พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลไม่ครบและคำขอท้ายฟ้อง: ศาลมีอำนาจสั่งให้ชำระเพิ่ม และคำพิพากษาขับไล่ไม่เกินคำขอ
กรณีที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลมาไม่ครบหรือไม่ถูกต้องศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ครบถ้วนได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้เรียกค่าขึ้นศาลไว้ให้ครบเป็นการคลาดเคลื่อนและเป็นการผิดพลาดเฉพาะในเรื่องการเรียกค่าธรรมเนียมศาลขาดแต่ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาอื่นๆหรือทำให้คำพิพากษาไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจำเลยได้นำรถไถเข้าไปไถที่ดินและหว่านกล้าในที่ดินพิพาททั้งแปลงที่ดินพิพาทสามารถปลูกข้าวและปลูกพืชไร่ได้ตลอดทั้งปีซึ่งโจทก์ก็ได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยมาเป็นรายปีจำเลยก็เบิกความยอมรับว่าได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องแต่เพียงว่าห้ามจำเลยและบริวารเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ย่อมมีความหมายว่าขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่นอกเหนือหรือเกินคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน น.ส.2 ยังไม่ถือเป็นการได้สิทธิทำประโยชน์ตามกฎหมาย ไม่สามารถโอนได้ แต่มีสิทธิขับไล่ผู้บุกรุกได้
ที่ดินพิพาทเป็นของบิดาโจทก์ให้จำเลยครอบครองแทนแต่ที่ดินพิพาทมีเพียง น.ส.2 ซึ่งเป็นหนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินของรัฐชั่วคราว ยังไม่ได้รับคำรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้วตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 จึงโอนกันไม่ได้ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่ออยู่ใน น.ส.2 ไปยื่นหรือขอให้เปลี่ยนชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่เจ้าพนักงานที่ดินจะออกให้ตาม น.ส.2 เป็นชื่อโจทก์ได้ จึงพิพากษาให้ตามคำขอส่วนนี้ไม่ได้ แต่เนื่องจากเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ และโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครองที่พิพาท จึงเป็นคดีประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จึงมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7518/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย และความครบถ้วนของคำฟ้องขับไล่จากสัญญาเช่า
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์โดยมิได้เรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลยแม้จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในระหว่างพิจารณาก็ไม่จำต้องเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาในคดี โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์แล้วได้นำที่ดินไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์อันเป็นการทำผิดสัญญาส่วนการกระทำของจำเลยที่ว่านำที่ดินให้ผู้ใดเช่าและเป็นการผิดสัญญาข้อใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้องคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6682/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สัญญาเช่าครบกำหนด ไม่มีสิทธิอยู่อาศัยต่อ เจ้าของที่ดินมีสิทธิขับไล่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าอยู่อาศัยและเลี้ยงปลาในที่ดินของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การรับว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมที่จำเลยอ้างไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ และอ้างว่าเป็นการเช่าเพื่อทำนาซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ศาลชั้นต้นได้ตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยเช่าที่พิพาทและได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือไม่ ดังนี้เมื่อจำเลยใช้ที่พิพาทเลี้ยงปลาไม่ใช่ทำนา จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 5,63 และเมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จำเลยก็ยกเรื่องการเช่าขึ้นต่อสู้คดีไม่ได้ รวมทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจยกเรื่องการเช่าขึ้นวินิจฉัยเช่นกันการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าจำเลยเช่าที่พิพาทเพื่อเลี้ยงปลาและสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วจึงเป็นการวินิจฉัยที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เมื่อความปรากฏต่อศาลอุทธรณ์และแม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวต้องห้ามอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3)(ก) แต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นรับฟังฝ่าฝืนต่อกฎหมายมาและศาลอุทธรณ์ยังวินิจฉัยข้อที่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 และฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538ที่ว่า โจทก์ต้องผูกพันในฐานะผู้ให้เช่าที่พิพาทโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาเช่าอีกด้วย ดังนี้ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยอยู่อาศัยเลี้ยงปลาในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ เมื่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่ต่อไป จำเลยก็ต้องออกไปโดยไม่มีข้ออ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6459/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 19629 ,19630, 19631 แขวงลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) เขตบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยประมูลซื้อจากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จำเลยทั้งสองและบริวารอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทโดยไม่ยอมออก โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างและใช้ค่าเสียหาย ดังนี้โจทก์บรรยายฟ้องแจ้งชัดถึงการได้มาของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความเสียหายที่ไม่อาจหาประโยชน์เดือนละ30,000 บาท และได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองออกจากที่พิพาทและสิ่งปลูกสร้างแล้วเป็นฟ้องที่แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
คำว่า โดยสุจริตในมาตรา 1330 หมายความว่า ผู้ซื้อไม่รู้ว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ในการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อสุจริตหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งก่อนและในขณะซื้อประกอบกันว่าผู้ซื้อรู้หรือไม่ว่าทรัพย์ที่ตนซื้อจากการขายทอดตลาด มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ส.ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเบิกความรับว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2518 ก่อนโจทก์ซื้อที่พิพาท และก่อนไปประมูลซื้อที่ดินได้ไปตรวจดูที่ดินซึ่งรวมทั้งที่พิพาทก่อน พบว่าที่ดินบางแปลงเป็นที่ว่างเปล่าบางแปลงมีสิ่งปลูกสร้างแต่สิ่งปลูกสร้างไม่มีผู้อยู่อาศัย มีสภาพเป็นบ้านร้าง หลังจากโจทก์ซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลงจากการขายทอดตลาดแล้ว จึงได้มีคนเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านพิพาท ในขณะที่โจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโจทก์ได้ตรวจสอบทราบแล้วว่า ที่ดินและบ้านพิพาทมีจำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยอยู่ บ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านพิพาทปิดอยู่ที่หน้าประตูบ้านอย่างชัดแจ้ง โจทก์ย่อมทราบว่าที่ดินและบ้านพิพาทมิใช่เป็นของลูกหนี้ในคดีที่มีการขายทอดตลาดกัน โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ซื้อโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330 โจทก์จะเอาที่และบ้านพิพาทโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท
ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่พิพาททั้ง 3 แปลง ด้วยนั้น เมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นพิพาทสำหรับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้คงมีเพียงว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทรวม3 ประการ คือโจทก์ซื้อที่พิพาทโฉนดเลขที่ 19629 19630 และ 19631 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใด โดยมิได้กำหนดประเด็นในเรื่องการครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแต่อย่างใด จำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้
คำว่า โดยสุจริตในมาตรา 1330 หมายความว่า ผู้ซื้อไม่รู้ว่ามิใช่ทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ในการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อสุจริตหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ทั้งก่อนและในขณะซื้อประกอบกันว่าผู้ซื้อรู้หรือไม่ว่าทรัพย์ที่ตนซื้อจากการขายทอดตลาด มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย ส.ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเบิกความรับว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทได้ปลูกสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2518 ก่อนโจทก์ซื้อที่พิพาท และก่อนไปประมูลซื้อที่ดินได้ไปตรวจดูที่ดินซึ่งรวมทั้งที่พิพาทก่อน พบว่าที่ดินบางแปลงเป็นที่ว่างเปล่าบางแปลงมีสิ่งปลูกสร้างแต่สิ่งปลูกสร้างไม่มีผู้อยู่อาศัย มีสภาพเป็นบ้านร้าง หลังจากโจทก์ซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลงจากการขายทอดตลาดแล้ว จึงได้มีคนเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านพิพาท ในขณะที่โจทก์ประสงค์จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโจทก์ได้ตรวจสอบทราบแล้วว่า ที่ดินและบ้านพิพาทมีจำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยอยู่ บ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านพิพาทปิดอยู่ที่หน้าประตูบ้านอย่างชัดแจ้ง โจทก์ย่อมทราบว่าที่ดินและบ้านพิพาทมิใช่เป็นของลูกหนี้ในคดีที่มีการขายทอดตลาดกัน โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ซื้อโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330 โจทก์จะเอาที่และบ้านพิพาทโดยอาศัยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท
ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่พิพาททั้ง 3 แปลง ด้วยนั้น เมื่อการขายทอดตลาดดังกล่าวเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นพิพาทสำหรับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้คงมีเพียงว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด
คดีนี้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทรวม3 ประการ คือโจทก์ซื้อที่พิพาทโฉนดเลขที่ 19629 19630 และ 19631 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจากการขายทอดตลาดโดยสุจริตหรือไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใด โดยมิได้กำหนดประเด็นในเรื่องการครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแต่อย่างใด จำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ผู้เช่า: ค่าเช่าไม่เกิน 2,000 บาท ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และเจ้าของรวมมีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาว่าคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง กล่าวคือหากมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โดยถือเอาค่าเช่าจริง ๆ ที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ส่วนที่จะฟังว่าอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทนั้น เป็นเรื่องการฟ้องผู้อาศัยหรือบุคคลอื่นซึ่งมิได้กำหนดค่าเช่ากันไว้ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าให้ออกจากตึกแถวพิพาท และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าไว้ในอัตราเดือนละ 100 บาท ซึ่งไม่เกินเดือนละสองพันบาท จึงต้องห้ามคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าหากนำตึกแถวและที่ดินไปปรับปรุงแล้วนำออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจะได้ค่าเช่าประมาณอัตราเดือนละ 4,000 บาท นั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายในอนาคตอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทเท่านั้น จะนำมาเป็นเกณฑ์พิจารณาคดีต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 เมื่อมีบุคคลภายนอกมายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งอาจฟ้องร้องว่ากล่าวหรือต่อสู้คดีโดยลำพังได้ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในตึกแถวพิพาทที่ให้จำเลยเช่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป โจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2ย่อมต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมคือโจทก์ที่ 1 โดยตรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 545 ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดและโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยก็มีหน้าที่ต้องส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองการที่จำเลยยังคงครอบครองตึกแถวพิพาทต่อไปอีกย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทไม่อาจใช้ประโยชน์จากตึกแถวพิพาทได้และโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่สามารถส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การฟ้องบังคับจดทะเบียนและขับไล่ ไม่ใช่ประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนกับคดีนี้ แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่ในคดีก่อนประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนที่โจทก์ฟ้องได้หรือไม่ คงวินิจฉัยไว้แต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทในคดีก่อนเพียงใด เท่าใด ดังนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นที่ดินพิพาท กับขอให้ขับไล่จำเลยที่ 7 และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดก แต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดก แต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6077/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายมีเงื่อนไข ศาลล่างชอบแล้วที่ไม่รับฟ้องแย้ง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับผลการพิจารณาคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย โดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเช่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ด้วยหวังว่าจะได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดไปการที่โจทก์ไม่ให้จำเลยเช่าต่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย คือค่าก่อสร้างและตกแต่งสถานที่ ค่าเช่าที่จำเลยเสียให้โจทก์ไปเพื่อหวังจะทำการค้าแต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยและทำการพิจารณาอนุมัติล่าช้า คิดเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น43,690 บาท ซึ่งเป็นค่าเช่า 2 ปี ที่โจทก์รับล่วงหน้าจากจำเลย รวมทั้งค่าเสียหายที่ไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ชื่อร้านชูจันทร์ในสถานที่เดิมได้ ดังนี้จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ไม่ให้จำเลยเช่าต่อ แต่จำเลยอ้างว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญาและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข จะบังคับได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยแล้วจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6072/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่หลังขายช่วงสิทธิเช่าซื้อ: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากอาคารพิพาทซึ่งโจทก์เช่าซื้อมาจากการเคหะแห่งชาติในราคา63,000บาทหากโจทก์นำอาคารพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ1,000บาทจำเลยให้การว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าซื้ออาคารพิพาทให้จำเลยแล้วโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจึงเป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าซื้ออาคารพิพาทให้แก่จำเลยไปแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยโจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้มีหลักฐานการขายช่วงสิทธิอาคารพิพาทกับหลักฐานการรับเงินเป็นพยานและโจทก์ไม่ได้หลอกลวงเอาใบเสร็จรับเงินจากจำเลยข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ขายช่วงสิทธิการเช่าอาคารพิพาทแก่จำเลยแล้วเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ทั้งฎีกาโจทก์ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินและบ้านโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การฟ้องขับไล่ และการกำหนดค่าเสียหาย
++ เรื่อง ขับไล่ ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ การที่จะเป็นโจทก์ร่วมกันได้หรือไม่เป็นเพียงวิธีการดำเนินคดีไม่ใช่อำนาจฟ้อง จึงมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังเป็นยุติได้ว่า
++ ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 40719,40720 และ 40721 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านไม้ปลูกอยู่ในที่ดินแปลงละ 1 หลัง มีชื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าของคนละหนึ่งโฉนดตามลำดับ ส่วนจำเลยเป็นสามีของนางสายสุนีย์ สุวรรณทัต ได้พักอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา
++
++ ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในข้อแรกมีว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ และการที่โจทก์ทั้งสามรวมฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 40719, 40720และ 40721 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านไม้คนละหนึ่งหลัง ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์แต่ละคนตามลำดับ จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับก็คือ ให้ขับไล่และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ครบถ้วนตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง กำหนดไว้ ไม่จำต้องบรรยายว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาอย่างใด ตั้งแต่เมื่อใด ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปตั้งแต่เมื่อใด แม้จะถือว่าเป็นวันที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิด แต่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา และโจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง ไม่ใช่วันทำละเมิด วันเวลาเช่นว่านั้นจึงเป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
++ ส่วนฎีกาข้อที่ว่า โจทก์แต่ละคนเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างและที่ดินคนละแปลง แต่ร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือไม่นั้น
++
++ เห็นว่า แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้แล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ จำเลยก็มิได้โต้แย้ง จึงเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่จะเป็นโจทก์ร่วมกันได้หรือไม่เป็นเพียงวิธีการดำเนินคดีไม่ใช่อำนาจฟ้อง จึงมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++
++ ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยมีว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลย และค่าเสียหายมีเพียงใด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนต่างมีกรรมสิทธิ์ในบ้าน และที่ดินคนละโฉนดแยกกันเป็นส่วนสัด ซึ่งตามรูปคดีโจทก์แต่ละคนอาจฟ้องตามส่วนของตนได้โดยลำพัง แม้จะฟ้องรวมกันมาเพราะถือว่าเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่ได้แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเป็นจำนวนเท่าใดมาชัดเจน ฟ้องแย้งของจำเลยก็ได้แยกทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากโจทก์แต่ละคนมาชัดเจนเช่นกัน จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของคดีสำหรับฟ้องและฟ้องแย้งแต่ละรายแยกกัน เมื่อปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องและฟ้องแย้งแต่ละรายไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
++ จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้าไปครอบครองอาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทในฐานะสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสายสุนีย์ สุวรรณทัต ไม่ใช่ด้วยความยินยอมของโจทก์ บ้านและที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ และค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนน้อยกว่าที่ศาล-อุทธรณ์กำหนด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ การที่จะเป็นโจทก์ร่วมกันได้หรือไม่เป็นเพียงวิธีการดำเนินคดีไม่ใช่อำนาจฟ้อง จึงมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังเป็นยุติได้ว่า
++ ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 40719,40720 และ 40721 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านไม้ปลูกอยู่ในที่ดินแปลงละ 1 หลัง มีชื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าของคนละหนึ่งโฉนดตามลำดับ ส่วนจำเลยเป็นสามีของนางสายสุนีย์ สุวรรณทัต ได้พักอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา
++
++ ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในข้อแรกมีว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ และการที่โจทก์ทั้งสามรวมฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกัน ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 40719, 40720และ 40721 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านไม้คนละหนึ่งหลัง ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์แต่ละคนตามลำดับ จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับก็คือ ให้ขับไล่และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ครบถ้วนตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง กำหนดไว้ ไม่จำต้องบรรยายว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาอย่างใด ตั้งแต่เมื่อใด ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปตั้งแต่เมื่อใด แม้จะถือว่าเป็นวันที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิด แต่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา และโจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง ไม่ใช่วันทำละเมิด วันเวลาเช่นว่านั้นจึงเป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
++ ส่วนฎีกาข้อที่ว่า โจทก์แต่ละคนเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างและที่ดินคนละแปลง แต่ร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือไม่นั้น
++
++ เห็นว่า แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้แล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ จำเลยก็มิได้โต้แย้ง จึงเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่จะเป็นโจทก์ร่วมกันได้หรือไม่เป็นเพียงวิธีการดำเนินคดีไม่ใช่อำนาจฟ้อง จึงมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
++
++ ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยมีว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลย และค่าเสียหายมีเพียงใด คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนต่างมีกรรมสิทธิ์ในบ้าน และที่ดินคนละโฉนดแยกกันเป็นส่วนสัด ซึ่งตามรูปคดีโจทก์แต่ละคนอาจฟ้องตามส่วนของตนได้โดยลำพัง แม้จะฟ้องรวมกันมาเพราะถือว่าเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน แต่ได้แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเป็นจำนวนเท่าใดมาชัดเจน ฟ้องแย้งของจำเลยก็ได้แยกทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจากโจทก์แต่ละคนมาชัดเจนเช่นกัน จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของคดีสำหรับฟ้องและฟ้องแย้งแต่ละรายแยกกัน เมื่อปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องและฟ้องแย้งแต่ละรายไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
++ จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้าไปครอบครองอาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทในฐานะสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสายสุนีย์ สุวรรณทัต ไม่ใช่ด้วยความยินยอมของโจทก์ บ้านและที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ และค่าเสียหายของโจทก์แต่ละคนน้อยกว่าที่ศาล-อุทธรณ์กำหนด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย