พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7511/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์แก้เล็กน้อย ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
การที่จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น จะต้องเป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษนั้นมีความหมายถึงการเปลี่ยนบทลงโทษจากบทหนึ่งไปเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและขั้นสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่วรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) เป็นเพียงการบังคับใช้กฎหมายเดิมและกฎหมายใหม่ในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 บัญญัติไว้เท่านั้น จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้บทลงโทษ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้จำนวนโทษ มิได้แก้บทลงโทษจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย ให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วมผู้เสียหาย ทำให้คดีระงับตามกฎหมาย
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวซึ่งยังไม่ถึงที่สุด เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ร่วมว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับจำเลย โดยโจทก์และจำเลยไม่คัดค้าน ตามรูปคดีแสดงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายประสงค์ที่จะถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่โจทก์ร่วมใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้อง เนื่องจากคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ส่วนผู้เสียหายเป็นเพียงโจทก์ร่วมเช่นนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7178/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์ในคดีอาญา การไม่มาศาลตามนัด และผลของการยกฟ้อง
บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 และ 181 ได้กำหนดหน้าที่ของโจทก์ว่าในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดี โจทก์จะต้องมาศาลตามนัด มิฉะนั้นให้ศาลยกฟ้องเสียเว้นแต่จะมีเหตุสมควรจึงจะให้เลื่อนคดีไป บทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะเร่งรัดการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วมิให้มีการประวิงคดี จึงกำหนดมาตรการดังกล่าวเพื่อให้โจทก์ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดในวันนัดสืบพยานโจทก์แม้จะมีพนักงานอัยการอื่นที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ที่ศาลชั้นต้นหาใช่มีฐานะเป็นเจ้าของสำนวนและก็หาได้มีพนักงานอัยการคนใดมาแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปไม่ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของสำนวนต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในหน้าที่การงานของตนจะผลักภาระความรับผิดชอบของตนให้แก่พนักงานอัยการอื่นหาสมควรไม่ การที่โจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดในกรณีดังกล่าว ถือเป็นความผิดพลาดบกพร่องของโจทก์เอง กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะยกคดีโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีซ้ำสอง: คดีก่อนเป็นการฟ้องร้องที่ไม่สุจริต สิทธิฟ้องคดีหลังยังคงมี
หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริงหากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างเสมอยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5412/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชำระหนี้ไม่ใช่การยอมความ ไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ที่จำเลยตกลงยินยอมผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพิพาทกับหนี้ในคดีอื่นอีกพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หากจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามบันทึกครบถ้วนโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นทั้งหมด หากจำเลยผิดเงื่อนไขยินยอมให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาต่อไปตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงที่จำเลยทั้งสองจะชดใช้เงินของโจทก์ที่ยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลง เลิกหรือระงับการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงบันทึกที่จะชดใช้ค่าเสียหายกันในทางแพ่ง มิใช่เป็นการยอมความอันมีผลทำให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาของโจทก์ต้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คดีจึงยังไม่เลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเรียกสำนวนสอบสวน, การรับฟังพยาน, และการโต้แย้งพยานหลักฐานในคดีอาญา
ศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบคำวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 175 การดำเนินการของศาลดังกล่าวมิใช่การพิจารณาและสืบพยานในศาล จึงไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และเมื่อมิใช่การสืบพยาน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจถามค้านพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเรียกสำนวนสอบสวนเพื่อวินิจฉัยคดีอาญา และสิทธิจำเลยในการซักค้านพยาน
ศาลมีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 175 การดำเนินการของศาลดังกล่าวมิใช่การพิจารณาและสืบพยานในศาล จึงไม่ต้องทำต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และเมื่อมิใช่การสืบพยาน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจถามค้านพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้สืบสันดานเมื่อผู้เสียหายเสียชีวิต โดยไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตาย
ว. บิดาโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ว. ตายโดยไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตายตามมาตรา 5 (2) โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานจึงไม่มีอำนาจจัดการแทน ว. ฟ้องจำเลยได้ ปรากฏว่า ว. เพียงแต่ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้น ยังไม่ได้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 29 ที่โจทก์จะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ โจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย และเมื่อ ว. ตายสิทธิที่ ว. ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อเจ้าพนักงานตำรวจไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 เพราะการฟ้องคดีต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. เมื่อโจทก์ไม่ได้เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) เสียแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้สืบสันดานผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องแทนหากผู้เสียหายไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตาย
ว. บิดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลยถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ถูกทำร้ายถึงตายตามมาตรา 5 (2) โจทก์ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานจึงไม่มีอำนาจจัดการแทน ว. ฟ้องจำเลยได้ เมื่อ ว. เพียงแต่ร้องทุกข์โดยยังไม่ได้ฟ้องคดี ย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 29 ที่โจทก์จะดำเนินคดีต่าง ว. ผู้ตายต่อไปได้ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4873/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดีอาญาจากเหตุบรรเทาโทษและแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับความผิดฐานมีอาวุธปืน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกออโตเมติก ขนาด 9 มม. เครื่องหมายทะเบียน นว 7/7717 พร้อมซองกระสุนปืนจำนวน 1 กระบอก และกระสุนปืนขนาด .380 จำนวน 10 นัด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นจำเลยมีความผิดฐานนี้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นการลงโทษสำหรับกรณีที่อาวุธปืนซึ่งมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จึงเป็นคำพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นการลงโทษสำหรับกรณีที่อาวุธปืนซึ่งมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จึงเป็นคำพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง