คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความจำเป็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: กรณีถูกทำร้ายด้วยอาวุธร้ายแรงกว่า
จำเลยถามผู้ตายเรื่องชำเราเด็กและทวงเงิน ผู้ตายใช้มีดจะแทงจำเลย จำเลยใช้ไม้ตีไปที่หน้าผู้ตาย 1 ที ผู้ตายล้มลงแล้วโงเงขึ้นมาจะแทงจำเลยอีก จำเลยจึงตีถูกที่หน้าผู้ตายอีก 1 ที ผู้ตายล้มลงศรีษะฟาดกับหินถึงแก่ความตาย เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเองและทรัพย์สินในที่อยู่อาศัยเมื่อถูกบุกรุกจนเกิดเหตุทำร้ายถึงแก่ความตาย
คืนเกิดเหตุ ม. พาผู้ตายมาบ้านจำเลยเพื่อเอาตัว ป.ภริยา ม. ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยไป ได้พากันขึ้นไปบนเรือนจำเลยซึ่งจำเลยกับพวกนอนกันแล้ว ม. เรียก ป. ให้เปิดประตูป. ไม่เปิด ม. ก็ดันประตูจะเข้าไปจำเลยลุกขึ้นขัดขวาง ม. และผู้ตายขัดขืนจะเข้าไปเอาตัว ป. ให้ได้ ดันประตูเรือนจนไม้กลอนขัดประตูหัก นับว่า ม. และผู้ตายกระทำการมิชอบ ด้วยความอุกอาจปราศจากความยำเกรงจำเลยซึ่งเป็นพ่อตาและเจ้าของบ้านเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจำเลยบันดาลโทสะขึ้นในขณะนั้นจึงยิงไปยัง ม. และผู้ตายผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินบริคณห์เพื่อชำระหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยึดทรัพย์สินบริคณห์แปลงเดียวที่เหลืออยู่เพื่อชำระหนี้ไม่ถือเป็นการยึดเกินความจำเป็น
หนี้ตามคำพิพากษาประมาณ 2,500 บาท เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดที่ดินราคา 40,000 บาท ที่ดินนี้เป็นสินบริคณห์ของจำเลยกับผู้ร้อง และเป็นทรัพย์สินชิ้นเดียวของจำเลยที่ไม่มีกรณีพิพาท ส่วนทรัพย์อื่นกำลังเป็นคดีพิพาทกันทั้งสิ้น การยึดนี้ไม่เป็นการยึดทรัพย์เกินความจำเป็น (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากลักทรัพย์เป็นทำลายทรัพย์สิน: จำเลยฎีกาไม่ได้ และต้องมีเหตุความจำเป็นหรือยากจน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) จำเลยฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
การกระทำผิดตามมาตรา 335 จะลงโทษตามมาตรา 334 ได้ มิใช่ทรัพย์มามีราคาเล็กน้อยอย่างเดียว ผู้กระทำต้องกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทานเป็นหลักประกอบด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์บังคับคดีเกินความจำเป็นและเจตนาของเจ้าหนี้: หลักเกณฑ์การรับผิดค่าธรรมเนียม
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาล โดยจำเลยที่ 1 ยอมใช้เงินแก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ยอมรับประกัน ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยผิดนัด โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน โดยก่อนจะยึดก็ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ขณะทำการยึดเจ้าพนักงานปิดประกาศหมายยึด จำเลยที่ 2 ก็ฉีกทำลายเสีย ทั้งได้ความว่าจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์ให้ยึดจริง เช่นนี้ คดีจึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์แกล้งยึดโดยไม่สุจริต หรือเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอย่างใดไม่ ฉะนั้น แม้จะมีการชำระหนี้ภายหลังครบถ้วนแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมการยึดที่ไม่มีการขายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินเกินความจำเป็น ผู้ผิดพลาดต้องดำเนินการคัดค้านตั้งแต่แรก
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 34,000 บาทเศษ และดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีในเงินต้น 30,000 บาท จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเลย เจ้าพนักงานจึงต้องยึดที่ทั้งแปลงราคาประมาณ 100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยจะได้ผ่อนชำระหนี้ไปถึง 35,000 บาท หากจำเลยเห็นว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดสวนยางของจำเลยทั้งแปลงมากเกินความจำเป็น ก็ชอบที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานแบ่งยึดแต่พอควร หากจำเลยเห็นควรแบ่งขายให้พอดีกับหนี้สินที่ค้าง จำเลยก็น่าจะได้แถลงให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ในวันขายจำเลยได้มอบให้ทนายความมาระวังผลประโยชน์ของจำเลย ทนายความมิได้ทักท้วงในเรื่องนี้ แสดงว่าทนายจำเลยก็เห็นชอบด้วย จะยกเป็นเหตุคัดค้านเมื่อขายทอดตลาดสำเร็จแล้วย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินชลประทาน: สาธารณสมบัติ ปักหลักเกินแนวเดิมได้ หากมีเหตุผลและความจำเป็น
กรมชลประทานปักหลักกันเขตที่ดินเพื่อใช้ในการชลประทานแม้จะปักเกินเขตที่กำหนดไว้ในประกาศกระแสพระบรมราชโองการเรื่อง ขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับการทดน้ำ ไขน้ำฯลฯ เพราะดินเหลว ต้องใช้เนื้อที่มากกว่ากำหนดถ้าที่ดินตอนใดมีเจ้าของก็จ่ายเงินซื้อแล้วจึงปักหลักตอนใดไม่มีเจ้าของก็ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อดังนี้ต้องถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) โดยไม่ต้องมีกฎหมายพิเศษให้อำนาจอีกผู้ใดจะบุกรุกและยกอายุความการครอบครองขึ้นยันกรมชลประทานไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอทางผ่านที่ดิน: พิจารณาความจำเป็นและผลกระทบต่อเจ้าของที่ดิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรค 3 ที่บัญญัติว่า ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป้น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้นั้น ความพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิขอผ่านจะมีแค่ไหน เพียงไร เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความจำเป็นในการสร้างทางผ่านตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1349 วรรค 3
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรค 3 ที่บัญญัติว่าที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ ให้เสียหายน้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้นั้นความพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน จะมีแค่ไหนเพียงไร เป็นข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-327/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมผู้ต้องหาในคดีคอมมิวนิสต์: ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ต้องไม่เกินความจำเป็นและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ให้อำนาจควบคุมผู้ต้องหาในกรณีกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ฯ ได้เท่าที่จำเป็นแก่การสอบสวนเท่านั้น ไม่ใช่ให้ควบคุมโดยไม่มีกำหนด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วางหลักเป็นประกันเสรีภาพของประชาชนไว้ 2 ตอน ตอนต้นว่า จะควบคุมตัวผู้ต้องหาเกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่ได้ตอนที่สองว่า ความจำเป็นดังกล่าว จะจำเป็นเพียงใดก็ตามก็จะควบคุมเกินกว่ากำหนดเวลาดังบัญญัติไว้ไม่ได้
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 เป็นการแก้ไขและขยายระยะเวลาขั้นสูงดังกำหนดไว้ในมาตรา 87 ไม่ได้ยกเลิกหลักใหญ่ของมาตรานี้ที่ให้ควบคุมผู้ต้องหาได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2505)
of 17