คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายเฉพาะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8714/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดกฎหมายเฉพาะ แม้มีข้อยกเว้นทั่วไป ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องก่อสร้างทางขึ้นที่จอดรถอาคารพิพาทมีความสูง 2.03 เมตร แม้จะไม่ได้ระยะความสูงตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง อาคารจอดรถยนต์ พ.ศ.2521 ที่กำหนดให้ระยะดิ่งระหว่างพื้นดินถึงส่วนต่ำสุดของคานหรือเพดานหรือสิ่งอื่นที่ติดกับคานหรือเพดานต้องไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร แต่ได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ทางขึ้นที่จอดรถที่ผู้ร้องก่อสร้างจึงถูกต้องตามกฎหมาย การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่หยิบยกกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2528) ดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย แล้วชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะหากอนุญาโตตุลาการนำข้อกฎหมายมาประกอบการวินิจฉัยด้วย ก็จะปรากฏให้เห็นได้ว่าการก่อสร้างของผู้ร้องมิได้เป็นความผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ร้องไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้าน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นกรณีที่ผู้ร้องอุทธรณ์ในทำนองว่า การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ปัญหานี้แม้ผู้ร้องไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นพิพาทในชั้นการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องก็สามารถยกขึ้นอ้างเป็นประเด็นพิพาทในชั้นศาลได้ ผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลายต้องมีกฎหมายเฉพาะรองรับ การซื้อขายโดยไม่มีกฎหมายรองรับไม่ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้อง
การซื้อขายสิทธิเรียกร้องอันจะมีผลให้ผู้ซื้อมีสิทธิบังคับชำระหนี้หรือเข้าสวมสิทธิแทนเจ้าหนี้เดิมบังคับชำระหนี้เอาแก่ลูกหนี้นั้น จะต้องมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้กระทำได้ เช่น พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 หรือการขายทรัพย์สินที่เป็นสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ผู้ร้องซื้อสิทธิเรียกร้องจากกองทุนรวม ก. เจ้าหนี้ในสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ในคดีล้มละลายตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กระทำ ผู้ร้องจึงไม่ได้รับมาซึ่งสิทธิในการได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4541/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดียาเสพติด: ฟ้องรวมหลายบท ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถือเป็นที่สุดตามกฎหมายเฉพาะ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157/1 พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ, 151 ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท อันเป็นฟ้องที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วยจึงเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 แต่ก็ยังคงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8488/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต่างประเทศซื้อทรัพย์จากการบังคับคดีได้ตามกฎหมายเฉพาะ แม้มีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์
แม้โจทก์จะเป็นธนาคารที่ก่อตั้งและจดทะเบียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็มีสาขาในประเทศไทยโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ จึงเป็นธนาคารพาณิชย์ตามความหมายของมาตรา 4 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 และได้รับยกเว้นให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่จำนองไว้แก่ธนาคารสาขาของโจทก์ในประเทศไทยจากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลได้ ตามมาตรา 12 (4) ข แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทโดยการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดีจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เพราะการที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ธนาคารเจ้าหนี้สามารถซื้อทรัพย์ของลูกหนี้ได้ก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ของลูกหนี้ มิให้เจ้าหนี้ไม่ว่าจะมีสัญชาติไทยหรือต่างด้าวต้องได้รับความเสียหายจากการที่ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมเช่นเจ้าหนี้ทั่วไป ทั้งยังเป็นหลักประกันสำหรับความเสมอภาคของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการประกอบธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างเสรี แต่อย่างไรก็ตามโจทก์มีหน้าที่จะต้องจัดการกับที่ดินดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ในการเอาชำระหนี้ที่ค้างเท่านั้น ไม่อาจนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้ เนื่องจากโจทก์ยังคงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้แก่บุคคลต่างด้าว การที่โจทก์จะสามารถถือกรรมสิทธิ์ต่อไปหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ซื้อมาดังกล่าวได้แค่ไหนเพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งเป็นเรื่องระหว่างรัฐกับโจทก์หรือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องจะไปว่ากล่าวกันตามกฎหมายต่างหาก แต่สำหรับจำเลยทั้งสองในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีหน้าที่โดยสุจริตที่จะต้องชำระหนี้หรือถูกบังคับชำระหนี้ที่ก่อขึ้น ไม่อาจยกประมวลกฎหมายที่ดินขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธการชำระหนี้และการถูกบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดีตามคำพิพากษา: ผู้โอนสิทธิไม่มีอำนาจบังคับคดีแทนเจ้าหนี้เดิมหากไม่มีกฎหมายเฉพาะรองรับ
บุคคลที่มีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกที่อ้างว่าได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสอง ไม่ใช่คู่ความในคดีหรือเป็นบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้ นอกจากนี้การที่จะเข้าสวมสิทธิแทนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีนั้น ต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายให้เข้าสวมสิทธิแทนได้ เช่น ตาม พ.ร.ก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยฯ เป็นต้น ผู้ร้องไม่ใช่บุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่อาจเข้าสวมสิทธิแทนโจทก์เพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีศุลกากร: การกำหนดอายุความเฉพาะใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม มีผลเหนือกว่าอายุความทั่วไปใน ป.อ.
ฎีกาของจำเลยทั้งสามที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 เพื่อให้ได้ค่าปรับและค่าภาษีอากรที่ขาดอันเนื่องมาจากการสำแดงราคาเท็จ ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 10 วรรคสาม ให้มีอายุความ 10 ปี จึงต้องถือเอาอายุความตามนั้น จะเทียบเคียงใช้อายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) มิได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้น 10 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวมาแล้ว และยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัยเดิม ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลริบทรัพย์ในคดีอาญา: รถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แม้กฎหมายเฉพาะไม่มีบทริบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 160 และ ป.อ. มาตรา 390 เจ้าพนักงานยึดรถยนต์ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเป็นของกลาง โจทก์ได้อ้าง ป.อ. มาตรา 33 และขอให้ริบรถยนต์ของกลางด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงฟังเป็นยุติว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด จำเลยจะฎีกาโต้แย้งว่ารถยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอีกไม่ได้ และแม้ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดที่ใช้ลงโทษแก่จำเลยจะไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ดังกล่าว แต่จะถือว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับหาได้ไม่ เนื่องจาก ป.อ. มาตรา 33 กำหนดให้ศาลริบทรัพย์ได้นอกเหนือไปจากกรณีที่กฎหมายอื่นได้บัญญัติไว้ด้วย ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาริบรถยนต์ของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 17, 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8940/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผลรองรับ แม้กฎหมายเฉพาะจะไม่ได้กำหนดไว้ ก็ต้องใช้หลักเกณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 บัญญัติว่า คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ และตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ บัญญัติว่า คำชี้ขาดของอธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาลนั้น ให้แจ้งไปยังผู้ร้องเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้ามีการลดจำนวนเงินที่ประเมินไว้เป็นจำนวนเท่าใดก็ให้แจ้งไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อจะได้แก้ไขบัญชีการประเมินตามคำชี้ขาดนั้น คำชี้ขาดข้างต้นจึงเป็นคำสั่งทางปกครองอย่างหนึ่งและต้องทำเป็นหนังสือให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว คำชี้ขาดฉบับพิพาทมีข้อความเพียงว่า ทรัพย์สินห้างสรรพสินค้า ท. ปีภาษี 2545 ค่ารายปี 62,286,843.76 บาท ค่าภาษี 3,885,052.70 บาท หักลดค่ารายปี 31,080,421.64 บาท ปีภาษี 2546 ค่ารายปี 63,227,042.57 บาท ค่าภาษี 7,773,380.31 บาท หักลดค่ารายปี 538,000 บาท และปีภาษี 2547 ค่ารายปี 66,460,019.42 บาท ค่าภาษี 8,211,873.67 บาท หักลดค่ารายปี 979,730 บาท ไม่ปรากฏเหตุผลว่าเหตุใดจำเลยที่ 1 จึงกำหนดค่ารายปี ค่าภาษีและจำนวนหักลดดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องแสดงเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคสาม (2) ที่ว่าเหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก ใบแจ้งคำชี้ขาดฉบับพิพาทจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะออกคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือโดยไม่ต้องระบุเหตุผลไว้ จึงขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 37 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว และ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณา วินิจฉัย และสั่งการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหลักเกณฑ์เพื่อกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนมีคำสั่งทางปกครอง เช่น การมีคำสั่งอนุญาต อนุมัติ แต่งตั้ง หรือคำสั่งอื่นใดของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ หรือหน้าที่ต่อบุคคล โดยมีหลักการสำคัญที่จะให้เป็นกฎหมายทั่วไปในการวางระเบียบปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ทั้งหลายในการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะเป็นการให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจอย่างไม่มีขอบเขตของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และในขณะเดียวกันช่วยให้เกิดประสิทธิภาพแก่การบริหารราชการแผ่นดินอีกด้วย โดยมาตรา 3 บัญญัติว่า เรื่องใดถ้ามีบทบัญญัติในกฎหมายอื่นไว้แล้ว กฎหมายฉบับนั้นต้องมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ ด้วย และหลักเกณฑ์ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการที่ต่ำกว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 ไปใช้บังคับกรณีใบแจ้งคำชี้ขาดตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ ด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามในใบแจ้งคำชี้ขาดในตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเท่านั้น จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะปลัดกรุงเทพมหานครตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดตามคำฟ้อง โจทก์มิได้ขอลงโทษตามกฎหมายเฉพาะ ศาลพิพากษาเกินคำขอไม่ได้
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" อันเป็นการกำหนดกรอบอำนาจการพิพากษาหรือการมีคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลไว้ 2 ประการ คือ ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอประการหนึ่ง กับห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องอีกประการหนึ่ง ซึ่งศาลอยู่ในบังคับที่จะพิพากษาหรือสั่งเกินประการหนึ่งประการใดมิได้และทั้งสองประการดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องระบุในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และ (6) เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 91 ตรี แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งบัญญัติว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด และความผิดดังกล่าวมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3561/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร: แยกความผิดตามกฎหมายเฉพาะและกฎหมายทั่วไป
การที่จำเลยไม่ยอมให้พนักงานจราจรทดสอบว่าจำเลยหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราด้วยวิธีการตรวจวัดลมหายใจนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 142 วรรคสอง และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 154 (3) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่มีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ตาม ป.อ. มาตรา 368 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
of 11