คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งราคาซื้อขายต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวให้จำเลยที่ 1 ห้องละ 80,000 บาท จำเลยที่ 1 มาขอให้โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนโอนขายให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปแสดงแก่เจ้าพนักงานที่ดิน โดยจำเลยทั้งสองแจ้งความเท็จว่าโจทก์โอนขายให้ในราคา 40,000 บาทความจริงจำเลยที่ 1 ขายให้จำเลยที่ 2 ในราคากว่า 80,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมและค่าอากร อาจทำให้โจทก์เสียหายคืออาจถูกฟ้องฐานแจ้งความเท็จ อาจถูกเรียกค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ที่ขาดและถูกปรับหลายเท่า และอาจถูกฟ้องฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้โอนขายแทนเท่านั้น โจทก์ไม่ได้เป็นผู้แจ้งหรือร่วมรู้เห็นในการแจ้งว่าซื้อขายกันเป็นเงินเท่าใด ไม่ต้องรับผิดฐานแจ้งความเท็จนั้น การแจ้งราคาซื้อขายน้อยกว่าความจริง เป็นเหตุให้รัฐบาลขาดรายได้รัฐบาลก็เป็นผู้เสียหาย ไม่ใช่โจทก์ข้อที่ว่าโจทก์อาจถูกเรียกค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ที่ขาดและจะถูกปรับ ก็ปรากฏตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่ชำระ เมื่อตามข้อเท็จจริงเป็นการแจ้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยเฉพาะตัวแล้ว
โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันแจ้งความเท็จ ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้องได้โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารยกทรัพย์สินระหว่างมีชีวิต ไม่ใช่พินัยกรรม
เอกสารที่ผู้ตายทำไว้ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าเป็นพินัยกรรมหรือแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินว่า ให้เกิดผลบังคับเมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วเลยแม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความว่า 'เวลาทำหนังสือฉบับนี้มีสติสัมปชัญญะดีเป็นปกติดี' ก็ดี หรือ 'ขอเจตนาครั้งสุดท้าย' ก็ดีก็หาทำให้แปลความได้ว่าผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์ของตนให้เมื่อตนถึงแก่ความตายไปแล้วไม่. ข้อความในตอนท้ายของเอกสารที่ว่า 'ข้าพเจ้าขอยกให้ (ระบุชื่อผู้รับ) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป'กลับแสดงแจ้งชัดว่าผู้ตายเจตนาที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้รับทันทีในระหว่างที่ตนยังมีชีวิต เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่พินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมือเปล่าที่มี ส.ค.1 ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอ ถือเป็นโมฆะตามกฎหมาย
บทบัญญัติมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 เป็นบทบัญญัติอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนถึงแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ที่ดินมือเปล่ามี ส.ค.1. ยังมิได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว จะโอนกันไม่ได้ จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนการขายให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ถูกริบเป็นของแผ่นดิน การโอนสิทธิหลังศาลตัดสินไม่ทำให้ผู้รับโอนมีสิทธิเรียกร้อง
เมื่อศาลได้พิพากษาให้ริบรถยนต์แล้ว จึงได้มีการโอนรถยนต์นั้นมาเป็นของผู้เช่าซื้อ แล้วผู้เช่าซื้อได้โอนให้ผู้ร้องอีกทอดหนึ่ง ฉะนั้นรถยนต์ย่อมตกเป็นของแผ่นดินการโอนให้แก่กันภายหลังนั้น ผู้รับโอนย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ ฉะนั้น ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าของที่แท้จริงที่จะยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36เพราะขณะที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง รถยนต์นั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าซื้ออยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตหลังการยกให้และครอบครอง
จำเลยที่ 2 ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ตั้งแต่โจทก์ทำการสมรสเมื่อ พ.ศ. 2478 แล้วโจทก์ได้ครอบครองต่อมาเป็นเวลาสิบกว่าปีจำเลยทั้งสองจึงได้ทำการโอนที่พิพาทให้กันโดยการซื้อขายที่มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเมื่อ พ.ศ. 2506 ดังนี้ โจทก์ซึ่งอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนอันเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมือเปล่า: การโอนและการคุ้มครองสิทธิ แม้มี น.ส.3 ก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
โจทก์ซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจาก ต. และ ครอบครองทำกินมาเป็นเวลานานปีแล้ว แม้ ต. จะได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ที่พิพาทแปลงนี้ และโอนขายให้จำเลยภายหลัง ซึ่งรับซื้อไว้โดยสุจริตดังปรากฏหลักฐานการโอนตามหนังสือ น.ส.3 ก็ตาม จำเลยก็หาได้ไปซึ่งสิทธิในที่พิพาทแต่อย่างใดไม่ เพราะ น.ส.3 หาใช่เป็นหลักฐานกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนเช่นโฉนดที่ดินไม่ จึงจะนำมาตรา 1299, 1300ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้แก่กรณีนี้มิได้ (เทียบเคียงฎีกาที่ 1076-1077-1078/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยเจตนาฉ้อฉลและการยืมมือฟ้อง ผู้สั่งจ่ายไม่ต้องรับผิด
ผู้สั่งจ่ายเช็คจะต่อสู้ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนหาได้ไม่.เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล.
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ทรงคนก่อนเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา. เมื่อผู้ทรงคนก่อนยังไม่ปฏิบัติตามสัญญา. และจำเลยสั่งห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็ค. ผู้ทรงคนก่อนจึงสลักหลังโอนเช็คให้โจทก์มาฟ้อง. เป็นการยืมมือโจทก์ฟ้อง. ดังนี้ ย่อมถือว่าคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังถูกยึดเป็นของกลาง: ผู้ซื้ออ้างการโอนยันเจ้าพนักงานไม่ได้ หากเจ้าของเดิมไม่มีส่วนรู้เห็น
ผู้ซื้อทรัพย์สินที่ถูกเจ้าพนักงานยึดไว้เป็นของกลางในคดีอาญา เพราะเป็นทรัพย์ที่จะพึงริบตามกฎหมาย จะอ้างการโอนนั้นยันเจ้าพนักงานไม่ได้
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่า เจ้าของทรัพย์ไม่รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดศาลก็ไม่สั่งคืนทรัพย์ที่ริบนั้น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของผู้อื่นโดยไม่ชอบและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ของผู้รับโอน
จำเลยที่ 1,2 ออกโฉนดทับที่ซึ่งโจทก์ครอบครองอยู่ก่อน การออกโฉนดทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1,2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 3,4 รับจำนองที่พิพาทโดยไม่สุจริต ต่อมาจำเลยที่ 3,4 ฟ้องบังคับจำนองและซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดของศาล ย่อมเป็นการซื้อโดยไม่สุจริต ต่อมาจำเลยที่ 3 โอนทะเบียนยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 5,6 โดยเสน่หา โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
การที่จำเลยขอให้ออกและรับโฉนดที่พิพาทโดยโจทก์ไม่รู้และการที่จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์จากที่พิพาท ไม่ใช่การแย่งการครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสินบริคณห์ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเป็นหนังสือ หากไม่มีความยินยอม การโอนไม่สมบูรณ์
การที่สามีจะยกที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ใครโดยเสน่หาได้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยา ถ้าภริยาไม่ได้ยินยอมเป็นหนังสือ การให้นั้นไม่สมบูรณ์
of 15