พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดภรรยาต่อหนี้สามีหลังใช้พ.ร.บ.บรรพ 5: พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่สามีไปก่อหนี้ขึ้นระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาและภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแค่ไหนเพียงใดนั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 4 แต่เป็นปัญหาที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกร่วมกับสามีต่างหาก จะเทียบกับเรื่องแบ่งสินสมรสก็ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นเรื่องภายใน ไม่ได้เกี่ยวข้องถึงความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายเก่าสามีไปก่อหนี้ขึ้นเมื่อใช้บรรพ 5 แล้วการที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ตามกฎหมายเก่า
หนี้ซึ่งก่อขึ้นระหว่างสมรสจะถือว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาได้ก็ต้องเป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1482 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายเก่าสามีไปก่อหนี้ขึ้นเมื่อใช้บรรพ 5 แล้วการที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ตามกฎหมายเก่า
หนี้ซึ่งก่อขึ้นระหว่างสมรสจะถือว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาได้ก็ต้องเป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1482 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมจากการละเมิดและสิทธิของโจทก์ร่วม รวมถึงการแบ่งความรับผิดตามพฤติการณ์
ความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดครั้งเดียวกันนั้นอาจเกิดจากหลายคนกระทำขึ้นก็ได้และศาลอาจกำหนดความรับผิดให้ฝ่ายหนึ่งรับผิดในเรื่องค่าสินไหมทดแทนหนักกว่าอีกผ่ายหนึ่งก็ได้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิดที่ต่างได้ทำลง
ภรรยาและบุตรของผู้ตายในการละเมิดอาจเข้าเป็นโจทก์ร่วมฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีเดียวกันได้เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกันในคดี
นายจ้างและผู้ขับรถยนต์ทั้งสองฝ่ายที่ขับรถยนต์ชนกันเป็นเหตุให้คนตายก็อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกันได้ เพราะทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกัน
แม้ว่าจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่เต็มตามฟ้องแต่ศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุสมควรและโจทก์มิได้แกล้งเรียกร้องค่าเสียหายมาเกินสมควรศาลก็อาจสั่งให้จำเลยใช่ค่าธรรมเนียมค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามจำนวนที่โจทก์เสียไปตามฟ้องก็ได้
ภรรยาและบุตรของผู้ตายในการละเมิดอาจเข้าเป็นโจทก์ร่วมฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีเดียวกันได้เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกันในคดี
นายจ้างและผู้ขับรถยนต์ทั้งสองฝ่ายที่ขับรถยนต์ชนกันเป็นเหตุให้คนตายก็อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกันได้ เพราะทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกัน
แม้ว่าจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่เต็มตามฟ้องแต่ศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุสมควรและโจทก์มิได้แกล้งเรียกร้องค่าเสียหายมาเกินสมควรศาลก็อาจสั่งให้จำเลยใช่ค่าธรรมเนียมค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามจำนวนที่โจทก์เสียไปตามฟ้องก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628-1630/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้างที่จ้างเหมา: สัญญาจ้างแรงงาน, การควบคุม, ความรับผิดร่วม
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างผู้มีชื่อมาเป็นผู้ขับรถยนต์ และจัดการเดินรถยนต์ของจำเลยที่ 1 โดยผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติงานในความควบคุมหรือตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ส่วนค่าใช้จ่าย ก็ดีกำไรขาดทุนก็ดีเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเป็นแต่รับค่าจ้างเป็นก้อนไปเท่านั้น ดังนี้ ย่อมถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ฉะนั้นการที่ผู้รับจ้างไปจ้างจำเลยที่ 2 มาเป็นคนประจำรถด้วยความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างแล้ว ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย ดุจเดียวกับผู้มีชื่อนั้นเอง จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีชื่อในผลแห่งละเมิดที่กระทำไปในทางการรที่จ้างฉันท์ใด จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 กระทำไปในทางการที่จ้างฉันท์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในคดีทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บสาหัส และการเป็นตัวการ
ศาลชั้นต้นพิพากษษลงโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.256 จำคุกคนละ 2 ปี แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดตามมาตรา 254 จำคุก 1 ปี 6 เดือน และ 1 ปี ดังนี้ เป็นการแก้ไขมา โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
สองคนต่างลงมือทำร้ายผู้เสียหายถึงบาดเจ็บสาหัส แม้ไม่ทราบว่าบาดแผลที่สาหัสนั้นเป็นเพราะคนใดทำร้ายแน่ ก็ถือได้ว่า เป็นเพราะผลแห่งการกระทำทั้งสองคนนั้น คนทั้งสองนั้นจึงต่างเป็นตัวการตาม ก.ม.อาญา ม.63 - 256
สองคนต่างลงมือทำร้ายผู้เสียหายถึงบาดเจ็บสาหัส แม้ไม่ทราบว่าบาดแผลที่สาหัสนั้นเป็นเพราะคนใดทำร้ายแน่ ก็ถือได้ว่า เป็นเพราะผลแห่งการกระทำทั้งสองคนนั้น คนทั้งสองนั้นจึงต่างเป็นตัวการตาม ก.ม.อาญา ม.63 - 256
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำทำนบ: การปฏิบัติตามสัญญา การรับมอบ และความรับผิดร่วม
ฟ้องเรียกค่าจ้างทำทำนบปิดปากห้วยตามสัญญา คู่สัญญาโต้เถียงกันข้อเดียวว่าทำถูกต้องตามสัญญาหรือไม่ และ+การก็มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องดั่งนี้ ศาลไม่ควรยกประเด็นเรื่องทำโดยไม่ได้ขออนุญาตมาตัดสิน. ผู้จ้างเพียงบางคนได้ลงชื่อรับ+การสร้างทำนบ ย่อมผูกมัดผู้จ้างคนอื่น ๆ ซึ่งมีชื่อในสัญญาจ้างด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของสามีภรรยาจากหนี้สินบริคณห์ที่ภรรยาทำโดยได้รับอนุญาตจากสามี
ภรรยาได้รับมอบหมายโดยพินัยกรรมให้เป็นผู้รักษาทรัพย์ไว้แทนผู้เยาว์ โดยสามีได้ร่วมรู้เห็นด้วยต้องถือว่าสามีอนุญาตให้ภรรยาทำการอันเป็นการผูกพันสินบริคณห์ ซึ่งสามีภรรยาจะต้องร่วมกันรับผิดใช้หนี้จากสินบริคณห์
การที่ภรรยาได้รับมอบหมายโดยพินัยกรรมให้จัดการทรัพย์สินโดยสามีได้รู้เห็นยินยอมด้วยนี้ ไม่ใช่หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกันหรือหนี้สามีภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบันตามประมวลแพ่งฯ ม.1482 (3)(4)
การที่ภรรยาได้รับมอบหมายโดยพินัยกรรมให้จัดการทรัพย์สินโดยสามีได้รู้เห็นยินยอมด้วยนี้ ไม่ใช่หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกันหรือหนี้สามีภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบันตามประมวลแพ่งฯ ม.1482 (3)(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเรียกคืนทรัพย์จากผู้ซื้อที่ได้มาโดยมิชอบ และความรับผิดร่วมในความเสียหาย
สิทธิในการจำหน่ายทรัพย์ย่อมตกอยู่แก่ผู้เป็นเจ้าของเท่านั้น แลเจ้าของย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สินของตนจากบุคคลไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ด้วยบุคคลที่ซื้อทรัพย์ซึ่งมีผู้ + แล้วเอามาขายให้ด้วยความสุจริต จำต้อง+ใช้ราคาทรัพย์นั้นแก่ของเว้นแต่จะเข้ามาตรา 1332 ที่ร่วมกันทำละเมิดจำรับผิดใช้ค่าเสียหายเช่น + ลูกหนี้ร่วมกัน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย+กฎหมายที่ไม่เป็นประเด็น+ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดร่วมในความผิดฐานลักทรัพย์กับปล้นทรัพย์: การกระทำหลังสมคบร่วม
3 คนไปลักทรัพย์ด้วยกันคนหนึ่งเงื้อมีดขู่เจ้าทรัพย์ที่ติดตามมา เมื่อ 2 คนหนีไปแล้วเช่นนี้ ยังไม่มีผิดฐานปล้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196-197/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของลูกหนี้: ข้อแตกต่างระหว่างผู้ซื้อร่วมกับผู้ค้ำประกัน
ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมกัน ประมวลแพ่ง ม.291,297 อย่างไรจึงจะเข้าหลักค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8180/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วม ละเมิด-สัญญาซื้อขาย: โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลย แล้วรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยได้เพียงครึ่งหนึ่ง
ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 8305/2549 ระบุว่าให้โจทก์รับผิดในมูลหนี้ละเมิดและจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดในมูลหนี้สัญญาซื้อขาย แต่ บ. ขอให้โจทก์ร่วมรับผิดในค่าเสียหายจำนวนเดียวกันกับที่ บ. ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องรับผิดต่อ บ. จึงถือเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 ซึ่งบัญญัติให้โจทก์ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ด้วย ซึ่งตามคำพิพากษาดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดแก่ บ. ส่วนจำเลยทั้งสามแต่ละคนต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้สัญญาซื้อขายแก่ บ. เพียงแต่ค่าเสียหายที่ บ. เรียกจากโจทก์และจำเลยทั้งสามนั้นเป็นจำนวนเดียวกันถือเป็นหนี้อันจะแบ่งกันชำระมิได้ จึงมีผลให้ความรับผิดของโจทก์กับจำเลยแต่ละคนต่อ บ. เป็นอย่างลูกหนี้ร่วมในค่าเสียหายจำนวนเดียวกัน แต่ไม่ได้ทำให้ความรับผิดของโจทก์ในมูลหนี้ละเมิดต่อ บ. หมดไป โจทก์ยังคงมีความรับผิดต้องชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดแก่ บ. ตามส่วนของตน การที่โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่ บ. เต็มจำนวนที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการชำระหนี้มูลละเมิดของโจทก์ที่มีต่อ บ. ครึ่งหนึ่งและชำระหนี้มูลสัญญาซื้อขายของจำเลยทั้งสามที่มีต่อ บ. ครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิของ บ. ที่จะไล่เบี้ยจากจำเลยทั้งสามได้เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่โจทก์ชำระไป