คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความสัมพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายกับข้อตกลงพิเศษ ไม่ถือเป็นนายหน้า/ตัวแทน
โจทก์ซื้อกระจกจากบริษัท ก. แล้วขายต่อไปให้บริษัทม. อีกต่อหนึ่ง ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ทำการชี้ช่องหรือจัดการให้บริษัท ก. ได้เข้าทำสัญญากับผู้ใด หรือโจทก์ได้ขายกระจกแทนบริษัท ก.และหนังสือสัญญาระหว่างโจทก์ กับบริษัท ก. ก็ระบุไว้ด้วยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายไม่ใช่เป็นความสัมพันธ์ในทางตัวการตัวแทนแต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โจทก์จึงมิได้เป็นนายหน้าหรือตัวแทนของบริษัท ก. การที่โจทก์ตกลงให้บริษัท ก. มีส่วนกำหนดตัวผู้ซื้อกระจกต่อจากโจทก์กับมีส่วนในการกำหนดราคาที่โจทก์จะขายต่อไป และโจทก์จะสั่งซื้อกระจกต่อเมื่อมีผู้สั่งกระจกจากโจทก์ ตลอดจนบริษัท ก. ส่งกระจกที่โจทก์สั่งซื้อตรงไปยังลูกค้าของโจทก์ หาเป็นสาระสำคัญทำให้โจทก์สิ้นสภาพจากการเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย กลายเป็นนายหน้าหรือ ตัวแทนไปแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด ม.143 ไม่ต้องบรรยายรายละเอียดการติดต่อหรือความสัมพันธ์พิเศษกับเจ้าพนักงาน
ฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 เป็นเรื่องกล่าวหาว่าจำเลยเรียกหรือรับเงินจากผู้เสียหาย โดยอ้างว่าเพื่อจะนำไปให้แก่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ให้ช่วยเหลือมิให้ ร.ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา การกระทำอันเป็นความผิดมิได้อยู่ที่จำเลยติดต่อหรือให้เงินแก่เจ้าพนักงานดังกล่าว โจทก์จึงหาต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยติดต่อกับใครที่ไหน ให้เงินแก่พนักงานอัยการคนใด ทั้งจำเลยมีความสัมพันธ์พิเศษกับเจ้าพนักงานอันอาจจูงใจเจ้าพนักงานนั้นได้หรือไม่ ก็มิใช่องค์ประกอบแห่งความผิดอันต้องบรรยายในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความในคดีอาญาเพื่อประโยชน์ตนเอง หากมีเหตุเชื่อได้ถึงความสัมพันธ์พิเศษ ย่อมไม่เป็นละเมิด
โจทก์แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าเป็นภริยาของ พ.ดังนั้นเมื่อจำเลยบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์แล้ว พ. ร้องขัดทรัพย์ว่าเป็นของตน จำเลยจึงฟ้องโจทก์กับ พ. เป็นคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้ และเบิกความว่า "โจทก์เป็นภริยาลับ พ.อยู่กินกันอย่างไม่เปิดเผยนานๆ ไปมาหาสู่กันครั้ง" คำเบิกความของจำเลยจึงเป็นถ้อยคำของคู่ความในกระบวนพิจารณาในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของจำเลยเอง และเป็นการกระทำไปโดยสุจริต จึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนกลางเรียกค่าไถ่: แม้ไม่ร่วมจับกุม แต่มีความสัมพันธ์กับคนร้าย ศาลลงโทษตามมาตรา 315
คนร้ายจับผู้เสียหายไปเรียกค่าไถ่ พี่ผู้เสียหายออกตามพบจำเลยซึ่งเรียกให้รถหยุดแล้วจำเลยเป็นผู้ต่อรองค่าไถ่ด้วยตนเอง ลดจำนวนค่าไถ่ลง เมื่อได้ค่าไถ่แล้ว จำเลยก็สามารถจัดการให้คนร้ายปล่อยผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับคนร้ายเป็นอย่างดี เข้าลักษณะกระทำการเป็นคนกลางเรียกทรัพย์สินมิควรได้จากผู้ที่จะให้ค่าไถ่ อันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 315
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313,314 แต่การเรียกค่าไถ่เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำที่โจทก์กล่าวหาจำเลยมาในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 315 ตามที่พิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
จำเลยจัดให้ผู้เสียหายได้รับเสรีภาพกลับคืนมาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาโดยผู้เสียหายมิได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ชอบที่จะลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดกึ่งหนึ่งตาม มาตรา 316

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในละเมิดจากการขับรถประมาทเลินเล่อ และการพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขับขี่กับเจ้าของรถ
คดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า นายบุญหยกหรือนายไพเป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทเลินเล่อ และจำเลยทั้งสองกับนายไพมีนิติสัมพันธ์กันหรือไม่ แล้วฟังว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากนายไพขับรถของจำเลยที่ 1โดยประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียว แต่จำเลยทั้งสองกันนายไพไม่มีนิติสัมพันธ์กันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองกับนายไพมีนิติสัมพันธ์กันต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้แก้อุทธรณ์ว่าความจริงขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ชอบที่วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองกับนายไพมีนิติสัมพันธ์กันหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่1 โดยประมาทชนรถยนต์ของนายบุญหยกและพิพากษาให้จำเลยที่2 รับผิดต่อโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและการวินิจฉัยนอกประเด็นในคดีละเมิดทางรถยนต์ จำเลยไม่ต้องรับผิดหากโจทก์สืบไม่ได้ถึงความสัมพันธ์
คดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า นายบุญหยกหรือนายไพเป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทเลินเล่อ และจำเลยทั้งสองกับนายไพมีนิติสัมพันธ์กันหรือไม่ แล้วฟังว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากนายไพขับรถของจำเลยที่ 1 โดยประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียว แต่จำเลยทั้งสองกันนายไพไม่มีนิติสัมพันธ์กันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองกับนายไพมีนิติสัมพันธ์กันต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้แก้อุทธรณ์ว่าความจริงขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ชอบที่วินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองกับนายไพมีนิติสัมพันธ์กันหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่1 โดยประมาทชนรถยนต์ของนายบุญหยกและพิพากษาให้จำเลยที่2 รับผิดต่อโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ฉันชู้สาวและการแจ้งความล่าช้า ชวนสงสัยเจตนาฟ้องข่มขืน
ความสัมพันธ์ของผู้เสียหายกับจำเลยเป็นคนใกล้ชิดสนิทสนมในลักษณะของคนที่รักกันระหว่างไปทำงานที่โรงสีข้าวจำเลยเข้าไปในห้องพักข่มขืนกระทำชำเราต่างวันและเวลากันถึง 2 ครั้งผู้เสียหายก็มิได้เอะอะหรือแพร่งพรายให้ผู้ใดทราบ แม้แต่มารดาของตนซึ่งไปทำงานแห่งเดียวกันเพิ่งบอกเมื่อออกจากงานและกลับถึงบ้านแล้วหลายวันบิดามารดาผู้เสียหายเรียกจำเลยไปสอบถามทำนองบังคับให้ยอมรับผู้เสียหายเป็นภรรยาเมื่อจำเลยไม่ยอมทำตาม จึงกล่าวหาดำเนินคดีแก่จำเลยดังนี้ พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยเจตนา: เหตุบันดาลโทสะและการข่มเหงอย่างร้ายแรง
ผู้ตายเป็นพี่สาวร่วมบิดามารดาของจำเลย และมีสามีคนเดียวกันผู้ตายได้กับสามีก่อนจำเลย ผู้ตายย่อมมีส่วนที่จะนำรถจักรยานของสามีไปใช้ได้เช่นกัน การที่ผู้ตายมาเอารถจักรยานไปใช้ จำเลยไม่ยอมให้ ผู้ตายเข้ามาถึงรถจักรยาน จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำอนาจารและบุกรุกโดยมีอาวุธ แม้เลิกราแต่ความสัมพันธ์ก่อนหน้าไม่มีผลต่อความผิด
จำเลยกับผู้เสียหายอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสเพียง 2 เดือนก็เลิกกัน ต่อมาจำเลยฟ้องเรียกเอาค่าสินสอดคืนจากฝ่ายผู้เสียหายศาลพิพากษายกฟ้อง แสดงว่าจำเลยได้แสดงเจตนาเลิกกับผู้เสียหายโดยเด็ดขาดแล้ว ผู้เสียหายหามีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากับจำเลยอีกต่อไปไม่ ผู้เสียหายขี่รถจักรยานยนต์มีคนนั่งซ้อนท้ายมาด้วย จำเลยเข้ามาขวางกระชากแขนผู้เสียหายลงจากรถ เข้ากอดปล้ำและพยายามฉุดให้ไปกับจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278
จำเลยเรียกให้เปิดประตูรั้ว ผู้เสียหายไม่ยอมเปิด จำเลยซึ่งเลิกร้างกับผู้เสียหายไปแล้ว จึงไม่มีสิทธิผลักประตูรั้วเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยพลการ เมื่อเข้าไปโดยไม่มีเหตุสมควรและพูดจาข่มขู่ผู้เสียหายด้วยตามพฤติการณ์ที่จำเลยฉุดกระชากและกอดปล้ำผู้เสียหายและยังตามมารบกวนข่มขู่ถึงบ้าน โดยมีอาวุธปืน จึงมีความผิดตาม มาตรา 365(2) อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมจากผลละเมิด: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างหรือตัวแทนทางการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของบุคคลซึ่งมีการแสวงหาประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมายในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ เพียงประการเดียวโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีประโยชน์ร่วมกันในกิจการขนส่งผู้โดยสารหรือไม่ต่อไปอีก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
of 20