คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
5 ปี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีขายที่ดินพร้อมอาคารที่ปลูกสร้างเองภายใน 5 ปี
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 224) ฯ มาตรา 3 (6) วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดิน หรืออาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง" ความหมายของการได้มาซึ่งอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามบทบัญญัติดังกล่าว ย่อมต้องหมายความรวมถึงการได้มาโดยเจ้าของที่ดินก่อสร้างเองหรือซื้อมาหรือรับโอนมาด้วยประการใด ๆ ดังนั้น การที่โจทก์ลงทุนปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของโจทก์เอง ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมาภายหลังจากที่ได้ที่ดินมาแล้ว เมื่อโจทก์ขายที่ดินและอาคารดังกล่าวไปภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ได้อาคารมา โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับที่ดินและอาคารนั้น
ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ขายที่ดินและอาคารพิพาทไปโดยไม่มีเจตนามุ่งค้าหรือหากำไรเพราะโจทก์โอนขายให้แก่บริษัทที่โจทก์ก่อตั้งขึ้นเอง ผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลในครอบครัวของโจทก์เองทั้งสิ้น ปรากฏว่าโจทก์มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างซ่อมรถ: ค่าจ้างต่อเนื่องจากสัญญาการค้าไม่ขาดอายุความภายใน 5 ปีนับแต่วันฟ้อง
โจทก์ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ามีสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันวินาศภัยที่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยซึ่งเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าจ้างซ่อมรถยนต์ของเหล่าผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยจากจำเลย เป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) เมื่อสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างของโจทก์นับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินใช้เกษตรกรรมภายใน 5 ปี: การพิจารณาการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามกฎหมาย
โจทก์ขายที่นาที่ใช้ในเกษตรกรรมให้แก่ พ. ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับโอนมาจากบิดาตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ มาตรา 3 กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากรฯ มีดังต่อไปนี้...(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม (6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เนื้อความในกฎหมายแสดงให้เห็นโดยแจ้งชัดว่าการขายอสังหาริมทรัพย์รายใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่า การขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากได้ความว่าเป็นการขายภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันพึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ถือเป็นการขายที่ดินที่โจทก์ใช้ประกอบกิจการ แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม (5) ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ใน (6) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4) คือ 5 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่นๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี ดังนั้น การที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญจึงมีอายุความ 5 ปี ซึ่งไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว โจทก์จึงต้องยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องขอรับเงินได้ แต่เมื่อโจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) กำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4)
โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) จากจำเลย ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ถูกให้ออกจากงาน แต่โจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 ซึ่งการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ดังกล่าว เป็นการเรียกร้องเงินในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ซึ่งกำหนดให้มีอายุความ 5 ปี เมื่อโจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี กรณีไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้ เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว โจทก์จึงต้องยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องขอรับเงินดังกล่าวได้ซึ่งคือวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2536 แต่โจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: ค่าจ้างลูกจ้างมีอายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี จำเลยค้างชำระค่าจ้าง ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(9) อันมีอายุความ 2 ปี มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเอาเงินเดือนที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33 เพราะคำว่า "เงินเดือน" ตามบทมาตราดังกล่าวหมายถึงเงินเดือนของข้าราชการหรือเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค้างชำระที่ศาล: การเรียกร้องสิทธิภายใน 5 ปี และข้อยกเว้นจากพฤติการณ์พิเศษ
เงินค้างจ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 หมายถึงบรรดาเงินทั้งหมดที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี จึงจะตกเป็นของแผ่นดิน ปรากฏว่าวันที่ 2 ธันวาคม 2534 จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาพร้อมดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อชำระแก่โจทก์ วันที่ 3 พฤษภาคม 2539 โจทก์ยื่นคำแถลงให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ แต่เจ้าหน้าที่ศาลหาสำนวนไม่พบ จนกระทั่งวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จึงแจ้งโจทก์ว่าพบสำนวนแล้ว ดังนั้น ระยะเวลา 1 ปีเศษ ที่เจ้าหน้าที่ศาลหาสำนวนไม่พบจึงเป็นพฤติการณ์พิเศษอันมิใช่ความผิดของโจทก์ที่เพิกเฉยไม่เรียกเอาภายใน 5 ปี แต่อย่างใดเพราะเมื่อโจทก์ทราบว่าพบสำนวนแล้วก็ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่จำเลยวางศาลเพื่อชำระหนี้ในวันรุ่งขึ้นทันที ต้องถือว่าโจทก์ผู้มีสิทธิได้เรียกเอาคืนภายใน 5 ปีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินวางศาลชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากเจ้าหนี้ไม่เรียกรับภายใน 5 ปี เงินตกเป็นของแผ่นดิน
เงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ตามที่ศาลออกคำบังคับ ถือได้ว่าเป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล โจทก์ผู้มีสิทธิจะต้องเรียกเอาภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 มิใช่นับจากวันที่โจทก์ผู้มีสิทธิได้ทราบถึงการวางเงิน กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิบังคับเอาแก่จำเลยได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7115/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องซื้อขายสินค้า: การซื้อเพื่อผลิตต่อเพื่อขาย ทำให้มีอายุความ 5 ปี
จำเลยประกอบกิจการโรงงานผลิตสี น้ำมันวานิชแลคเกอร์ หมึกพิมพ์ทุกชนิด และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจำหน่ายการที่จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ครั้งละมาก ๆ และเป็นเงินจำนวนมากแสดงว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ไปเพื่อผลิตสินค้าดังกล่าวเพื่อจำหน่ายและขาย มิใช่ซื้อไปเพื่อใช้เป็นการเฉพาะภายในบริษัทจำเลย กรณีย่อมตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง และอายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมมีกำหนด 5 ปี ตามมาตรา 193/33(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกอาศัยการกระทำผิดซ้ำใน 5 ปี ต้องพิจารณาโทษจำคุกที่เคยได้รับจริง ไม่ใช่โทษที่รอการลงโทษ
ในคดีก่อนที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยนั้น ศาลชั้นต้นในคดีนั้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน และปรับ 20,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี เมื่อคดีก่อนจำเลยไม่ได้รับโทษจำคุก จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเอาเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษจำเลยได้กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยพ้นโทษแล้วภายใน 5 ปี มากระทำความผิดคดีนี้ จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 แห่งประมวลกฎหมายอาญามิได้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 5