พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการฟ้องทายาท และขอบเขตความรับผิดของทายาทในหนี้สินของกองมรดก
ทายาทอาจถูกเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องได้เสมอ แต่ทายาทนั้นไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของทายาทต่อหนี้สินของกองมรดก
ทายาทอาจถูกเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องได้เสมอ แต่ทายาทนั้นไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแก่ทายาท: ศาลสั่งให้ทายาทชำระหนี้จากกองมรดกได้ ไม่เกินคำขอ
ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจำเลยตายก่อนได้รับคำบังคับ โจทก์ขอให้ส่งคำบังคับแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นภรรยาจำเลยแทนได้ และการที่ศาลพิพากษาให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของจำเลย เอาทรัพย์สินจากกองมรดกของจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากกองมรดก: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นมรดกของผู้ตายจริง
ศาลพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้รับมรดกของ ป. ชำระค่าจ้างว่าความจากกองมรดกของ ป. ให้โจทก์ โจทก์นำยึดตึกซึ่งเป็นของจำเลยกับภริยาโดยอ้างว่าจำเลยได้รับมรดกของ ป. ไป คือ ที่ดินโฉนดที่ 5813 ซึ่งมีราคามากกว่า หนี้ตามคำพิพากษา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้หนี้แก่โจทก์ และโจทก์รับว่าที่ดินโฉนดนี้มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ แม้จำเลยกับภริยาจะแถลงรับว่าจำเลยกับ ป. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมยกที่ดินนี้ให้ ภ. แล้วจำเลยได้ขายไปเสีย แต่จำเลยก็ได้โต้แย้งว่าเป็นที่ดินของจำเลยเองที่ยินดีสละให้แก่ ภ. ไม่ใช่ทรัพย์ของ ป. และไม่ใช่มรดกของ ป. ในขณะที่ ป. ตาย ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานก็ไม่มีทางจะฟังได้ดังโจทก์อ้างว่าที่ดินนี้เป็นมรดกของ ป. ศาลย่อมพิพากษาให้ถอนการยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้จำกัดเฉพาะทายาท ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิขอเป็นได้
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียในมาตรา 1713 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง พ. เป็นทายาทโดยธรรมของ ท. และ พ. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์ เมื่อ พ. ตายไปแล้วโจทก์ก็มีสิทธิร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ได้ แต่การที่ศาลจะตั้งใครนั้นต้องคำนึงถึงวรรคห้าแห่งมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีเอากับกองมรดกของผู้ตายจากการซื้อขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น ทั้งตามกฎหมาย และโดยสภาพไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตาย ผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้บังคับดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำระหนี้ ให้แก่ตนได้ตามคำพิพากษา
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรม และจดทะเบียนรับโอนแล้ว แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดก มิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี (ปัญหาข้อสุดท้ายนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรม และจดทะเบียนรับโอนแล้ว แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดก มิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี (ปัญหาข้อสุดท้ายนี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีเอากับกองมรดกจากคำพิพากษาตามยอม แม้ผู้รับมรดกจะได้รับโอนทรัพย์แล้ว
หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น ทั้งตามกฎหมายและโดยสภาพไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตายผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำระหนี้ให้แก่ตนได้ตามคำพิพากษา
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการแม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้วแต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรงไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดกมิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี (ปัญหาข้อสุดท้ายนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการแม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้วแต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรงไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดกมิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ 1 ปี แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี (ปัญหาข้อสุดท้ายนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีเอากับกองมรดกเมื่อทายาทรับโอนทรัพย์สินก่อนชำระหนี้
หน้าที่โอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมนั้น. ทั้งตามกฎหมายและโดยสภาพไม่ใช่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ จึงเป็นมรดกของผู้ตาย.ผู้ซื้อในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีเอาที่ดินของผู้ตายโอนชำระหนี้ให้แก่ตนได้ตามคำพิพากษา.
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ. แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้ว. แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736. เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้. ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง. ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่.
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดกมิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ1 ปี. แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี.(ปัญหาข้อสุดท้ายนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512).
ที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นทรัพย์ซึ่งจะต้องโอนขายตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วศาลย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้จนเสร็จการ. แม้โจทก์จะได้รับมรดกที่ดินมาตามพินัยกรรมและจดทะเบียนรับโอนแล้ว. แต่ที่ดินดังกล่าวก็เป็นมรดกที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736. เพราะผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งปรากฏตัวยังไม่ได้รับชำระหนี้. ผู้ซื้อจึงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมเอาจากกองมรดกของผู้ตายได้โดยตรง. ไม่จำต้องร้องฟ้องโจทก์เป็นคดีใหม่.
การที่ผู้ซื้อขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาจากกองมรดกมิใช่เป็นกรณีฟ้องร้องคดีมรดกซึ่งมีอายุความ1 ปี. แต่เป็นการดำเนินการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งมีสิทธิทำได้ภายในกำหนด 10 ปี.(ปัญหาข้อสุดท้ายนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: ผู้สั่งจ่ายเช็คมีหน้าที่รับผิดชอบหนี้แม้ธนาคารยังไม่เรียกเก็บ
ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร โดยยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีของตนได้ด้วยนั้น กรณีมิใช่เป็นเรื่องตั้งเป็นตัวแทนไปทำสัญญากู้ และข้อตกลงระหว่างผู้ไปทำสัญญากู้กับผู้ที่ตนยอมให้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินในบัญชีของตนได้ ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ
ออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นตามความตกลงระหว่างกัน ต้องรับผิดใช้เงินคืนให้แก่เจ้าของบัญชี แม้ธนาคารผู้ให้กู้จะยังไม่ได้ทวงถามเจ้าของบัญชีก็ตาม หากผู้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินนั้นถึงแก่ความตายก่อนชดใช้เงิน กองมรดกของผู้นั้นก็ต้องรับผิดต่อเจ้าของบัญชี
ข้อกฎหมายที่ยกขึ้นว่ากล่าวไว้แล้วในศาลชั้นต้น แต่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้
ออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นตามความตกลงระหว่างกัน ต้องรับผิดใช้เงินคืนให้แก่เจ้าของบัญชี แม้ธนาคารผู้ให้กู้จะยังไม่ได้ทวงถามเจ้าของบัญชีก็ตาม หากผู้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินนั้นถึงแก่ความตายก่อนชดใช้เงิน กองมรดกของผู้นั้นก็ต้องรับผิดต่อเจ้าของบัญชี
ข้อกฎหมายที่ยกขึ้นว่ากล่าวไว้แล้วในศาลชั้นต้น แต่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับกองมรดกก่อนแบ่งมรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ในกองมรดก แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ทายาทแล้ว
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ตามฟ้องให้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาผู้รับมรดก บ. โดยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องรับผิดร่วมด้วย แต่ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยนั้นยังไม่ได้แบ่งมรดกกันระหว่างทายาท โฉนดยังเป็นชื่อของ บ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องเพิ่งโอนรับมรดกในขณะคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ฉะนั้น ถึงแม้ที่ดินพิพาทโอนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนนายแบนเจ้ามรดกก็ตามที่พิพาทก็ยังเป็นทรัพยในกองมรดกของ บ. ซึ่งยังมิได้แบ่งอยู่นั่นเอง โจทก์จึงชอบที่จะยึดที่ดินพิพาทมาบังคับคดีได้โดยไม่ต้องฟ้องทายาทผู้รับมรดกคนอื่น