คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนดเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง และความสำคัญของกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ ที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ทั้งตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์จากฐานข้อมูลการทะเบียนสำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับรองก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง 3 วัน ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีที่อยู่บ้านเลขที่ดังกล่าว การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามคำสั่งของศาลแรงงานกลางก็มีบุคคลเดียวกับบุคคลที่เคยรับหนังสือทวงถามไว้แทนจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไว้แทน น่าเชื่อว่าบ้านเลขที่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 2 จริง แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ามีภูมิลำเนาแห่งอื่นอีก หากเป็นความจริงก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 2 มีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง บ้านเลขที่ตามฟ้องโจทก์ย่อมเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ด้วยแห่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาตามฟ้อง โดยมีผู้รับแทนจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการส่งหมายโดยชอบ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดในวันที่ 9 กันยายน 2542 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 เกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้ยกคำร้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลและการดำเนินการตามกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตามกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นฎีกาและมีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงิน ค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในกำหนด 20 วัน นับแต่วันฟังคำสั่ง เป็นการกำหนดเวลาโดยอาศัยอำนาจของศาล ที่มีอยู่ทั่วไปในการที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะหรือห้ามไว้ ไปในทางที่เห็นว่ายุติธรรมและสมควร และการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวมิใช่เป็นการขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ดังนั้น ถ้าจำเลยไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยได้ แม้ว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาอย่างคนอนาถา แต่การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว มิได้ทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นต้องสะดุดหยุดอยู่หรือทำให้สิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาต้องสะดุดหยุดอยู่ จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพราะการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลชั้นต้นกับจำเลย หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งศาลฎีกาย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อน มิฉะนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล จำเลยจะรอคำสั่งของศาลฎีกาโดยที่มิได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นก่อน จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและการดำเนินการตามกระบวนพิจารณา แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดเวลาให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลมิใช่เป็นการขยายเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23อันจะทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและจะต้องทำก่อนสิ้นระยะเวลานั้นศาลมีอำนาจโดยทั่วไปที่จะกำหนดระยะเวลาได้ การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมิได้มีผลทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นหรือสิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมต้องสะดุดหยุดอยู่จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นไม่ หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่นย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อนมิฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล การที่จำเลยจะรอคำสั่งของศาลฎีกาโดยที่มิได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นก่อนจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5993/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาขอพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208: ความชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อันเป็นเวลาก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 ใช้บังคับ แบ่งการขอพิจารณาใหม่เป็นสองกรณีกรณีแรกเป็นเรื่องขอพิจารณาใหม่ในกรณีปกติ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา กรณีที่สองเป็นเรื่องขอพิจารณาใหม่ในกรณีมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง
จำเลยทราบฟ้องโจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์จำเลย แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 จึงล่วงพ้นกำหนดสิบห้าวันไปแล้ว ทั้งในกรณีปกติและกรณีที่อ้างว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม)
ปัญหาว่าคำขอให้พิจารณาใหม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลภายในกำหนด และการจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม 2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการ ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนอากรขาเข้า: จำเลยต้องยื่นคำร้องภายในกำหนด หากไม่ยื่น แม้มีสินค้าเหลือ ก็ไม่มีสิทธิหักออกจากภาษีที่ต้องชำระ
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ กำหนดเงื่อนไขในการคืนอากรขาเข้าให้แก่ผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วได้ผลิตหรือผสม หรือประกอบ หรือบรรจุ ด้วยของดังกล่าวและส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศไว้ว่า ผู้นำสินค้าเข้าต้องขอคืนเงินอากรภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นออกไป เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนอากรสำหรับสินค้าทั้งสองรายการที่จำเลยอ้างขอตัดบัญชีได้อีกภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 ทวิ และไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนไว้เลย จึงไม่อาจนำจำนวนสินค้าทั้งสองรายการดังกล่าวไปหักออกจากสินค้าคงเหลือซึ่งเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินเรียกเก็บจากจำเลย จำเลยต้องชำระเงินค่าภาษีอากรและเงินเพิ่มที่ค้างชำระแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาออกคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: นับจากวันที่ได้รับคำร้อง ไม่ใช่วันที่ส่งถึงผู้ถูกกล่าวหา
ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 125 ได้บัญญัติให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องกล่าวหาตามมาตรา 124 และออกคำสั่งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหา การที่ลูกจ้างได้ยื่นคำร้องกล่าวหาโจทก์ต่อจำเลยทั้งสิบสามซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2542 และจำเลยทั้งสิบสามได้มีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2542 ซึ่งไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหาของลูกจ้าง คำสั่งของจำเลยทั้งสิบสามจึงออกภายในกำหนดเวลา และชอบด้วย มาตรา 125 แห่งบทบัญญัติดังกล่าว แม้จะส่งคำสั่งให้โจทก์ในวันที่ 28 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกิน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหาก็ไม่ถือว่าออกคำสั่งเกินกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: คำสั่งยังชอบ แม้ส่งคำสั่งเกิน 90 วัน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 125กำหนดให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องกล่าวหาตามมาตรา 124 ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหา เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาโจทก์ต่อจำเลยทั้งสิบสามซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2542และจำเลยทั้งสิบสามได้มีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2542 ซึ่งไม่เกิน90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหา คำสั่งของจำเลยทั้งสิบสามจึงออกภายในกำหนดเวลา แม้จะส่งคำสั่งให้โจทก์ในวันที่ 28เมษายน 2542 ซึ่งเกินกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องกล่าวหาก็ไม่ถือว่าเป็นการออกคำสั่งเกินกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การผัดฟ้องและการฟ้องภายในกำหนดเวลาที่ศาลอนุญาต
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องครบถ้วนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำเป็นที่โจทก์ต้องระบุไว้ในคำฟ้องด้วยว่าได้มีการขอผัดฟ้อง ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาที่ศาลได้อนุญาตไว้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและประกันตามคำสั่งศาล การไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดและการขาดเหตุสุดวิสัย
จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นภายในวันที่ 21 มีนาคม 2544แต่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในวันที่ 11 เมษายน 2544 โดยจำเลยแสดงไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด โดยเฉพาะใบสำคัญความเห็นแพทย์ท้ายคำร้องก็ระบุว่าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึงวันที่ 18 มีนาคม 2544 เท่านั้นดังนั้น กรณีจึงไม่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
of 99