พบผลลัพธ์ทั้งหมด 202 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก: การครอบครองแทนทายาทอื่นไม่อาจทำให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของตนได้
จ.มิได้ยกที่ดินมีโฉนดเฉพาะส่วนของตนให้จำเลย เมื่อ จ.ถึงแก่กรรมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทคือ โจทก์ทั้งสองและจำเลยกับบุตรคนอื่นรวม 8 คน การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ครอบครองที่ดินแปลงนั้นต่อมาหลังจาก จ.ถึงแก่กรรม ถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่นของ จ.ด้วย แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินแปลงนั้นมานานเท่าใด ที่ดินแปลงนั้นก็หาได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวไม่ โจทก์ทั้งสองและทายาทอื่นของ จ.ย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ.อยู่คนละ 1 ใน 8 ส่วน คำสั่งศาลที่แสดงว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ. จึงไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกตกทอดและการครอบครองแทนกัน: กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินหลังการเสียชีวิตของผู้ให้
จ.มิได้ยกที่ดินมีโฉนดเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยเมื่อจ.ถึงแก่กรรมที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทคือ โจทก์ทั้งสองและจำเลยกับบุตรคนอื่นรวม 8 คนการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้ครอบครองที่ดินแปลงนั้นต่อมาหลังจากจ.ถึงแก่กรรมถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและทายาทคนอื่นของจ.ด้วย แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินแปลงนั้นมานานเท่าใดที่ดินแปลงนั้นก็หาได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวไม่โจทก์ทั้งสองและทายาทอื่นของ จ.ย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเฉพาะส่วนของจ.อยู่คนละ 1 ใน 8 ส่วน คำสั่งศาลที่แสดงว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเฉพาะส่วนของ จ.จึงไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญ-กรรมสิทธิ์รวม: การเปลี่ยนแปลงคำขอในชั้นฎีกาต้องยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์กับ ป. แต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาทั้งโจทก์และ ป. ต่างมีทรัพย์สินมาลงหุ้นส่วนกัน โจทก์กับ ป.จึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับ ป. จึงเลิกกันและขณะที่ ป. ถึงแก่ความตายมีทรัพย์สินของหุ้นส่วนหลายรายการ รวมทั้งบ้านและที่ดินพิพาทด้วย จำเลยให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า โจทก์ไม่มีทรัพย์สินใดแม้แต่แรงงานมาลงหุ้นกับ ป. ในลักษณะของสัญญาหุ้นส่วน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสัญญาการเข้าเป็นหุ้นส่วนได้ ทรัพย์สินตามฟ้องล้วนเป็นทรัพย์สินที่ ป. มีมาก่อนอยู่กินกับโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ป. ศาลชั้นต้นจึงกำหนดเป็นประเด็นพิพาทว่า ทรัพย์สินพิพาทเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับ ป. หรือไม่เพียงใด เช่นนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ออกเงินซื้อบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ ป. บ้านและที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ป.โจทก์จะยกปัญหาที่ว่า จำเลยซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยเจตนาให้เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ป. ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดและการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: การมอบอำนาจที่ไม่ชัดเจนและการโต้แย้งสิทธิ
การฟ้องคดีเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินกับเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยนำบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกให้เช่าเป็นคนละเรื่องมิได้เกี่ยวเนื่องกันเมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ย. ดำเนินคดีเฉพาะเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดิน ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะเบิกความว่าได้ให้ ย. ดำเนินคดีเกี่ยวกับละเมิดและเรียกค่าเสียหายด้วยก็จะฟังคำเบิกความดังกล่าวเป็นการให้สัตยาบันตามกฎหมายหาได้ไม่ คำฟ้องเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหายจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีก่อนศาลวินิจฉัยเพียงว่า ตามคำฟ้องโจทก์ยังไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ มิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ขอแบ่งสัดส่วนในที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยโดยขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกให้ เป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งจำเลยในฐานะผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมจะต้องดำเนินการทางทะเบียนด้วย เมื่อจำเลยไม่ยอมดำเนินการดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3552/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับสิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม หลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนพินัยกรรมที่จำเลยอ้างว่ามารดาโจทก์ทั้งสองและจำเลยยกทรัพย์มรดกทั้งหมดรวมทั้งที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเพียงผู้เดียวโดยระบุว่าเป็นพินัยกรรมปลอม ต่อมาโจทก์ทั้งสองกับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันความว่า จำเลยจะไม่นำพินัยกรรมไปขอรับโอนที่ดินพิพาท และให้โจทก์ทั้งสองกับ พ. มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมายในฐานะทายาทบนที่ดินเหมือนเดิมทุกประการ ส่วนที่ดินอีกแปลงหนึ่งที่จำเลยรับโอนไปแล้วจะแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กันให้โจทก์ทั้งสองและ พ. มีกรรมสิทธิ์รวม ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยยินยอมให้โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองดูแลรักษาพร้อมทั้งเก็บดอกผลบนที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและให้จำเลยใช้เงินดอกผลส่วนของโจทก์ทั้งสองกับให้แบ่งผลประโยชน์ที่เกิดบนที่ดินพิพาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าคดีจะถึงที่สุดแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นประเด็นที่จะวินิจฉัยในคดีนี้จึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน อันจะเป็นการฟ้องซ้ำและต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องเป็นคดีต่างหาก ไม่จำต้องยื่นคำร้องขอเข้าไปในคดีเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินตามสัดส่วน โดยศาลมีอำนาจแบ่งตามกฎหมาย แม้โจทก์ขอหลายวิธี
ตามฟ้องโจทก์ โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินที่โจทก์และจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามส่วนของแต่ละคนที่มีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นประการสำคัญ ส่วนการจะแบ่งโดยวิธีใดและได้ส่วนแบ่งเป็นที่ดินหรือเงินนั้นโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องหลายประการซึ่งศาลย่อมมีอำนาจที่จะแบ่งให้ได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา1364 ไม่เป็นการพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ศาลมีอำนาจแบ่งตามส่วนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364
ตามฟ้องโจทก์ โจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินที่โจทก์และจำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามส่วนของแต่ละคนที่มีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นประการสำคัญ ส่วนการจะแบ่งโดยวิธีใดและได้ส่วนแบ่งเป็นที่ดินหรือเงินนั้นโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องหลายประการซึ่งศาลย่อมมีอำนาจที่จะแบ่งให้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 อยู่แล้ว การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง โดยวิธีการแบ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1364 ไม่เป็นการพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมและการครอบครองแทน เจ้าของร่วมไม่ได้ยกที่ดินให้บุคคลอื่น
ที่พิพาทเป็นของ ส.กับล.และเจ้าของร่วมคนอื่นๆพ.ซึ่งเป็นบุตรของ ส. กับ ล. ปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาท แสดงว่าเจ้าของร่วมคนอื่นไม่ได้ปล่อยให้ ล. ครอบครองแต่ผู้เดียว แม้ต่อมาล. จะอยู่ในที่พิพาทเพียงผู้เดียว ที่พิพาทก็ยังเป็นของเจ้าของร่วมทุกคน ถือว่า ล. ครอบครองแทนในฐานะเจ้าของร่วมเมื่อ ล. ตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรก็ได้ไปซึ่งทรัพย์มรดกเพียงเท่าที่ ล. มีร่วมอยู่เท่านั้นคือเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่งและครอบครองแทนผู้มีชื่อ ในโฉนด คนอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600การที่ผู้ร้องครอบครองที่พิพาทจึงไม่ใช่เป็นการครอบครองโดยอาศัยอำนาจของตนเอง ผู้ร้องย่อมไม่ได้สิทธิในที่พิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งเมื่อสารบัญจดทะเบียนไม่ได้ระบุ
โจทก์และจำเลยทั้งหกทำบันทึกข้อตกลงขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4แบ่งแยกที่ดินออกไป และโจทก์ยอมรับส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกโดยยอมรับว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 เช่นนี้ การรังวัดแบ่งแยกที่ดินย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนที่เหลือ เมื่อสารบัญจดทะเบียนมิได้ระบุเนื้อที่ดินส่วนของโจทก์ไว้เป็นพิเศษ จึงต้องสันนิษฐานว่าโจทก์ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6 มีส่วนคนละเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ไม่ต้องแสดงเจตนาครอบครองเกิน 10 ปี หากมีการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว
คำฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินกรรมสิทธิ์รวม เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องอีกว่าได้ครอบครองที่ดินโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเกิน 10 ปี เพื่อให้เห็นว่าได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครอง และในคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ต้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ หรือขอให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันหากจำเลยไม่ยินยอมแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมแต่อย่างใด ที่ดินส่วนของโจทก์ เจ้าของเดิม ได้เคยยื่นคำร้องขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ให้เป็นของ ห.ไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ดำเนินการห.ก็นำมาขายให้โจทก์เสียก่อนเมื่อโจทก์เข้าครอบครองก็ได้ปลูกบ้านทำรั้วเป็นส่วนสัดตลอดมา จำเลยทุกคนซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่คัดค้านดังนี้ เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินพิพาทไปแบ่งแยก และไม่ปรากฏว่าการแบ่งแยกดังกล่าวได้กระทำในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ถึงแม้โจทก์จะมิได้บอกกล่าวแก่จำเลยอื่นก่อนฟ้องโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยทุกคนได้.