พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยในคดีล้มละลาย
จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขาย-ทอดตลาดทรัพย์พิพาท มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 จะนำ มาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเท่านั้น
คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น หาใช่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม
คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น หาใช่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และความชอบธรรมของการประเมินราคา
การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขายทอดตลาดไม่ชอบ จำเลยทั้งสองย่อมได้รับความเสียหาย เพราะจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 146 จะนำมาตรา 22 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะมาตรา 22 บัญญัติให้ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเท่านั้น คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนฟ้องคดีล้มละลายและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เจ้าหนี้มอบอำนาจให้ ม. มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมายทั้งปวง รวมทั้งดำเนินคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดี หาใช่เป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ คำว่าให้มีอำนาจดำเนินคดีล้มละลายได้นั้นก็ย่อมหมายถึงคดีล้มละลายทุกคดีที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ และการดำเนินคดีล้มละลายหมายความรวมถึงการขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย
การที่เจ้าหนี้มีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ตั้ง ม. เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีล้มละลายได้ แต่ ม. ละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมายื่นคำขอรับชำระหนี้แทนโดยขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับได้ว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้
การที่เจ้าหนี้มีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ตั้ง ม. เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีล้มละลายได้ แต่ ม. ละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมายื่นคำขอรับชำระหนี้แทนโดยขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับได้ว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีล้มละลายครอบคลุมการขอรับชำระหนี้ หากละเลยการดำเนินการตามกำหนด เจ้าหนี้ใช้สิทธิไม่สุจริต
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า เจ้าหนี้มอบอำนาจให้ ม. มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมายทั้งปวง รวมทั้งดำเนินคดีล้มละลายเจ้าหนี้ไม่ได้เจาะจงให้ ม. ดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะแทน ใบมอบอำนาจเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดีหาใช่เป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะไม่ ส่วนคำว่าให้มีอำนาจดำเนินคดีล้มละลายได้นั้น ก็ไม่ได้เจาะจงว่าคดีล้มละลายเรื่องใด ย่อมหมายถึงคดีล้มละลายทุกคดีที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ม. ก็มีอำนาจดำเนินการแทนได้และการดำเนินคดีล้มละลายนั้นหมายความรวมถึงการขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย เมื่อ ม. เป็นตัวแทนเจ้าหนี้ในการดำเนินคดีล้มละลาย แต่ ม. กลับละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมาขอรับชำระหนี้แทน และขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรที่จะขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ แม้เจ้าหนี้จะอยู่นอกราชอาณาจักรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเมื่อศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดี
จำเลยไปอยู่อาศัยและประกอบอาชีพที่จังหวัดภูเก็ตตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2531 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2533 โดยส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่าจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้อง ต้องถือว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรให้พิจารณาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมิใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือประกอบธุรกิจอยู่ในเขตในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องหรือภายในกำหนดเวลา 1 ปี ก่อนนั้นรับคำฟ้องไว้พิจารณาในตอนแรกย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 และเมื่อคำสั่งศาลจังหวัดเชียงใหม่ที่อนุญาตให้พิจารณาใหม่เป็นคำสั่งที่ชอบต้องถือว่าคดีกลับไปอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง กับคืนคำฟ้องให้โจทก์เพื่อไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบมาตรา 209และพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดในคดีล้มละลาย: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นการเป็นคู่ความก่อนเวลาอันควร
โจทก์ฟ้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยขอเข้าเป็นคู่ความในฐานะผู้คัดค้าน ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจึงไม่รับผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ในชั้นพิจารณาคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าว ไม่มีประเด็นแห่งคดีที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้ร้องจะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ดังที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ไว้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าเพราะผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกไม่อาจร้องสอดเข้ามาในคดี มีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีที่ว่าผู้ร้องจะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้หรือไม่ แล้วนำข้อวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวมาเป็นเหตุยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบ และคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ถึงที่สุด ทั้งนี้ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: ทรัพย์สินจำนองต้องเป็นของจำเลย
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ โดยมี จ.นำที่ดิน 2 แปลงจำนองเป็นประกัน ที่ดินที่จำนองไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง โจทก์จึงไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาและข้อยกเว้นการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 บัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลล้มละลายเจ้าหนี้ หรือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เกี่ยวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมายมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องในคดีล้มละลายนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีจึงอยู่ภายในกำหนดเวลา14 วัน ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลา 14 วัน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ไม่ใช่ 8 วันตาม ป.วิ.พ.
เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย)การขายทอดตลาดดังกล่าวจึงเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด จึงเป็นการร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องกระทำภายใน14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 ไม่ใช่ 8 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีล้มละลาย: ประเด็นหนี้สินเดิมที่โจทก์มิได้นำสืบครบถ้วนในคดีก่อน
โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายคดีก่อนโดยอ้างและนำสืบหนี้สินที่จำเลยมีอยู่แต่เพียงบางส่วน และหนี้สินส่วนที่โจทก์ขอเพิ่มในการฟ้องคดีนี้นั้น ล้วนแต่เป็นหนี้สินที่จำเลยมีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องและนำสืบในคดีล้มละลายคดีก่อน ซึ่งโจทก์ชอบที่จะอ้างและนำสืบได้แต่โจทก์ก็มิได้กระทำเพื่อประกอบการวินิจฉัยของศาลเอง ดังนี้จำนวนหนี้สินที่จำเลยมีอยู่จริงเพียงใด จำเลยสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ ทั้งสองคดีที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นประเด็นที่อาศัยข้อเท็จจริงในจำนวนหนี้สินเดียวกัน แต่ด้วยความบกพร่องของโจทก์ในการดำเนินคดีก่อนเป็นเหตุให้ศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นพิพาทโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยสามารถชำระหนี้ได้ และคำวินิจฉัยดังกล่าวนี้ได้ถึงที่สุดแล้ว คำฟ้องโจทก์คดีนี้อ้างเหตุจำนวนหนี้สินเพิ่มเติม เป็นการอาศัยข้อเท็จจริงในจำนวนหนี้สินของจำเลยที่มีอยู่จริงซ้ำกับคดีก่อนจึงเป็นฟ้องซ้ำ