พบผลลัพธ์ทั้งหมด 846 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวครอบครองยาเสพติดหลายชนิด และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ระบุว่า เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ดังนั้นการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันจึงเป็นความผิดต่อกฎหมายและมีโทษบทมาตราเดียวกันตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กระทงความผิดแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 9 เดือน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ระบุว่า เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ดังนั้นการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกันจึงเป็นความผิดต่อกฎหมายและมีโทษบทมาตราเดียวกันตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 2 กระทงความผิดแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 9 เดือน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท: พยายามฆ่าและฆ่าผู้อื่น
โจทก์ฟ้องในข้อ 1 ว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแล้วแยกการกระทำเป็นข้อ ก. และข้อ ข. โดยข้อ ก.เป็นเรื่องพาอาวุธปืน ข้อ ข.เป็นเรื่องพยายามฆ่าผู้เสียหายและฆ่าผู้ตายรวมกัน โดยบรรยายว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายและผู้ตายหลายนัด กระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหาย และกระสุนปืนที่จำเลยยิงดังกล่าวยังไปถูกผู้ตายหลายแห่งแสดงว่า มีการยิงผู้เสียหายและผู้ตายหลายนัดในคราวเดียวโดยกระทำต่อเนื่องกัน โจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อ ข. โดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิด 2 กรรม คือพาอาวุธปืนกรรมหนึ่ง พยายามฆ่าผู้เสียหายและฆ่าผู้ตายรวมกันมาอีกกรรมหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายและฐานฆ่าผู้ตายแยกออกจากกันเป็น 2 กรรมจึงเป็นการลงโทษเกินฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ชอบที่ศาลฎีกาจะแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ความผิดฐานพยายามฆ่าและฆ่าผู้อื่นเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีอาญา: พยายามฆ่าและฆ่าผู้อื่น
โจทก์ฟ้องในข้อ 1 ว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแล้วแยกการกระทำเป็นข้อ ก. และข้อ ข. โดยข้อ ก. เป็นเรื่องพาอาวุธปืน ข้อ ข. เป็นเรื่องพยายามฆ่าผู้เสียหายและฆ่าผู้ตายรวมกัน โดยบรรยายว่า จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายและผู้ตายหลายนัด กระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหาย และกระสุนปืนที่จำเลยยิงดังกล่าวยังไปถูกผู้ตายหลายแห่งแสดงว่า มีการยิงผู้เสียหายและผู้ตายหลายนัดในคราวเดียวโดยกระทำต่อเนื่องกัน โจทก์รวมการกระทำเหล่านี้ไว้ในฟ้องข้อ ข. โดยถือเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิด2 กรรม คือพาอาวุธปืนกรรมหนึ่ง พยายามฆ่าผู้เสียหายและฆ่าผู้ตายรวมกันมาอีกกรรมหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายและฐานฆ่าผู้ตายแยกออกจากกันเป็น 2 กรรม จึงเป็นการลงโทษเกินฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ชอบที่ศาลฎีกาจะแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าความผิดฐานพยายามฆ่าและฆ่าผู้อื่นเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทลงโทษในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8204/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมเอกสารเพื่อยักยอกเงิน ศาลแก้ไขโทษ
การที่จำเลยปลอมและใช้ใบถอนเงินฝากปลอม กับปลอมและใช้สมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากปลอมถอนเงินเกินกว่าจำนวนที่จำเลยได้รับมอบฉันทะแล้วยักยอกเอาเงินส่วนที่เกินไป ก็เพื่อเจตนาจะยักยอกเงินส่วนที่เกินจากธนาคารและแสดงต่อผู้เสียหายนั่นเอง จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมหรือเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8143/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน: การทำร้ายร่างกายหลายคนในเหตุการณ์เดียวกัน
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ใช้มีดฟันทำร้ายพวกผู้เสียหายทั้งสองในลักษณะที่กระทำต่อเนื่องไปคราวเดียวกัน มีลักษณะของการทำร้ายโดยเจตนาทำร้ายผู้เสียหายทุกคนเพราะผู้เสียหายทั้งสองกับพวกอีกสองคนยืนรวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน บังเอิญว่าผู้เสียหายทั้งสองยืนหันหลังให้จึงถูกทำร้าย ข้อเท็จจริงไม่อาจแบ่งแยกว่าจำเลยเจตนาทำร้ายหรือไม่ทำร้ายบุคคลใด จึงมีลักษณะของเจตนาในการกระทำความผิดเป็นอันเดียวแม้จะกระทำหลายหนต่อหลายบุคคลก็อยู่ภายในเจตนาอันเดียวนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า ขณะที่จำเลยเข้าฟันผู้เสียหายทั้งสอง พ.และ ค.พวกของผู้เสียหายทั้งสองยืนอยู่ต่างหาก มิได้นั่งรวมอยู่บนรถจักรยานยนต์กับผู้เสียหายทั้งสอง เสร็จจากฟันผู้เสียหายที่ 2 แล้ว จำเลยวิ่งหนีไป หาได้ปรากฏว่าจำเลยมุ่งเข้ากระทำต่อ พ.หรือ ค.ต่อไปอีกไม่ ทั้งที่ไม่ปรากฏผู้เข้าขัดขวาง แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่ามุ่งประสงค์จะทำร้ายเฉพาะผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น ผู้เสียหายทั้งสองนั่งอยู่บนรถจักรยานยนต์คนละคัน จำเลยฟันผู้เสียหายที่ 1 ก่อน แล้วจึงตรงเข้าฟันผู้เสียหายที่ 2 แสดงว่าในการฟันของจำเลยแต่ละครั้งความประสงค์และจุดมุ่งหมายในการฟันของจำเลยได้แยกออกจากกันว่าการฟันครั้งใดจำเลยประสงค์จะฟันผู้เสียหายคนใด มิใช่ฟันในขณะที่มีการชุลมุนกัน เจตนาในการทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองขณะจำเลยลงมือกระทำความผิดจึงแยกออกจากกันได้ความต้องการให้ผู้เสียหายทั้งสองได้รับบาดเจ็บแม้จะเกิดขึ้นในใจของจำเลยพร้อม ๆ กัน และต่อเนื่องกับการลงมือกระทำความผิด ก็มิใช่เจตนาในขณะที่จำเลยลงมือกระทำความผิด การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7320/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: แม้ความผิดกรรมเดียว แต่คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด ฟ้องใหม่ไม่ขาดอายุความ
แม้ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ในคดีนี้จะเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ในคดีก่อน แต่ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ นอกจากคดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นแล้ว คดีดังกล่าวยังเสร็จสิ้นไปเพราะศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ อันถือไม่ได้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนใจ, ข่มขืนกระทำชำเรา, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, กรรมเดียวผิดหลายบท, ลดโทษ
++ เรื่อง ข่มขืนกระทำชำเรา ความผิดต่อเสรีภาพ ลหุโทษ ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดรวม 5 กรรม สำหรับฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 เป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะไม่ได้ยิงปืนตามฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน และศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยให้แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเมื่อเป็นเช่นนี้คดีมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา310 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นฟังว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดแต่ละกระทงศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีโดยไม่มีโทษปรับ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ไม่ได้กระทำการข่มขืนใจผู้เสียหาย และไม่ได้กระทำการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า จำเลยได้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายหรือไม่
++ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มีนางสาวสลิตตา อุตมะยาน ผู้เสียหายเบิกความว่า จำเลยไปรับตัวผู้เสียหายจากบ้านผู้เสียหายและขึ้นรถยนต์ของจำเลยไปด้วยกันโดยจำเลยเป็นคนขับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2538 เวลาประมาณ 11 นาฬิกาโดยจำเลยพาผู้เสียหายไปรับประทานอาหารจนกระทั่ง 18 นาฬิกา จำเลยจะพาผู้เสียหายเข้าเมืองสกลนครเพื่อจะไปร้องเพลง ผู้เสียหายให้จำเลยพากลับบ้าน จำเลยไม่ยอมและจำเลยได้พูดขู่ว่าถ้าผู้เสียหายคิดหนีจะยิง พร้อมกับเปิดลิ้นชักเก็บของหน้ารถยนต์ของจำเลยให้ผู้เสียหายดูอาวุธปืนที่เก็บไว้ในลิ้นชักเก็บของ ผู้เสียหายถือโอกาสที่จำเลยเผลอได้เอาอาวุธปืนของจำเลยซ่อนไว้ใต้เบาะรถยนต์ที่ผู้เสียหายนั่งอยู่ และผู้เสียหายขอให้จำเลยหยุดรถยนต์เพื่อขอไปปัสสาวะ เมื่อจำเลยหยุดรถยนต์ ผู้เสียหายเปิดประตูรถยนต์วิ่งย้อนกลับไปทางเดิม และพยายามโบกรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาขอให้ช่วยเหลือขณะที่มีรถยนต์คันอื่นหยุด ผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ ประจวบกับจำเลยตามมาทันถามผู้เสียหายเรื่องอาวุธปืน คนขับรถยนต์ที่หยุดตามที่ผู้เสียหายโบกได้ยินคำว่าปืนก็ขับรถยนต์แล่นออกไป ต่อจากนั้นจำเลยได้ฉุดผู้เสียหายขึ้นนั่งบนรถยนต์ของจำเลยพร้อมพูดขู่ว่าถ้าคิดหนีจะยิงให้ตาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะยิง จำเลยขับรถยนต์พาผู้เสียหายเข้าไปบริเวณสวนหย่อมซึ่งอยู่ข้างถนนเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ซึ่งบริเวณนั้นมืด จำเลยใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายให้ถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอด จำเลยจึงยิงปืนไปทางต้นไม้ 1 นัดหลังจากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ที่ศีรษะของผู้เสียหาย จนผู้เสียหายกลัวนั่งทรุดลงกับพื้น จำเลยจึงเข้าไปถอดกางเกงของผู้เสียหายออกทั้งกางเกงนอกและใน พร้อมกับดึงเสื้อชั้นในของผู้เสียหายออก ต่อจากนั้นจำเลยได้ถอดเสื้อผ้าจำเลยออกแล้วขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นไปนั่งบนเบาะรถยนต์ของจำเลย แล้วให้ผู้เสียหายนอนลง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าอวัยวะเพศของผู้เสียหาย แล้วจำเลยได้ชักอวัยวะเพศของจำเลยเข้าออกในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายรู้สึกเจ็บจึงผลักจำเลยออก และผู้เสียหายรู้สึกว่ามีน้ำลื่น ๆ ไหลออกจากอวัยวะเพศของผู้เสียหาย จำเลยลุกขึ้นไปสวมใส่เสื้อผ้า และผู้เสียหายก็จัดการสวมใส่เสื้อเช่นเดียวกัน จำเลยพาผู้เสียหายไปที่อำเภอกุสุมาลย์และพาไปซื้อน้ำดื่ม จำเลยทราบว่าสร้อยข้อมือของจำเลยหายไปในขณะเกิดเหตุจึงขับรถยนต์ย้อนกลับไปค้นหาพบแต่สร้อยข้อมือแต่ตะขอทองคำหาไม่พบ และพาผู้เสียหายเข้าพักโรงแรม ในห้องพักโรงแรมจำเลยจะะข่มขืนผู้เสียหายอีกแต่ผู้เสียหายไม่ยอมและขู่ว่าถ้าข่มขืนจะร้องให้คนช่วย ต่อจากนั้นจำเลยได้พาผู้เสียหายไปส่งที่อำเภอพังโคนในเวลาประมาณ 2 นาฬิกาของวันใหม่ ผู้เสียหายต้องขอร้องให้เพื่อนผู้หญิงที่ขายของอยู่ที่ตลาดอำเภอพังโคนพากลับไปส่งบ้าน เมื่อกลับถึงบ้านผู้เสียหายได้เล่าให้นางจงรักษ์ อุตมะยานซึ่งเป็นมารดาฟังทันที และพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และโจทก์มีนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหายเบิกความสนับสนุนว่า ผู้เสียหายไปกับจำเลยในวันที่ 30 มกราคม 2538 และกลับบ้านตอนประมาณ 4 ถึง 5 นาฬิกา ของวันที่ 31 มกราคม 2538 โดยมีเพื่อนผู้หญิงของผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์มาส่ง ผู้เสียหายกลับถึงบ้านได้ร้องไห้ เมื่อสอบถามแล้วได้ความว่าจำเลยใช้อาวุธปืนบังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย นางจงรักษ์ทราบเหตุจากผู้เสียหายแล้วได้ไปหาแม่ภรรยาของจำเลยโดยได้พบนางศรีประไพภรรยาของจำเลยด้วย จึงเล่าเรื่องให้ฟัง นางศรีประไพบอกว่าให้นางจงรักษ์รออยู่ก่อนจะไปติดตามตัวจำเลยมาสอบถาม จึงได้รออยู่จนกระทั่งเที่ยงนางศรีประไพแจ้งว่าติดต่อจำเลยได้แล้ว ขออย่าเพิ่งไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลย นางจงรักษ์ได้ติดต่อกับพันตำรวจโทประสาร สุระเสียงแจ้งเหตุให้ทราบด้วย และได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจในวันที่31 มกราคม 2538 และโจทก์มีพลตำรวจสำรองทองพูน ภูผิวเงินเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 ได้ร่วมไปตรวจสถานที่เกิดเหตุบริเวณสวนหย่อมริมถนนสายสกลนคร - นครพนม ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวพบปลอกกระสุนปืน ขนาด .38 จำนวน1 ปลอก ยางรัดผม 1 เส้น ตะขอทองคำ 1 อัน เงินเหรียญบาท 2 เหรียญผ้าเย็นที่ใช้แล้ว 1 ผืน ผ้าอนามัย 1 อัน และโจทก์มีพันตำรวจโทประสารสุระเสียง เบิกความว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2538 เวลาประมาณ8 นาฬิกา ได้รับโทรศัพท์จากนางจงรักษ์ซึ่งเป็นน้องภรรยาของพันตำรวจโทประสาร เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในคดีนี้ให้ฟัง ผู้เสียหายกับนางจงรักษ์ต่างก็รู้จักจำเลยเป็นอย่างดี จึงไม่มีเหตุที่จะระแวงสงสัยว่าจะจำคนผิด ประกอบกับจำเลยรับว่าได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุจริงเพียงแต่อ้างว่าผู้เสียหายสมยอมเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติได้ว่า จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ คงมีปัญาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนข่มขู่จนผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำชำเราหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยได้ยิงปืนในบริเวณเกิดเหตุในเวลาเกิดเหตุ หากผู้เสียหายเป็นใจยินยอมร่วมประเวณีกับจำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่จำเลยจะต้องยิงปืนในขณะจะได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย เป็นการเจือสมกับคำเบิกความของผู้เสียหายว่าจำเลยยิงปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายจำต้องยอมให้จำเลยกระทำชำเราประกอบกับผู้เสียหายได้แจ้งเหตุว่าถูกจำเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่บังคับข่มขืนกระทำชำเราในทันทีที่พบกับนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหาย หากผู้เสียหายสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลย คงไม่หาเหตุกล่าวหากลั่นแกล้งจำเลย และนางจงรักษ์ได้แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นต่อพันตำรวจโทประสารญาติของนางจงรักษ์ในตอนเช้าวันเกิดเหตุ และได้ไปแจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวนในวันเดียวกันและเจ้าพนักงานตำรวจได้พากันออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ และพบของกลางในบริเวณเกิดเหตุซึ่งสมจริงตามคำเบิกความของผู้เสียหาย แสดงว่าผู้เสียหายบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เพราะมิฉะนั้นคงจะตรวจไม่พบของกลางโดยเฉพาะตะขอสร้อยข้อมือของจำเลยตกในบริเวณที่เกิดเหตุ แม้จะปรากฏว่าก่อนที่นางจงรักษ์จะไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ได้มีการเจรจาต่อรองค่าเสียหายกับฝ่ายจำเลยอยู่บ้าง อาจจะเป็นเพราะว่าฝ่ายผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ถ้าได้รับการชดใช้บรรเทาผลร้ายบ้างน่าจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายผู้เสียหาย การเจรจาต่อรองค่าเสียหาย จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ไม่เป็นพิรุธแต่ประการใด การที่นางจงรักษ์พาผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในตอนเย็นวันที่ 31 มกราคม2538 จึงไม่ทำให้น้ำหนักของพยานส่วนนี้เสียไปแต่ประการใด
++ พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบ จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่าจำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่บังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปัญหานี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ++
++ อนึ่ง ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยข่มขืนใจให้ผู้เสียหายกระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายก็เพื่อมุ่งประสงค์ที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความประสงค์มาแต่แรกแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดตอน การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง ของจำเลย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
++ และศาลฎีกาเห็นว่าตามทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้จำเลยนั้น ไม่เหมาะสม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข และให้มีผลไปถึงข้อหาพรากผู้เยาว์ และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองด้วย ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คงให้บังคับคดีในกระทงความผิดนี้ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง นั้นการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 276 วรรคสอง อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 15 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปีส่วนข้อหาพรากผู้เยาว์และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ เมื่อลดโทษแล้วคงจำคุก 1 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท ตามลำดับ เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นโทษจำคุก 11 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1.
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดรวม 5 กรรม สำหรับฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 เป็นความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะไม่ได้ยิงปืนตามฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน และศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยให้แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองเมื่อเป็นเช่นนี้คดีมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง และความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา310 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นฟังว่าเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และพิพากษาลงโทษจำเลยเรียงกระทงความผิดแต่ละกระทงศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีโดยไม่มีโทษปรับ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ไม่ได้กระทำการข่มขืนใจผู้เสียหาย และไม่ได้กระทำการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า จำเลยได้กระทำการข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายหรือไม่
++ ปัญหาดังกล่าวโจทก์มีนางสาวสลิตตา อุตมะยาน ผู้เสียหายเบิกความว่า จำเลยไปรับตัวผู้เสียหายจากบ้านผู้เสียหายและขึ้นรถยนต์ของจำเลยไปด้วยกันโดยจำเลยเป็นคนขับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2538 เวลาประมาณ 11 นาฬิกาโดยจำเลยพาผู้เสียหายไปรับประทานอาหารจนกระทั่ง 18 นาฬิกา จำเลยจะพาผู้เสียหายเข้าเมืองสกลนครเพื่อจะไปร้องเพลง ผู้เสียหายให้จำเลยพากลับบ้าน จำเลยไม่ยอมและจำเลยได้พูดขู่ว่าถ้าผู้เสียหายคิดหนีจะยิง พร้อมกับเปิดลิ้นชักเก็บของหน้ารถยนต์ของจำเลยให้ผู้เสียหายดูอาวุธปืนที่เก็บไว้ในลิ้นชักเก็บของ ผู้เสียหายถือโอกาสที่จำเลยเผลอได้เอาอาวุธปืนของจำเลยซ่อนไว้ใต้เบาะรถยนต์ที่ผู้เสียหายนั่งอยู่ และผู้เสียหายขอให้จำเลยหยุดรถยนต์เพื่อขอไปปัสสาวะ เมื่อจำเลยหยุดรถยนต์ ผู้เสียหายเปิดประตูรถยนต์วิ่งย้อนกลับไปทางเดิม และพยายามโบกรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาขอให้ช่วยเหลือขณะที่มีรถยนต์คันอื่นหยุด ผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ ประจวบกับจำเลยตามมาทันถามผู้เสียหายเรื่องอาวุธปืน คนขับรถยนต์ที่หยุดตามที่ผู้เสียหายโบกได้ยินคำว่าปืนก็ขับรถยนต์แล่นออกไป ต่อจากนั้นจำเลยได้ฉุดผู้เสียหายขึ้นนั่งบนรถยนต์ของจำเลยพร้อมพูดขู่ว่าถ้าคิดหนีจะยิงให้ตาย ผู้เสียหายกลัวจำเลยจะยิง จำเลยขับรถยนต์พาผู้เสียหายเข้าไปบริเวณสวนหย่อมซึ่งอยู่ข้างถนนเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ซึ่งบริเวณนั้นมืด จำเลยใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายให้ถอดเสื้อผ้า ผู้เสียหายไม่ยอมถอด จำเลยจึงยิงปืนไปทางต้นไม้ 1 นัดหลังจากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนจี้ที่ศีรษะของผู้เสียหาย จนผู้เสียหายกลัวนั่งทรุดลงกับพื้น จำเลยจึงเข้าไปถอดกางเกงของผู้เสียหายออกทั้งกางเกงนอกและใน พร้อมกับดึงเสื้อชั้นในของผู้เสียหายออก ต่อจากนั้นจำเลยได้ถอดเสื้อผ้าจำเลยออกแล้วขู่บังคับให้ผู้เสียหายขึ้นไปนั่งบนเบาะรถยนต์ของจำเลย แล้วให้ผู้เสียหายนอนลง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้อวัยวะเพศของจำเลยสอดใส่เข้าอวัยวะเพศของผู้เสียหาย แล้วจำเลยได้ชักอวัยวะเพศของจำเลยเข้าออกในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายรู้สึกเจ็บจึงผลักจำเลยออก และผู้เสียหายรู้สึกว่ามีน้ำลื่น ๆ ไหลออกจากอวัยวะเพศของผู้เสียหาย จำเลยลุกขึ้นไปสวมใส่เสื้อผ้า และผู้เสียหายก็จัดการสวมใส่เสื้อเช่นเดียวกัน จำเลยพาผู้เสียหายไปที่อำเภอกุสุมาลย์และพาไปซื้อน้ำดื่ม จำเลยทราบว่าสร้อยข้อมือของจำเลยหายไปในขณะเกิดเหตุจึงขับรถยนต์ย้อนกลับไปค้นหาพบแต่สร้อยข้อมือแต่ตะขอทองคำหาไม่พบ และพาผู้เสียหายเข้าพักโรงแรม ในห้องพักโรงแรมจำเลยจะะข่มขืนผู้เสียหายอีกแต่ผู้เสียหายไม่ยอมและขู่ว่าถ้าข่มขืนจะร้องให้คนช่วย ต่อจากนั้นจำเลยได้พาผู้เสียหายไปส่งที่อำเภอพังโคนในเวลาประมาณ 2 นาฬิกาของวันใหม่ ผู้เสียหายต้องขอร้องให้เพื่อนผู้หญิงที่ขายของอยู่ที่ตลาดอำเภอพังโคนพากลับไปส่งบ้าน เมื่อกลับถึงบ้านผู้เสียหายได้เล่าให้นางจงรักษ์ อุตมะยานซึ่งเป็นมารดาฟังทันที และพากันไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และโจทก์มีนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหายเบิกความสนับสนุนว่า ผู้เสียหายไปกับจำเลยในวันที่ 30 มกราคม 2538 และกลับบ้านตอนประมาณ 4 ถึง 5 นาฬิกา ของวันที่ 31 มกราคม 2538 โดยมีเพื่อนผู้หญิงของผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์มาส่ง ผู้เสียหายกลับถึงบ้านได้ร้องไห้ เมื่อสอบถามแล้วได้ความว่าจำเลยใช้อาวุธปืนบังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย นางจงรักษ์ทราบเหตุจากผู้เสียหายแล้วได้ไปหาแม่ภรรยาของจำเลยโดยได้พบนางศรีประไพภรรยาของจำเลยด้วย จึงเล่าเรื่องให้ฟัง นางศรีประไพบอกว่าให้นางจงรักษ์รออยู่ก่อนจะไปติดตามตัวจำเลยมาสอบถาม จึงได้รออยู่จนกระทั่งเที่ยงนางศรีประไพแจ้งว่าติดต่อจำเลยได้แล้ว ขออย่าเพิ่งไปแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลย นางจงรักษ์ได้ติดต่อกับพันตำรวจโทประสาร สุระเสียงแจ้งเหตุให้ทราบด้วย และได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจในวันที่31 มกราคม 2538 และโจทก์มีพลตำรวจสำรองทองพูน ภูผิวเงินเบิกความสนับสนุนว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 ได้ร่วมไปตรวจสถานที่เกิดเหตุบริเวณสวนหย่อมริมถนนสายสกลนคร - นครพนม ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุดังกล่าวพบปลอกกระสุนปืน ขนาด .38 จำนวน1 ปลอก ยางรัดผม 1 เส้น ตะขอทองคำ 1 อัน เงินเหรียญบาท 2 เหรียญผ้าเย็นที่ใช้แล้ว 1 ผืน ผ้าอนามัย 1 อัน และโจทก์มีพันตำรวจโทประสารสุระเสียง เบิกความว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2538 เวลาประมาณ8 นาฬิกา ได้รับโทรศัพท์จากนางจงรักษ์ซึ่งเป็นน้องภรรยาของพันตำรวจโทประสาร เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในคดีนี้ให้ฟัง ผู้เสียหายกับนางจงรักษ์ต่างก็รู้จักจำเลยเป็นอย่างดี จึงไม่มีเหตุที่จะระแวงสงสัยว่าจะจำคนผิด ประกอบกับจำเลยรับว่าได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุจริงเพียงแต่อ้างว่าผู้เสียหายสมยอมเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติได้ว่า จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ คงมีปัญาที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้ใช้อาวุธปืนข่มขู่จนผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำชำเราหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าจำเลยได้ยิงปืนในบริเวณเกิดเหตุในเวลาเกิดเหตุ หากผู้เสียหายเป็นใจยินยอมร่วมประเวณีกับจำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่จำเลยจะต้องยิงปืนในขณะจะได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย เป็นการเจือสมกับคำเบิกความของผู้เสียหายว่าจำเลยยิงปืนขู่บังคับให้ผู้เสียหายจำต้องยอมให้จำเลยกระทำชำเราประกอบกับผู้เสียหายได้แจ้งเหตุว่าถูกจำเลยใช้อาวุธปืนข่มขู่บังคับข่มขืนกระทำชำเราในทันทีที่พบกับนางจงรักษ์มารดาของผู้เสียหาย หากผู้เสียหายสมัครใจร่วมประเวณีกับจำเลย คงไม่หาเหตุกล่าวหากลั่นแกล้งจำเลย และนางจงรักษ์ได้แจ้งเหตุที่เกิดขึ้นต่อพันตำรวจโทประสารญาติของนางจงรักษ์ในตอนเช้าวันเกิดเหตุ และได้ไปแจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวนในวันเดียวกันและเจ้าพนักงานตำรวจได้พากันออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ และพบของกลางในบริเวณเกิดเหตุซึ่งสมจริงตามคำเบิกความของผู้เสียหาย แสดงว่าผู้เสียหายบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เพราะมิฉะนั้นคงจะตรวจไม่พบของกลางโดยเฉพาะตะขอสร้อยข้อมือของจำเลยตกในบริเวณที่เกิดเหตุ แม้จะปรากฏว่าก่อนที่นางจงรักษ์จะไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ได้มีการเจรจาต่อรองค่าเสียหายกับฝ่ายจำเลยอยู่บ้าง อาจจะเป็นเพราะว่าฝ่ายผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ถ้าได้รับการชดใช้บรรเทาผลร้ายบ้างน่าจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายผู้เสียหาย การเจรจาต่อรองค่าเสียหาย จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ไม่เป็นพิรุธแต่ประการใด การที่นางจงรักษ์พาผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในตอนเย็นวันที่ 31 มกราคม2538 จึงไม่ทำให้น้ำหนักของพยานส่วนนี้เสียไปแต่ประการใด
++ พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบ จึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่าจำเลยได้ใช้อาวุธปืนขู่บังคับและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปัญหานี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ++
++ อนึ่ง ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยข่มขืนใจให้ผู้เสียหายกระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายก็เพื่อมุ่งประสงค์ที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความประสงค์มาแต่แรกแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดตอน การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง ของจำเลย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
++ และศาลฎีกาเห็นว่าตามทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้จำเลยนั้น ไม่เหมาะสม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข และให้มีผลไปถึงข้อหาพรากผู้เยาว์ และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองด้วย ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 คงให้บังคับคดีในกระทงความผิดนี้ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง, 309 วรรคสอง และ 310 วรรคหนึ่ง นั้นการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 276 วรรคสอง อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 15 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 10 ปีส่วนข้อหาพรากผู้เยาว์และข้อหายิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ เมื่อลดโทษแล้วคงจำคุก 1 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท ตามลำดับ เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วเป็นโทษจำคุก 11 ปี 4 เดือน และปรับ 333.33 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: เจตนาเดียวเพื่อเบิกเงินประกันภัย แม้แจ้งความเท็จและใช้เอกสารปลอม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวคือมุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลักการกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้รับเงินไปเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173,267,268 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: เจตนาเบิกเงินประกันภัย การแจ้งความเท็จและการใช้เอกสารปลอม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียว คือ มุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลักการกระทำต่าง ๆของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้รับเงินไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173, 267, 268 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรม vs. กรรมเดียว: น้ำมันเถื่อน-สถานีบริการ-วิทยุคมนาคม
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งหกฐานซื้อหรือรับไว้ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงของกลางที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศและหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรฐานจัดตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่าย และฐานเป็นผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่ละฐานแยกออกต่างหากจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำ เวลาที่การกระทำเป็นความผิดสำเร็จลง ตลอดจนบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน จึงเป็นการกระทำความผิดแยกเป็น 4 กรรม
จำเลยทั้งหกมีวิทยุคมนาคมไว้ก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้ การที่จำเลยทั้งหกนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่มีอยู่มาตั้งเป็นสถานีวิทยุคมนาคมก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้เช่นกันแล้วจำเลยก็ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่มีและตั้งขึ้นเป็นสถานีวิทยุคมนาคมเหล่านั้น อันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมตามรายการเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งหกใน 3 ฐานความผิดที่กล่าว จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งหกมีเจตนาเดียว เพื่อที่จะสามารถติดต่อด้วยเครื่องวิทยุคมนาคม จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
จำเลยทั้งหกมีวิทยุคมนาคมไว้ก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้ การที่จำเลยทั้งหกนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่มีอยู่มาตั้งเป็นสถานีวิทยุคมนาคมก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้เช่นกันแล้วจำเลยก็ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่มีและตั้งขึ้นเป็นสถานีวิทยุคมนาคมเหล่านั้น อันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมตามรายการเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งหกใน 3 ฐานความผิดที่กล่าว จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งหกมีเจตนาเดียว เพื่อที่จะสามารถติดต่อด้วยเครื่องวิทยุคมนาคม จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท