คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขนส่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งต้องรับผิดแม้ความเสียหายเกิดจากความประมาทของผู้อื่น ตามหลักการขนส่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้รับขนส่งข้าวสารจากองค์การคลังสินค้าไปลงเรือที่อ่าวไทย เพราะเรือที่จำเลยที่ 1 ใช้ บรรทุกข้าวสารชนกับเรือของจำเลยที่ 2 จนจมลงและข้าวสารเสียหายโดยโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่องค์การคลังสินค้าผู้เอาประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้เพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งข้าวสารก็ได้ว่าจ้างจำเลยร่วมทำการขนส่งช่วงและข้าวสารสูญหายเพราะเรือชนกันเป็นความประมาทของเรือของจำเลยที่ 2 ประเด็นพิพาทจึงมีเพียงว่าเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ดังนั้นแม้จะฟังว่าข้าวสารเสียหายเพราะความประมาทของผู้ควบคุมเรือของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 และ 618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้าจากการชนเรือ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะ ผู้รับขนส่งข้าวสารจาก องค์การคลังสินค้า ไปลงเรือที่ อ่าวไทย เพราะเรือที่จำเลยที่ 1ใช้ บรรทุกข้าวสารชนกับเรือของจำเลยที่ 2 จนจมลงและข้าวสารเสียหายโดย โจทก์ในฐานะ ผู้รับประกันภัยได้ ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ องค์การคลังสินค้า ผู้เอาประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้เพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งข้าวสารก็ได้ ว่าจ้างจำเลยร่วมทำการขนส่งช่วง และข้าวสารสูญหายเพราะเรือชนกันเป็นความประมาทของเรือของจำเลยที่ 2 ประเด็นพิพาทจึงมีเพียงว่าเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 กับจำเลยร่วมต้อง รับผิดต่อ โจทก์หรือไม่ดังนั้นแม้จะฟังว่าข้าวสารเสียหายเพราะความประมาทของผู้ควบคุมเรือของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ก็ต้อง รับผิดต่อ โจทก์ในฐานะ ผู้ขนส่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 และ 618.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: น้ำหนักรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 1.6 ตัน
แม้จำเลยจะนำรถยนต์กระบะบรรทุกส่วนบุคคลมาประกอบการขนส่งไม่ประจำทางเรียกเก็บเงินเพื่อสินจ้าง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่ารถคันดังกล่าวมีน้ำหนักรถเท่าใดจึงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ส่วนบุคคลคันที่จำเลยขับเป็นรถที่มีน้ำหนักเกินกว่าหนึ่งพัน หกร้อยกิโลกรัม รถคันดังกล่าวจึงเป็นรถที่ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. การขนส่งทางบก ฯ การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 23 ประกอบมาตรา126 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การร่วมรับผิดของนายจ้างและผู้ประกอบการขนส่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจาะจงตัวจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ส.จำกัด ไม่ต้องระบุว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์นั่งรถยนต์รับจ้างสามล้อที่ ก.เป็นผู้ขับขี่แล่นมาถึงบริเวณใกล้ที่พักผู้โดยสารประจำทางใกล้สะพานสท้านนภา โฉมหน้าจากสถานีขนส่งสายใต้ไปทางสามแยกท่าพระถูกรถยนต์โดยสารประจำทางสาย 81 คันหมายเลขทะเบียน กท. จ.3991 พุ่งเข้าชนนั้นย่อมชัดแจ้งเข้าใจได้แล้วว่ารถชนกันที่ใด ส่วนค่าเสียหายโจทก์ก็บรรยายฟ้องแยกชนิดประเภทความเสียหายว่าเป็นเงินส่วนละเท่าใด ความเสียหายที่ทำให้โจทก์เสียฆานประสาทก็บรรยายว่าไม่อาจรับความรู้สึกในการดมกลิ่นอีกฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสินสมรถเป็นการฟ้องตามสิทธิที่มีอยู่เป็นการเฉพาะตัว จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ แต่ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องที่เกี่ยวกับค่าเสียหายในภายหลัง คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ได้นำรถยนต์โดยสารประจำทางคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 มาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 พนักงานเก็บเงินค่าโดยสารของรถยนต์โดยสารประจำทางดังกล่าวก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่าการนำรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของผู้ขนส่งร่วมกันและการช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยสินค้า
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ผู้รับตราส่งได้นำใบตราส่งพร้อมหลักฐานอื่นไปขอออกสินค้าลูกปืนและตลับลูกปืนที่สั่งซื้อจากการท่าเรือแห่ง ประเทศไทยแล้วสิทธิของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนสินค้ารายนี้ย่อมตกได้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้นได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปย่อมได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องผู้รับขนผู้ก่อความเสียหายแก่สินค้ารายนี้ได้
จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้รับสินค้าในใบตราส่ง เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย บริษัทตัวแทนเรือในต่างประเทศได้แจ้งให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า และเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร.ไปรับสินค้าจากคลังสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 มีลักษณะร่วมกันขนสินค้ารายนี้อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ขนส่งต้องรับผิดร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นตัวแทนของบริษัท ซ. ผู้ควบคุมการเดินเรือของประเทศสหภาพโซเวียต โดยได้รับค่าตอบแทนตามอัตราสินค้าเข้าและสินค้าออกของค่าระวาง แต่ในคดีนี้เรือบรรทุกสินค้าของประเทศสหภาพโซเวียตมิได้เข้ามาในประเทศไทย โดยได้ขนถ่ายสินค้ารายนี้ให้สายการเดินเรืออื่นทำการขนส่งอีกทอดหนึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมดำเนินการขนส่งหรือได้ผลประโยชน์ในการขนส่งสินค้ารายนี้ ดังนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมขนส่งด้วยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมในละเมิดจากการใช้รถขนส่ง: สิทธิเฉพาะตัวผู้ประกอบการ, การยินยอม, ลูกจ้างร่วม
จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ จึงต้องใช้รถสำหรับทำการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของจำเลยที่ 3 เท่านั้น เพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัว ดังนั้นแม้จำเลยที่ 3 จะได้โอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุให้จำเลยที่ 2 ไปแล้ว ก็เป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ของรถเมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้บอกเลิกประกอบการขนส่ง แต่กลับยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่งตามใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งของจำเลยที่ 3 ได้อีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันประกอบการขนส่ง และถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเส้นทางขนส่งและการออกใบอนุญาตตามอำนาจกฎหมาย ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
การที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางจำเลยที 1 กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทางขึ้นใหม่ และนายทะเบียนกลางจำเลยที่ 2 ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางดังกล่าวให้แก่บริษัทขนส่ง จำกัด จำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติงานไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้จะทับเส้นทางรถโดยสารประจำทางเดิมที่โจทก์ได้รับอนุญาต เมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำการอื่นใดอีก ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต จงใจให้เกิดความเสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเส้นทางขนส่งและออกใบอนุญาตตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกและการปฏิบัติงานตามกฎหมาย
การที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางจำเลยที1กำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทางขึ้นใหม่ และนายทะเบียนกลางจำเลยที่2ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางดังกล่าวให้แก่บริษัทขนส่งจำกัด จำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติงานไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้จะทับเส้นทางรถโดยสารประจำทางเดิมที่โจทก์ได้รับอนุญาต เมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำการอื่นใดอีก ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต จงใจให้เกิดความเสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของไปรษณีย์และผู้ขนส่งในการสูญหายของสิ่งของฝากส่ง และขอบเขตความรับผิดตามกฎหมาย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสนบาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบินจำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่งถุงไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกันโจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500 แฟรงก์ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้ แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 30
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของบริษัทขนส่งและไปรษณีย์ กรณีสิ่งของสูญหาย และการรับประกันภัย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 รับฝากสินค้าทับทิมเจียระไนราคาหกแสนบาทเศษจากโจทก์แล้วให้บริษัทการบินจำเลยที่ 2เป็นผู้ส่งถุงไปรษณีย์บรรจุสินค้านั้นจนถึงเมืองปลายทางในต่างประเทศโดยโจทก์ประกันภัยการขนส่งสินค้าดังกล่าวไว้กับผู้ร้องสอด ปรากฏว่าสินค้าสูญหาย เมื่อการฝากส่งสินค้าของโจทก์เป็นลักษณะไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนประเภทจดหมายรับประกันโจทก์ขอให้รับประกันไว้เป็นจำนวนเงิน 3,950 บาท หรือ 500แฟรงก์ทองซึ่งเป็นอัตราสูงสุดที่จำเลยที่ 1 จะรับประกันได้จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามจำนวนที่รับประกันไว้ แม้จะมีการแจ้งราคาไว้ในแบบพิมพ์ที่ปิดไว้ที่ไปรษณียภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของโจทก์ทางศุลกากร ก็มิใช่การระบุแจ้งราคาต่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ. 2477 มาตรา 30
การขนไปรษณียภัณฑ์ในหน้าที่ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จะนำบทบัญญัติเรื่องรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 หมวด 1 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งมีนิติสัมพันธ์เฉพาะกับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งหลายคนหรือหลายทอด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 และโจทก์ซึ่งไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
of 22