คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7437/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดีและการยกคำร้องขอพิจารณาใหม่
จำเลยให้การต่อสู้คดี แต่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2538 ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2534คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2534 กล่าวแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดเพียงประการเดียว ไม่ได้กล่าวโดยละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำชี้ขาดของศาล ส่วนข้ออ้างในคำร้องขอว่า จำเลยมาขอตรวจสำนวนเมื่อวันที่ 22พฤศจิกายน 2538 และไม่สามารถขอคัดคำพิพากษาได้เพราะอยู่ในระหว่างจัดพิมพ์คำพิพากษานั้น ขัดต่อข้อเท็จจริง เพราะปรากฏในสำนวนว่าทนายจำเลยเพิ่งยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารคำพิพากษาวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้ออ้างตามคำร้องขอของจำเลยจึงไม่มีเหตุควรรับฟัง ดังนี้ เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องต้องชัดเจนและระบุรายละเอียด หากไม่ชัดเจนศาลไม่รับพิจารณา
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์กล่าวว่า หลังจากจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่สหกรณ์การเกษตร และเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินในเวลาต่อมาโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมอันเป็นการออกเอกสารสิทธิทับที่ดินของโจทก์โดยไม่ชอบ โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องโดยการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงดังกล่าวลงในคำฟ้องข้อ 1 และข้อ 2 กับขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้องว่าให้จำเลยจัดการแก้ไขรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาทให้ปลอดจากการจำนอง แล้วจดทะเบียนโอนให้โจทก์ โดยโจทก์มิได้ระบุรายละเอียดว่าโจทก์จะขอเพิ่มเติมข้อเท็จจริงลงในคำฟ้องข้อ 1 หรือข้อ2 ตรงไหน เป็นคำร้องที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมที่ถูกยกคำร้องก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด สิทธิในการฟ้องร้องหมดไปแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียก ณ.และ ส.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและในวันเดียวกันศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเหตุให้คดีถึงที่สุด และสิทธิดำเนินคดีของจำเลยไม่มีอีกแล้วก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาให้หมายเรียก ณ.และ ส.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม เช่นนี้จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์จะหมายเรียกให้ ณ.และ ส.เข้ามาในคดีตามคำร้องของจำเลยที่ 1 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5254/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอแก้คำให้การต้องแสดงเหตุอันควร หากมิได้อ้างเหตุ ศาลมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้
เมื่อจำเลยขอแก้คำให้การจำเลยก็ต้องแสดงเหตุอันควรมาในคำร้องให้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163 วรรคสอง ด้วย แต่ตามคำร้องขอแก้คำให้การของจำเลยจำเลยมิได้อ้างเหตุขอแก้มาในคำร้อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่มีข้อผิดหลงเล็กน้อย: อำนาจศาลฎีกาและข้อยกเว้นการยื่นคำร้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดในค่าซ่อมรถให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 100,000 บาท และรับผิดในค่าเสื่อมราคาและในค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 รวมจำนวน121,500 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในค่าซ่อมรถจำนวน100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาและค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้ารวมจำนวน30,000 บาท แล้ว แต่ในคำพิพากษากลับระบุให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินจำนวน100,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และชำระเงินจำนวน 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ ย่อมเป็นการผิดหลงไปเล็กน้อย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวจำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกเช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา(ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264: ต้องเป็นคู่ความในคดีเท่านั้น
ผู้ที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264ต้องเป็นคู่ความในคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองนั้นผู้ร้องสอดเพียงแต่ยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องสอดเท่ากับไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความแม้ผู้ร้องสอดจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ผู้ร้องสอดก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องเป็นการคัดค้านคำพิพากษาโดยตรง ไม่ใช่การโต้แย้งพยานหรือการกระทำของคู่ความ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้อ้างเหตุว่าคำพิพากษาของศาลไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนตรงไหนส่วนใดอันจะเป็นการค้าค้านคำพิพากษาของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา208วรรคสองการที่จำเลยบรรยายมาในคำร้องว่าผู้แทนโจทก์เบิกความไม่ตรงต่อความเป็นจริงและผู้แทนโจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จึงเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาไปเช่นนั้นดังนี้มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลหากเป็นเรื่องที่จำเลยโต้แย้งคำเบิกความของพยานโจทก์หรือการกระทำของโจทก์ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องของจำเลยดังกล่าวมานั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฎีกาและการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาได้ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 จำเลยยื่นคำร้องพร้อมฎีกาต่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2539ขอให้อนุญาตให้จำเลยฎีกาซึ่งยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้จึงเป็นคำร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคำร้องของจำเลยพร้อมฎีกาที่ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยฎีกาซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน2539 นั้นแม้จะยื่นก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา แต่ก็เป็นการยื่นเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิฎีกาแล้ว จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการขอวิธีการชั่วคราวต้องสอดคล้องกับประเด็นข้อพิพาทตามคำร้อง
ประเด็นตามคำร้องของผู้คัดค้านมีเพียงว่า ผู้ร้องสมควรถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านฎีกาขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวโดยให้ผู้ร้องหยุดกระทำการขัดขวาง ขับไล่ ห้ามผู้คัดค้านกรีดยางพาราในที่พิพาท และห้ามผู้ร้องกรีดยางพาราในที่พิพาทโดยวิธีใช้ยาเร่งน้ำยางจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการขอใช้วิธีการชั่วคราวนอกประเด็นตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9238/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: การยื่นคำร้องพร้อมฎีกาเดิม & การใช้บทบัญญัติมาตรา 248 วรรคสี่ ป.วิ.พ. โดยอนุโลม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิให้บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่องการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสี่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15มาใช้บังคับโดยอนุโลมทั้งนี้มาตรา248วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุผลสมควรที่จะฎีกาได้นั้นให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นคดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่1แต่การที่จำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องในวันเดียวกันนั้นซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดอายุฎีกาขอให้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาอนุญาตให้จำเลยที่1ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยที่จำเลยที่1มิได้ยื่นฎีกาฉบับใหม่เข้ามาด้วยเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่1ประสงค์จะขอถือเอาฎีกาฉบับเดิมที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับไปแล้วนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประกอบคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยที่1ต่อไปกรณีย่อมอนุโลมได้ว่าจำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับคำฟ้องฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้วจึงชอบที่ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะได้พิจารณาคำร้องและคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่1ว่ามีเหตุสมควรจะอนุญาตให้จำเลยที่1ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่
of 50