คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4168/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน) เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ แม้คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม และประเด็นการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1..." ส่วนมาตรา 67 บัญญัติว่า "ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงยี่สิบกรัมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท" เท่านั้น ตามบทมาตราดังกล่าว ไม่ได้บัญญัติว่ายาเสพติดให้โทษต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าที่กำหนดไว้จึงจะเป็นความผิด เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 48 เม็ด น้ำหนัก 4.158 กรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะไม่ได้ระบุว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้หนักเท่าใด แต่ก็เป็นกรณีที่จำเลยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงยี่สิบกรัมแล้วการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามฟ้อง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
จำเลยถูกฟ้องเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันก่อนที่ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ และบทบัญญัติในหมวด 3 มาตรา 19 ว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแห่งกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับ และจำเลยมิได้เป็นเพียงผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดและมีไว้ในครอบครองอันเป็นหลักเกณฑ์ที่จะถูกส่งตัวไปฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทั้งตามหลักฐานของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่ไปเข้าค่ายฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบสมัครใจหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วเท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่จะถือว่าจำเลยพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 19 ตามบทบัญญัติมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมที่ไม่ปรากฏผู้เขียน/ผู้พิมพ์ แต่ทำตามแบบกฎหมาย
พินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายที่จะทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1705 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่ามีกรณีใดบ้างที่เป็นโมฆะ แต่มิได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ไม่ลงลายมือชื่อผู้เขียน (หรือผู้พิมพ์) ในกรณีที่ผู้เขียนมิใช่ผู้ทำพินัยกรรม กล่าวคือทำไม่ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1671 ตกเป็นโมฆะ ฉะนั้นเมื่อขณะทำพินัยกรรมในคดีนี้มีพยานในพินัยกรรมทั้งสี่คนอยู่พร้อมกันและผู้ตายลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยาน 2 คน พินัยกรรมดังกล่าวจึงถูกต้องตามแบบที่ ป.พ.พ. มาตรา 1656 กำหนดไว้ และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงที่ไม่มีศาลแขวง การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ และ ป.วิ.อ.
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 บัญญัติว่า ในคดีอาญา ที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ และการฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาล ถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โดยศาลเป็นผู้บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐาน และให้คู่ความ ลงชื่อไว้ การฟ้องด้วยวาจาอันเป็นวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงจึงมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ และให้ศาลเป็นผู้บันทึกคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ส่วนบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) เป็นกรณีที่ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนปรากฏว่าคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ จึงย่อมนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสระบุรี ตามพระราชบัญญัติให้นำ วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจา และศาลได้บันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้ โดยโจทก์และจำเลยได้ลงชื่อไว้แล้ว การฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3061/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และการใช้ พ.ร.บ.ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดหลังฟ้อง
จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องโจทก์ ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ว่าน้ำหนักเมทแอมเฟตามีนและปริมาณที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถูกต้อง ถือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่และมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ มาตรา 22 ให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแก่ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 19 ที่คณะอนุกรรมการดังกล่าววินิจฉัยว่าเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด และให้แจ้งผลการตรวจพิสูจน์ให้พนักงานอัยการทราบเพื่อพิจารณามีคำสั่งชะลอการฟ้อง ซึ่งเป็นวิธีการก่อนการฟ้อง แต่คดีนี้พนักงานอัยการยื่นฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.ดังกล่าวมาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดินและการสร้างภาระจำยอมโดยผลของกฎหมาย กรณีการก่อสร้างกีดขวางทางเข้าออกของที่ดินแปลงอื่น
การที่ ส. และร้อยตำรวจเอก อ. ได้ร่วมกันจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ไม่ว่าด้วยวิธีใด ถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ฯ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งมีใจความสำคัญในข้อ 1 ว่า "การจัดสรรที่ดิน" หมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปด้วยวิธีใด โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นค่าตอบแทน มีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยที่ประกอบการพาณิชย์หรือที่ประกอบอุตสาหกรรม ไม่ว่าผู้จัดสรรที่ดินนั้นจะได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม และข้อ 30 วรรคหนึ่งมีใจความสำคัญว่า สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ดังนี้ การที่ผู้จัดสรรที่ดินทำถนนตรงกลางระหว่างทาวน์เฮาส์ และทำทางพิพาทที่อยู่ด้านในผ่านที่ดินที่อยู่ด้านนอกเชื่อมกับถนนสาธารณะย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของผู้จัดสรรที่ดินว่าเพื่อต้องการให้เจ้าของที่ดินแปลงในมีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวก แม้ทางพิพาทจะเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยก็ตาม แต่เมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้ทำถนนเชื่อมกับถนนสาธารณะย่อมถือได้ว่าเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลง เมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงคอนกรีตและทำประตูรั้วเหล็กรุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทซึ่งเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรร ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และผู้อยู่อาศัยรายอื่น จำเลยจึงต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำดังกล่าวโดยไม่จำต้องคำนึงว่าทางพิพาทดังกล่าว จะมีผู้ใช้เดินมาแล้วเกิน 10 ปี หรือไม่ เพราะถือได้ว่าทางพิพาทมีสภาพเป็นทางภาระจำยอมโดยผลของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดีพยายามส่งยาเสพติดออกนอกประเทศ: การใช้บทลงโทษที่ถูกต้องและหนักที่สุดตามกฎหมาย
ในความผิดฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย โจทก์อ้าง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 และมาตรา 7 มาในคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งตามมาตรา 3 และมาตรา 7 แห่งบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายโดยมีระวางโทษเท่ากับความผิดสำเร็จ และความผิดฐานดังกล่าวมีอัตราโทษหนักกว่าความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเฮโรอีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม การที่ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามส่งเฮโรอีนออกนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 7 แต่ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเฮโรอีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม โดยกล่าวว่าเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดนั้น เป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษข้าราชการในคดียาเสพติด: การพิจารณาโทษทวีคูณและการแก้ไขโทษที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการ ซึ่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว จึงไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าได้อีก ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้น คงวางโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 50 ปี และที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวมีกำหนด 45 ปี นั้น ไม่ต้องตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) โดยลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ จึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิปิดงานต้องชอบด้วยกฎหมาย เมื่อการเจรจาตกลงยังไม่สำเร็จ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง
โจทก์และสหภาพแรงงาน ฟ. ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ในเรื่องการใช้สิทธิปิดงานพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานจึงดำเนินการไกล่เกลี่ยเพื่อให้ตกลงกัน การที่ผู้แทนโจทก์ได้ยินยอมตกลงตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฟ. จำนวน 2 ข้อ ในการไกล่เกลี่ยในครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 นั้น เป็นเพียงการสนองรับข้อเสนออันเป็นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ฟ. เพียงบางข้อเท่านั้น การยินยอมตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการเสนอข้อเรียกร้องใหม่แต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้แทนสหภาพแรงงาน ฟ. ไม่ยอมรับข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการเจรจาตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องอื่นๆ ที่เหลือต่อไปอีก ฉะนั้นการเจรจาตกลงกันในวันที่ 28 มีนาคม 2544 จึงสิ้นสุดโดยไม่สามารถตกลงกันได้ ต่อมาในวันที่ 29 มีนาคม 2544 ผู้แทนโจทก์ก็ไม่ได้ไปเจรจาตามนัด จึงไม่มีการเจรจาตกลงกันในวันดังกล่าว การที่ผู้แทนสหภาพแรงงาน ฟ. ได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงตามที่ผู้แทนโจทก์ได้ยินยอมตกลงไว้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2544 ในภายหลังนั้น ก็ไม่มีผลทำให้ข้อตกลงของฝ่ายโจทก์ซึ่งสิ้นผลไปแล้วกลับมามีผลผูกพันฝ่ายโจทก์ได้อีก ฉะนั้น จึงต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานตามข้อเรียกร้องดังกล่าวยังเป็นข้อที่ตกลงกันไม่ได้ การใช้สิทธิแจ้งปิดงานงดจ้างของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 34 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามคำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสมคบซื้อขายยาเสพติด การจับกุมและอำนาจฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
ผลของการเฝ้าสังเกตและติดตามจำเลยทั้งสี่เป็นเวลาหลายเดือนและรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบทุกระยะโดยบันทึกข้อมูลที่รายงานนั้นไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เจ้าพนักงานจึงทราบว่าผู้ที่รับซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ใดบ้างและอยู่ที่ใด จนกระทั่งเจ้าพนักงานสามารถติดตามจับกุมบุคคลหลายคนที่ซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยทั้งสี่ได้ ประกอบกับบัญชีเงินฝากในธนาคารของจำเลยที่ 2 เคลื่อนไหวด้วยจำนวนเงินสูง การที่จำเลยทั้งสี่นัดส่งมอบเงินและยาเสพติดให้โทษกันที่ร้านอาหารตามวันเวลาที่เกิดเหตุและเจ้าพนักงานติดตามไปตรวจค้นและจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ที่ร้านอาหารดังกล่าว และจับกุมจำเลยที่ 4 ได้ที่ด่านเก็บเงินบางปะอิน เจ้าพนักงานค้นพบเงินสดจำนวนมากซึ่งรวมกันเป็นเงิน 26,181,320 บาท ทั้งยังพบเอกสารหลายแผ่นมีข้อความและตัวเลขแสดงถึงการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนประกอบกับในชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกันตกลงซื้อขายเมทแอมเฟตามีนจริง จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายเมทแอมเฟตามีนให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 4 ในการรับซื้อเมทแอมเฟตามีน การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการร่วมกันสมคบโดยตกลงกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการฟ้องแย้งให้ซื้อที่ดินส่วนที่รุกล้ำ ศาลไม่รับฟ้องแย้งเนื่องจากไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมและขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร ตลอดแนวที่ดิน จำเลยให้การในตอนแรกปฏิเสธว่า จำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ต่อมาให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังคงเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1312 ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งจึงชอบแล้ว
of 238