คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิดนายจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างและผลกระทบจากผู้โดยสารไม่มีค่าโดยสาร
คนขับรถใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถแทน คนขับมีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้รถคว่ำ และบุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย คนขับจะต้องรับผิดในการละเมิดที่เกิดขึ้น เหตุที่เกิดการละเมิดนี้อยู่ในกรอบกิจการที่จ้าง นายจ้างจะต้องร่วมรับผิดด้วย แม้คนตายจะโดยสารรถโดยไม่ได้ชำระค่าโดยสาร ก็ไม่เป็นเหตุให้นายจ้างพ้นความรับผิด เมื่อทรัพย์สินของผู้ตายสูญหายไปซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการที่ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างจะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และข้อยกเว้นค่าอุปการะเลี้ยงดู
กรมกองต่าง ๆ ซึ่งสังกัดในกระทรวง แม้จะมีการแบ่งแยกงานเป็นสัดส่วนก็ถือว่าเป็นงานของกรมนั้น ๆ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์ในราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2 แม้ในวันเกิดเหตุจะเป็นวันอาทิตย์หยุดราชการก็ตาม หากปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเอารถยนต์ซึ่งได้รับอนุญาตให้ยืมไปแล้ว ถือได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้าง เมื่อมีการละเมิดเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดชอบ
เมื่อโจทก์มีอายุบรรลุนิติภาวะและมีสามีแล้วและไม่ได้ความว่าเป็นผู้ทุพพลภาพ หาเลี้ยงตนเองมิได้ ก็ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และหน้าที่ระมัดระวังทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
แพซุงของจำเลยขาดลอยตามน้ำที่ไหลเชี่ยว ไปกระทบเสาเรือนโจทก์เสียหายแม้โจทก์จะไม่มีพยานสืบว่า เป็นเพราะเหตุใดแพจึงขาดจำเลยก็ต้องรับผิด เพราะเป็นหน้าที่จำเลยจะต้องระวังรักษาไม่ให้แพซุงขาดลอยไปตามกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว
จ้างคนดูแลรักษาแพซุง มีหนังสือสัญญารับฝากให้ค่าจ้างเฝ้าเป็นรายเดือน เป็นการจ้างแรงงาน นายจ้างต้องรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7379/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นนอกประเด็น: ศาลวินิจฉัยความรับผิดนายจ้างเกินขอบเขตที่จำกัดโดยประเด็นชี้สองสถาน
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ผู้ที่กระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ โดยไม่มีคู่ความโต้แย้งในการกำหนดประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นก้าวล่วงไปวินิจฉัยว่าจำเลยในฐานะตัวการต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนกระทำต่อโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างขณะขับรถ แม้หลังเลิกงาน หากยังไม่ได้ส่งคืนรถ
ความหมายของคำว่า "ในทางการที่จ้าง" มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในเวลาทำงานของนายจ้างหรือระหว่างเวลาที่ต่อเนื่องคาบเกี่ยวใกล้ชิดกันกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างดังที่จำเลยที่ 3 กล่าวอ้างมาเท่านั้น หากแต่เมื่อลูกจ้างที่มีหน้าที่ขับรถและได้กระทำไปในทางการที่จ้างแล้ว หลังจากนั้นแม้ลูกจ้างจะได้ขับรถไปทำธุรกิจส่วนตัวหรือประการใดก็ตาม ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้นำรถกลับคืนสู่ความครอบครองของนายจ้าง ก็ยังคงถือว่าอยู่ในระหว่างทางการที่จ้างหรือต่อเนื่องกับทางการที่จ้างซึ่งนายจ้างยังคงต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ดังนั้น แม้ขณะเกิดเหตุคดีนี้จะเป็นเวลา 2 นาฬิกา นอกเวลาทำงานปกติและ ว. ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุออกไปเที่ยว ก็ถือได้ว่า ว. ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดของ ว. นั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าการกระทำละเมิดเกิดขึ้นในทางการที่นายจ้างว่าจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 แต่การที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 จะต้องได้ความว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จำเลยที่ 2 ว่าจ้างเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏไว้เลยว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จำเลยที่ 2 ว่าจ้างหรือไม่ อย่างไร ในอันที่จะให้จำเลยที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถือว่าฟ้องโจทก์ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในอันที่จะให้จำเลยที่ 2 รับผิด กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17440/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง: การกระทำในทางการที่จ้าง และการยอมรับความรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถบรรทุกเฉี่ยวชนรถโดยสารของโจทก์ได้รับความเสียหายแม้ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา 20 นาฬิกา แต่จำเลยที่ 1 ยังคงสวมใส่ชุดทำงาน ในวันรุ่งขึ้นจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 3 ไปพบพนักงานสอบสวนกับจำเลยที่ 1 โดยมิได้ปฏิเสธความรับผิดว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 แต่กลับยอมรับต่อตัวแทนฝ่ายโจทก์และพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และยังร่วมเจรจาต่อรองค่าเสียหายโดยไม่ได้แจ้งหรือแสดงพฤติการณ์ใดให้เห็นว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 2 รับโดยปริยายแล้วว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการที่ยินยอมเสนอเงินชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นเพียงลูกจ้างรายวันและขณะเกิดเหตุจะล่วงเลยเวลาทำงานตามปกติของจำเลยที่ 1 แล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเมื่องานที่ทำเป็นกิจการของนายจ้าง จึงเป็นการปฏิบัติงานในทางการที่จ้างที่จำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้าง และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัดความรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ห้างก่อให้เกิดขึ้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197-199/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 5(3) กรณีเหมาค่าแรง ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามสัญญาจ้างเดิม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 (3) กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการที่ได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรง โดยมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานและรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างอีกทอดหนึ่งก็ดี หรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างดังกล่าวด้วย หมายความว่า เมื่อนายจ้างผู้รับเหมาค่าแรงไปจ้างลูกจ้างให้มาทำงานให้แก่ผู้ประกอบกิจการ โดยงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการก็ถือว่าผู้ประกอบกิจการนั้นเป็นนายจ้างด้วย ซึ่งมีผลว่า หากผู้รับเหมาค่าแรงมีนิติสัมพันธ์ต่อลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานเท่าใด ผู้ประกอบกิจการก็ต้องรับผิดต่อลูกจ้างนั้นตามสัญญาที่นายจ้างผู้รับเหมาค่าแรงทำไว้กับลูกจ้างเท่านั้น เนื่องด้วยกฎหมายมุ่งคุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับสิทธิพึงมีพึงได้ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ผู้รับเหมาค่าแรงมีต่อลูกจ้าง แต่จะขอให้บังคับให้ผู้ประกอบกิจการรับผิดและให้ผูกพันดังเช่นลูกจ้างของผู้ประกอบกิจการที่ได้จ้างลูกจ้างนั้นโดยตรงหาได้ไม่ เพราะลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ประกอบกิจการนั้นโดยตรงตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่มาตรา 5 (3) ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการนั้นเป็นนายจ้างของลูกจ้างนั้นด้วยเท่านั้น ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามเกินกว่าที่นายจ้างของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับเหมาค่าแรงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสาม และเมื่อโจทก์ทั้งสามได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน ตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างผู้รับเหมาค่าแรงแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยจัดให้โจทก์ทั้งสามได้หยุดพักผ่อนประจำปีหรือได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้มากกว่านี้อีก
of 10