คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความสงบเรียบร้อย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 334 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดทางอาญา: มาตรา 140 วรรคสาม ต้องพิจารณาโทษหนักกว่าวรรคหนึ่ง/สอง
ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 140วรรคสาม โดยไม่ปรับบทตามมาตรา 138 วรรคสอง และมาตรา 140 วรรคแรกด้วยนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 140 วรรคสาม มิได้บัญญัติความผิดไว้ชัดแจ้งในตัวและการไม่ปรับบทว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 140 วรรคแรก หรือวรรคสองย่อมไม่ทราบว่าจำเลยต้องระวางโทษหนักกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่งของมาตรา140 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์เกิน & ประเด็นใหม่, ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12)พ.ศ. 2534 มาตรา 18 ปัญหาว่า บิดาโจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)และครอบครองต่อเนื่องตลอดมา เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 ทางราชการหรือประชาชนจะกล่าวอ้างว่าเป็นหนองน้ำสาธารณะใช้ประโยชน์ร่วมกันหาได้ไม่ เป็นฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม บัญญัติบังคับไว้ว่าฟ้องแย้งนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จากบทบัญญัติดังกล่าว หากคำฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม แม้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องนั้นไว้เป็นฟ้องแย้งก็เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้โจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งขึ้นมาก็ตาม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการสร้างประตูเหล็ก 2 บาน ปิดกั้นซอยทางเข้าออกระหว่างซอยกับโกดังเก็บสินค้าของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนประตูเหล็กทั้งสองบานและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยมีสิทธิปิดกั้นประตูเหล็กทั้งสองบานตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์เองเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าด้วยการปลูกสร้างอาคารในที่ดินที่เช่าจากจำเลยไม่ตรงตามสัญญา ขอให้ขับไล่โจทก์และบริการกับเรียกค่าเสียหายเอาแก่โจทก์ ดังนี้คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ประพฤติผิดสัญญาเช่าหรือไม่ไม่ได้เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยว ศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งได้ แม้โจทก์ไม่โต้แย้ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามบัญญัติบังคับไว้ว่าฟ้องแย้งนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หากเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จากบทบัญญัติดังกล่าวหากคำฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม แม้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องนั้นไว้เป็นฟ้องแย้งก็เป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้โจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งขึ้นมาก็ตาม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการสร้างประตูเหล็ก 2 บาน ปิดกั้นซอยทางเข้าออกระหว่างซอยกับโกดังเก็บสินค้าของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนประตูเหล็กทั้งสองบานและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยมีสิทธิปิดกั้นประตูเหล็กทั้งสองบานตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์เองเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าด้วยการปลูกสร้างอาคารในที่ดินที่เช่าจากจำเลยไม่ตรงตามสัญญา ขอให้ขับไล่โจทก์และบริการกับเรียกค่าเสียหายเอาแก่โจทก์ ดังนี้คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ประพฤติผิดสัญญาเช่าหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษทางอาญาโดยศาลอุทธรณ์ และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีนี้แม้โจทก์จะเป็นผู้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นและไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยก็ยังไม่ถึงที่สุด
ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุด ไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 212 เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลย และศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลง แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 55 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6650/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำเลยฎีกาประเด็นใหม่มิได้ยกขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยได้กระทำไปในฐานะตัวแทน ว.จำเลยกับโจทก์ทั้งสองไม่มีความเกี่ยวพันกันในส่วนนี้ แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยกลับฎีกาแต่เพียงว่าข้อความในสัญญาข้อ 2 ระบุไว้ว่า ผู้ให้สัญญายอมยกเงินที่ขายเกินให้แก่นายหน้าแสดงว่าราคาที่ดินส่วนที่ขายเกินจากไร่ละ 300,000 บาท ต้องเป็นของจำเลยมิใช่เป็นของบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพราะเป็นคำมั่นสัญญาเฉพาะระหว่างผู้ทำสัญญากับผู้ให้สัญญาเท่านั้น โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว ดังนี้ ฎีกาของจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไร ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งนอกจากนี้ฎีกาของจำเลยดังกล่าวอ้างเหตุแตกต่างจากอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6420/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนของการชดใช้ค่าเสียหาย เนื่องจากจำเลยอื่นมิได้ถูกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนหรือชดใช้เงินจำนวน 104,390 บาท แก่ผู้เสียหายซึ่งได้จ่ายเงินไปโดยไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย จึงไม่อาจบังคับให้พวกของจำเลยคืนหรือชดใช้เงินตามคำขอของโจทก์ได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ที่ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้
ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน คำว่า "คดีแพ่ง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึงคดีแพ่งทั่วไปไม่เฉพาะแต่คดีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่ากู้เงินกันจำนวน 32,072 บาท เมื่อปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคแรก จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4907/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนมติคณะกรรมการเช่าที่ดินฯ จำเลยที่ 1 ไม่อยู่ในฐานะถูกฟ้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งได้ให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เช่าทำนา ต่อมาโจทก์เรียกค่าเช่านาเพิ่ม โดยได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล แต่โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด จำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 1 มีมติยืนตาม จึงขอให้เพิกถอนมติของจำเลยที่ 1 และบังคับให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชำระค่าเช่านาที่เพิ่ม ดังนี้เมื่อพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 บัญญัติแต่เพียงว่าคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล(คชก.ตำบล) ก็ดี คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด(คชก. จังหวัด) ก็ดี ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง แต่หาได้มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือเป็นบุคคลธรรมดาแต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องร้องได้ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และการที่จะขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชำระค่าเช่าที่นาเพิ่มได้ก็ต่อเมื่อมีการเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดก่อน เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้ชำระค่าเช่านาที่เพิ่มได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: เหตุที่ฎีกาต่างจากที่อุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากฐานรากเคลื่อนตัว เพราะฐานรากอาคารตึกแถวของจำเลยลึกกว่าฐานรากอาคารตึกแถวของโจทก์ มิได้อ้างว่าเกิดจากการรื้อถอนอาคารตึกแถวหลังเก่าของจำเลย ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ในการก่อสร้างอาคารตึกแถวของจำเลยได้มีการรื้อถอนอาคารหลังเก่าออกก่อน โดยทุบผนังอาคารดึงเสาอาคารเดิมซึ่งติดกับเสาอาคารตึกแถวของโจทก์ออก และทุบคานคอดินอาคารตึกแถวของโจทก์ ทำให้อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการอ้างเหตุแตกต่างกับเหตุที่โจทก์อ้างในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
of 34