่ผิดระเบียบของจำเลย คำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรมต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9119/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและไล่ออกเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่และการลงเวลาย้อนหลัง ศาลฎีกาพิพากษาชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ปฏิบัติหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์ การมาปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ที่รับผิดชอบเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดูแลรักษาทรัพย์สินของจำเลยจึงเป็นหัวใจสำคัญของงาน แต่โจทก์กลับละทิ้งหน้าที่แล้วมาลงเวลาย้อนหลังเพื่อแสดงว่าตนมาทำงานในเวลาดังกล่าว จึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มีเหตุที่จำเลยจะลงโทษไล่โจทก์ออกได้ตามข้อบังคับ คำสั่งของจำเลยให้ไล่โจทก์ออกจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
ตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเรื่องเมื่อสั่งให้รับพนักงานกลับเข้าทำงานตามเดิม ไม่ให้รับเงินเดือนและสิทธิประโยชน์อื่นในช่วงลงโทษ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ว่า เมื่อโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายเงินในระหว่างพักงาน มิใช่ขอเป็นค่าจ้างหรือเงินเดือน จึงเป็นการขอค่าเสียหายจากกรณีที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. ลักษณะจ้างแรงงาน ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์สามารถทำงานให้แก่จำเลย การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว มิใช่ความสมัครใจของโจทก์ แต่เป็นเพราะจำเลยมีคำสั่งไม่ให้โจทก์เข้าทำงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
ตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเรื่องเมื่อสั่งให้รับพนักงานกลับเข้าทำงานตามเดิม ไม่ให้รับเงินเดือนและสิทธิประโยชน์อื่นในช่วงลงโทษ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ว่า เมื่อโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายเงินในระหว่างพักงาน มิใช่ขอเป็นค่าจ้างหรือเงินเดือน จึงเป็นการขอค่าเสียหายจากกรณีที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. ลักษณะจ้างแรงงาน ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์สามารถทำงานให้แก่จำเลย การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว มิใช่ความสมัครใจของโจทก์ แต่เป็นเพราะจำเลยมีคำสั่งไม่ให้โจทก์เข้าทำงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสมาชิกสมาคมแรงงานเมื่อถูกไล่ออกแล้วกลับเข้าทำงาน: คำวินิจฉัยการเพิกถอนคำสั่งที่ถูกต้อง
แม้โจทก์จะถูกคำสั่งลงโทษไล่ออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. แต่โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่ง คำสั่งลงโทษไล่ออกจึงยังไม่เป็นที่สุด จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งต่อมาบริษัท ก. ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษไล่ออกดังกล่าวโดยลงโทษโจทก์ด้วยการตัดเงินเดือนและให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามปกติโดยนับอายุงานต่อเนื่อง รวมทั้งวันที่โจทก์ได้หยุดงานไปในระหว่างถูกไล่ออกด้วย จึงถือได้ว่าโจทก์ถูกลงโทษเพียงตัดเงินเดือนมิได้ถูกลงโทษไล่ออก โจทก์จึงไม่ขาดคุณสมบัติหรือพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกและกรรมการของสมาคมหรือสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมดังกล่าว เมื่อจำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยและยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยได้
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมดังกล่าว เมื่อจำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยและยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีถูกไล่ออกจากราชการเนื่องจากทุจริต - ผลของคำสั่งทางวินัยระหว่างอุทธรณ์
ขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ อันเป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังมิได้มีมติเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่ผู้ร้อง ต้องถือว่าคำสั่งที่ลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 109 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีถูกไล่ออกราชการฐานทุจริต แม้ยังอยู่ในขั้นตอนอุทธรณ์
ขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ร้องได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจอันเป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ก็ต้องถือว่าคำสั่งที่ลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งไล่ออกเจ้าหน้าที่รัฐฐานร่ำรวยผิดปกติเป็นคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลวินิจฉัยทรัพย์สินนั้นมาโดยชอบ
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง และวรรคสุดท้าย บัญญัติจำแนกวิธีดำเนินการ ไว้เป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่งต้องได้ความว่า ผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้น ในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุม กว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะ ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้ายหากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ ศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง อันเป็นคนละส่วน แยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงมิอาจยกคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่เกี่ยวเฉพาะตัวทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้าง เพื่อหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าตน ร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ เมื่อคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 54/2530 ที่ให้ไล่โจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งซึ่งมีลักษณะ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะโดยใช้ดุลพินิจ ตามขั้นตอนและมีกฎหมายรองรับ ทั้งโจทก์ก็มิได้โต้แย้ง ว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบแต่อย่างใด คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาล เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งไล่ออกข้าราชการกรณีร่ำรวยผิดปกติ: แยกพิจารณาเรื่องทรัพย์สินกับเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 จำแนกวิธีดำเนินการไว้เป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่ง ต้องได้ความว่าผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้นในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะแต่ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้าย หากเจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะ เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอ ซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับ ปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่า เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นคำสั่งตามความใน มาตรา 20 วรรคหนึ่ง เป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงไม่อาจยกคำวินิจฉัยของศาลซึ่งถึงที่สุดที่เกี่ยวเฉพาะตัว ทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้างเพื่อหักล้าง ข้อเท็จจริงที่ว่าตนร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบ และถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ โดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอน และมีกฎหมายรองรับทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่ง นั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินบำนาญหลังถูกไล่ออก: ประเด็นอายุความลาภมิควรได้และการคำนวณระยะเวลา
จำเลยได้รับราชการจนเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน2530 จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2530เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2533 เป็นเงินทั้งสิ้น 178,293.75 บาท และโจทก์ได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2533โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2530 ดังนั้น การที่จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการได้มาในขณะที่โจทก์ยังมิได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการ จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการและ พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอันเป็นสิทธิของจำเลยที่พึงได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยรับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพจึงมิใช่เป็นการรับชำระเงินไว้โดยปราศจากมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายและมิใช่เป็นทางให้บุคคลอื่นเสียเปรียบแต่ประการใด กรณีจึงมิใช่ลาภมิควรได้การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 419การจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย มิใช่เป็นการจ่ายเงินไปตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ.มาตรา 407 จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับมานั้นให้แก่โจทก์ และโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินดังกล่าวได้ในกำหนด 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
เมื่อโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป และจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยรับเอาเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406 จำเลยจำต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่อายุความสำหรับเรียกเอาคืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ป.พ.พ.มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ปรากฏว่าโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 ถือว่าโจทก์รู้ความจริงที่โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้น ดังนั้น เงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินหนึ่งปี คือตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 จึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินหนึ่งปีเท่านั้น
เมื่อโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป และจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยรับเอาเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406 จำเลยจำต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่อายุความสำหรับเรียกเอาคืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ป.พ.พ.มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ปรากฏว่าโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 ถือว่าโจทก์รู้ความจริงที่โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้น ดังนั้น เงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินหนึ่งปี คือตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 จึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินหนึ่งปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7298/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง: คำพูดไล่ออกไม่ได้มีลักษณะเป็นการเลิกจ้าง หากเกิดจากความไม่พอใจและโต้เถียงกัน
การที่พ.กรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยพูดแก่โจทก์ว่าทำอย่างนี้ออกไปดีกว่ายังไม่เป็นการไล่โจทก์ออกจากงานอาจพูดด้วยความไม่พอใจที่ถูกลูกค้าติและโจทก์ได้พูดโต้ตอบพ.ทำให้พ. เกิดโทสะจริตจึงได้พูดกับโจทก์ดังกล่าวไม่มีกิจจะลักษณะว่าจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา582