คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน และความยินยอมของคู่สมรสในสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
กฎหมายมิได้บัญญัติว่า ถ้าสามีฟ้องคดีจะต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อนทุกกรณี คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1476 สำหรับคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม2532 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ก่อนแก้ไขในปี 2533 ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรส ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน" ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. และ ป.มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย นิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.หรือไม่ ถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้น ทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1480 ที่แก้ไขแล้วในปี 2533 จึงยังไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หากไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นสินสมรส ศาลต้องสืบพยาน
คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476 จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันจึงไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย คดีมี ประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. หรือไม่และถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป. ได้ให้ความยินยอมในการทำ สัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ซึ่งโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่8ธันวาคม2532จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ก่อนแก้ไขในปี2533การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดชี้สองสถานและ งดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาคดีไปนั้นเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดและเป็นการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ที่แก้ไขแล้วในปี2533จึงยังไม่ถูกต้องศาลชั้นต้นต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. หรือไม่และ ป. ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่แล้วจึงพิพากษาตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส และผลของการไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสในการทำนิติกรรม
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าถ้าสามีฟ้องคดีจะต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อนทุกกรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476สำหรับคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่8ธันวาคม2532จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ก่อนแก้ไขในปี2533ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรสถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งนิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน"ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป. และป. มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะชายนิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป.หรือไม่ถ้าเป็นสินสมรสแล้วป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้นทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ที่แก้ไขแล้วในปี2533จึงยังไม่ถูกต้องกรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักเงินจากบัญชีหลังคำสั่งอายัด - เจ้าหนี้บุริมสิทธิ vs. สิทธิจากความยินยอม - การบังคับคดี
ผู้ร้องเพิ่งจะมีสิทธิใช้สิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยมาชำระหนี้ของจำเลยที่มีแก่ผู้ร้องหลังจากวันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งอายัดจากศาลและสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวเป็นสิทธิอันเกิดจากความยินยอมของจำเลยที่ให้ไว้ในการฝากเงินตามปกติผู้ร้องหาใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่จึงไม่มีสิทธิจะหักเงินจากบัญชีของจำเลยภายหลังได้รับแจ้งคำสั่งอายัดจากศาลแล้วเพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา311วรรคสาม สำหรับฎีกาของผู้ร้องที่ว่าศาลควรจะมีคำสั่งไต่สวนคำร้องของผู้ร้องก่อนมีคำสั่งนั้นเมื่อผู้ร้องมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์มาก่อนจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาว่าศาลล่างทั้งสองสั่งให้ผู้ร้องส่งเงินตามที่อายัดจำนวน4,471,719.19บาทเป็นคำสั่งไม่ชอบเพราะผู้ร้องใช้สิทธิหักเงินไว้เพียง940,126.67บาทส่วนเงินของจำเลยที่มีอยู่ในบัญชีอีก2,155,330.76บาทผู้ร้องจัดส่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วนั้นแม้ผู้ร้องพึ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนผู้ร้องจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่ยินยอมให้กรอกข้อความเพิ่มเติม ถือเป็นเอกสารปลอมและทำให้สัญญาที่ทำขึ้นโดยอาศัยเอกสารนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์เพียงแต่ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจในช่องผู้มอบอำนาจเพียงชื่อเดียวโดยมิได้กรอกข้อความหรือยินยอมให้ผู้อื่นกรอกข้อความใดๆลงไปเมื่อมีการกรอกข้อความโดยที่มิได้รับความยินยอมจากโจทก์จึงเป็นการปลอมเอกสารหนังสือมอบอำนาจและหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินซึ่งทำขึ้นโดยอาศัยใบมอบอำนาจดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะโจทก์สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา119เดิมไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และผลกระทบต่อผู้รับโอนที่ไม่สุจริต
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อ พ.ศ.2529 อันเป็นเวลาภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นสินบริคณห์ แต่เป็นสินสมรสตามบทบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1476 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 มาตรา 10 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำนิติกรรมนั้น และเมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 1480 และการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวจะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนโจทก์หาได้ไม่ แต่เมื่อโจทก์ขอมาเพียงเฉพาะส่วนของโจทก์เท่านั้นศาลก็มิอาจพิพากษาให้เกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และการเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์และจำเลยที่1ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อพ.ศ.2529อันเป็นเวลาภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้วที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นสินบริคณห์แต่เป็นสินสมรสตามบทบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์และจำเลยที่1ได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรสการที่จำเลยที่1โอนขายที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยที่1เป็นเจ้าของแก่จำเลยที่2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1476(1)ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่10)พ.ศ.2533มาตรา10อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำนิติกรรมนั้นและเมื่อจำเลยที่2รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา1480และการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวจะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมดจะเพิกถอนเฉพาะส่วนโจทก์หาได้ไม่แต่เมื่อโจทก์ขอมาเพียงเฉพาะส่วนของโจทก์เท่านั้นศาลก็มิอาจพิพากษาให้เกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฎในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหะสถาน แม้ได้รับความยินยอมจากบุตรสาว ก็ยังถือเป็นความผิด
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้ห้ามปรามไม่ให้จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์ร่วมอีก การที่จำเลยยังฝ่าฝืนเข้าไปในบ้านโจทก์ร่วม แม้จะได้รับความยินยอมจากนางสาว น. บุตรสาวโจทก์ร่วมก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถาน แม้ได้รับความยินยอมจากผู้อื่น แต่เจ้าของบ้านเคยห้ามปรามไว้ ถือเป็นเหตุบุกรุก
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้ห้ามปรามไม่ให้จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์ร่วมอีกการที่จำเลยยังฝ่าฝืนเข้าไปในบ้านโจทก์ร่วมแม้จะได้รับความยินยอมจากนางสาวน. บุตรสาวโจทก์ร่วมก็ตามถือได้ว่าเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดต่อผู้เสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้ไม่ได้ฟ้องผู้เอาประกันภัย หากผู้ขับขี่ได้รับความยินยอม
ผู้เสียหายซึ่งเป็น บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัย เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนให้รับผิดปรากฏว่าจำเลยที่1ได้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่3รับประกันภัยไว้โดย ได้รับ ความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์จึงต้องถือว่าจำเลยที่1กระทำละเมิดเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยกระทำละเมิดเอง ผู้รับประกันภัยจึง ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่1 ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887วรรคสองบัญญัติให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้นก็เป็นประโยชน์เพื่อจะได้พิจารณา ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้นหาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้นหาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายและทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่
of 57