พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่ง: ดุลพินิจศาลคำนึงถึงความได้เปรียบเสียเปรียบในการดำเนินคดี
การที่โจทก์จะถอนฟ้องคดีแพ่งหรือไม่ เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าสมควรจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้หรือไม่ โดยให้ศาลคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดีเท่าที่ต่างดำเนินคดีต่อสู้กันมา
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบเพื่อเป็นการสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อเถียงตามคำให้การของฝ่ายตนโดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีหลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นนัดที่โจทก์ทั้งห้าขอถอนฟ้องซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวทั้งโจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสามได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบเพื่อเป็นการสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อเถียงตามคำให้การของฝ่ายตนโดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีหลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นนัดที่โจทก์ทั้งห้าขอถอนฟ้องซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวทั้งโจทก์ทั้งห้าและจำเลยทั้งสามได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความทางแพ่งไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 352 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยที่ศาลแรงงานเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมผ่อนชำระหนี้เงินให้แก่ผู้เสียหายเป็นงวด ๆ หากจำเลยผิดนัดชำระงวดใด งวดหนึ่ง ยอมให้ผู้เสียหายบังคับคดีได้ทันที และผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดจากจำเลยอีก สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ซึ่งไม่มีข้อตกลงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา และการรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยที่ศาลแรงงานเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อผู้เสียหาย ซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมผ่อนชำระหนี้เงินให้แก่ผู้เสียหายเป็นงวด ๆ หากจำเลยผิดนัดชำระงวดใด งวดหนึ่ง ยอมให้ผู้เสียหายบังคับคดีได้ทันที และผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดจากจำเลยอีก สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ซึ่งไม่มีข้อตกลงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4421/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาใหม่ จำเลยต้องแสดงเหตุจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
การที่จำเลยซึ่งขาดนัดพิจารณา อ้างว่าไม่ทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหมายนัดพิจารณาตลอดจน คำบังคับซึ่งส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลย เพราะเหตุไปค้าขายที่ต่างจังหวัดนั้น มิใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับวินิจฉัยให้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบป.วิ.อ.มาตรา 15
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 326, 328 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ. จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิงธ. โจทก์กับจำเลยที่ 2ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่า ตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไป ศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แม้โจทก์จะผิดข้อตกลงไม่ไปดำเนินการถอนฟ้องให้ก็ตาม แต่ข้อความที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแสดงให้เห็นโดยปริยายว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2 ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวยข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง มิใช่แต่เพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้นไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 326, 328 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ. จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิงธ. โจทก์กับจำเลยที่ 2ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่า ตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว และจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไป ศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แม้โจทก์จะผิดข้อตกลงไม่ไปดำเนินการถอนฟ้องให้ก็ตาม แต่ข้อความที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแสดงให้เห็นโดยปริยายว่า โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2 ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวยข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง มิใช่แต่เพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้นไม่ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวได้ หากเจตนาครอบคลุมถึงผู้เกี่ยวข้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิเมื่อโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับวินิจฉัยให้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
ก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326,328 เป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ.จำเลยที่ 2ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิง ธ.โจทก์กับจำเลยที่ 2 ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่าตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวและจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไปศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แสดงให้เห็นโดยปริยายว่าโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326,328 เป็นคดีนี้ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีแพ่งขอให้บังคับจำเลยยินยอมให้โจทก์ไปติดต่อและพบเด็กหญิง ธ.จำเลยที่ 2ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์ติดต่อหรือพบกับเด็กหญิง ธ.โจทก์กับจำเลยที่ 2 ก็ได้ยอมความกันในคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาตามยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาว่า "โจทก์แถลงว่าตามที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ โจทก์จะไปดำเนินการถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวและจะทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอถอนเรื่องที่ร้องเรียนไว้ต่อไปศาลจึงบันทึกไว้เป็นสำคัญ" แสดงให้เห็นโดยปริยายว่าโจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 2ยินยอมระงับข้อพิพาทในคดีอาญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 และบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีดังกล่าวด้วยดังนี้ย่อมแสดงชัดว่าเป็นการยอมความกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2โดยชอบด้วยกฎหมาย และสำหรับจำเลยที่ 1ซึ่งถูกฟ้องในมูลความคดีเดียวกันกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากเป็นผู้บันทึกข้อความดังกล่าวลงในบัตรตรวจโรค จำเลยที่ 1 ก็คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นเอง เมื่อเจตนารมณ์ของคู่ความชี้ชัดว่าโจทก์ยอมความกับจำเลยที่ 2 โดยประสงค์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยจึงเป็นการแสดงเจตนาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ จึงไม่สามารถเป็นจำเลยร่วมได้
ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) หมายความว่าผลของคดีตามกฎหมายเป็นผลไปถึงตนโดยเป็นผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนหรือถูกบังคับโดยคำพิพากษาในคดีโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด หากโจทก์ชนะคดีผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีคือจำเลยที่ 1 โดยกรรมการ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหามีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาไม่ การที่ผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าร่วมประชุมและลงมติขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อนำสืบให้ศาลทราบว่าการประชุมดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจขอให้จำเลยทั้งสี่นำผู้ร้องและพยานหลักฐานที่ผู้ร้องมีเข้านำสืบอ้างส่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยได้ หาจำต้องร้องเข้ามาด้วยไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด หากโจทก์ชนะคดีผู้มีหน้าที่ต้องจัดการต่อไปตามผลของคดีคือจำเลยที่ 1 โดยกรรมการ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหามีหน้าที่ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ ต่อผลของคำพิพากษาไม่ การที่ผู้ร้องอ้างว่าได้เข้าร่วมประชุมและลงมติขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อนำสืบให้ศาลทราบว่าการประชุมดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจขอให้จำเลยทั้งสี่นำผู้ร้องและพยานหลักฐานที่ผู้ร้องมีเข้านำสืบอ้างส่งเป็นพยานฝ่ายจำเลยได้ หาจำต้องร้องเข้ามาด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีแพ่งไม่ทำให้คดีอาญาที่เกี่ยวข้องระงับ หากไม่มีการตกลงยุติการดำเนินคดีอาญา
คำว่า "ยอมความกัน" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) หมายถึงการยอมความในทางอาญาเท่านั้น มิได้หมายความว่าเมื่อมีการยอมความกันไม่ว่าจะในเรื่องใดแล้ว จะทำให้คดีอาญาต้องระงับไปด้วย เมื่อยังไม่มีข้อตกลงให้ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ค สิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทและฟ้องเป็นคดีอาญาขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่ง โดยมีข้อความระบุว่าไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญา หากจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ โจทก์ยังประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุด ดังนี้ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งย่อมทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น หนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพัน และเมื่อหนี้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา คดีจึงเป็นอันเลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปด้วย และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปนี้ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องที่คู่สัญญาจะทำสัญญาหรือตกลงกันไม่ให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปได้ ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุไม่ให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไป จึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้งและตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารและการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อพยานในคดีแพ่ง
เอกสารซึ่งเป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ครบตามแบบ ที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว