คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำวินิจฉัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำวินิจฉัยคชก.มีผลผูกพัน-บังคับได้ตามกฎหมาย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามศาลต้องพิพากษาตาม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล (คชก. ตำบล) ซึ่งชี้ขาดว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ง. กับจำเลยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ในราคา 65,000 บาท คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลดังกล่าวเป็นที่สุดแล้วเนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลต่อ คชก. จังหวัด พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 56โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาล และในการพิจารณาของศาลให้ถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการใน ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล โดยอนุโลม ทั้งนี้ ตามมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว และตามป.วิ.พ. มาตรา 221 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่ คชก. ตำบลมีคำวินิจฉัย และขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง ถ้าศาลเห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมายประการใดประการหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติวรรคสุดท้ายแห่ง มาตรา 218 มาใช้บังคับ คือศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้อง จำเลยอาจให้การว่าคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลดังกล่าวขัดต่อกฎหมายได้ แต่คดีนี้จำเลยหาได้ให้การเช่นนั้นไม่ และปรากฏว่าคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลเป็นคำวินิจฉัยตรงตามประเด็นที่โจทก์ฟ้อง คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลจึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศาลย่อมต้องพิพากษาไปตามคำชี้ขาดนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาประกันตัว จำเลยหลบหนี ศาลสั่งปรับตามสัญญา และคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
ผู้ประกันผิดสัญญาประกันและศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันแล้ว การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายเวลาส่งตัวจำเลยที่ 2 ไป หรือลดค่าปรับลงโดยขอผ่อนชำระค่าปรับเป็นรายเดือน แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17)พ.ศ. 2532 มาตรา 4 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ประกันจึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: คดีละเมิดทางการจ้างไม่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน, คำวินิจฉัยอธิบดีผู้พิพากษาถือที่สุด
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่ว่า คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำละเมิดตามทางการที่จ้างต่อโจทก์นั้น มิใช่คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างลูกจ้างอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ดังนี้ คำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 9 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายืนตามคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่รับว่ามีความสัมพันธ์สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลย
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางแยกเป็น 2 ประการคือนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่และเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ปัญหาข้อแรก อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงาน โดยพิเคราะห์จากคำฟ้อง คำให้การ ประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยและพยานเอกสารและคำสั่งของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบไว้แล้ว การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่านิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ใช่สัญญาตัวแทน ถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่านิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตเปิดร้านขายยาเนื่องจากจำนวนร้านครบตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และคำวินิจฉัยรัฐมนตรีเป็นที่สุด
โจทก์ขออนุญาตเปิดร้านขายยาแผนปัจจุบัน ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อนุญาตเพราะมีร้านขายยาแผนปัจจุบันในอำเภอที่โจทก์ขอเปิดครบจำนวนตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดจำนวนสถานที่ขายยา ได้กำหนดไว้แล้ว โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีพิจารณาแล้วไม่อนุญาตและแจ้งคำวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีจึงเป็นที่สุด ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 18 การกระทำของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 1 และกระทรวงสาธารณสุข จำเลยที่ 2 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนของทางราชการและบทบัญญัติของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การฟ้องก่อนจึงไม่ชอบ
การที่กฎหมายกำหนดให้มีการอุทธรณ์การประเมิน ก็เพื่อให้ผู้มีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ประการใด เมื่อพิจารณาแล้ว ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขความเห็นของเจ้าพนักงานประเมินได้ตามที่เห็นสมควรในขณะที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ กรมสรรพากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ค่าภาษีที่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวและให้จำเลยอื่น ๆ ที่เป็นผู้ถือหุ้นร่วมรับผิดกับจำเลยที่1 ด้วย จะนำอำนาจยึดอายัดทรัพย์ตามมาตรา 12 แห่ง ประมวลรัษฎากรมาเป็นเหตุอ้างว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องไม่ได้ เพราะเป็นคนละเรื่องกันกับการนำคดีมาฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากรก่อนมีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ถือเป็นฟ้องก่อนถึงกำหนด และไม่มีอำนาจฟ้อง
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรให้จำเลยชำระเพิ่มเติมจำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีหน้าที่ตรวจสอบคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลง ยกเลิก เพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามที่เห็นสมควร ดังนี้เมื่อยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ กรมสรรพากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีองค์ประกอบบางส่วนที่เหมือนกัน ศาลยืนตามคำวินิจฉัยเดิม
ในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ ศาลฎีกาได้พิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า LIGHTMAN ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า LAWMAN ของจำเลยไม่มีลักษณะคล้ายกันจนถึงกับทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด ดังนั้นโจทก์จึงจะยกขึ้นกล่าวอ้างในคดีนี้อีกว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันหาได้ไม่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะใช้คำว่า LAWMAN เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ยื่นคำขอใช้ได้ตามกฎหมาย
เครื่องหมายการค้าของจำเลยนอกจากจะมีอักษรโรมันคำว่า LAWMAN ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายแล้ว ยังมีอักษรโรมันว่า ANGEL ขนาดโตเท่ากับคำว่า LAWMAN และมีรูปประดิษฐ์ดอกไม้กับหมวกอยู่ระหว่างอักษรโรมันสองคำดังกล่าวทั้งหมดอยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันว่า LIGHTMAN กับคนสวมหมวก เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจนบุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันได้ก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556-557/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำวินิจฉัยคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบข้อบังคับบริษัท: นายจ้างต้องผูกพัน
ระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างเมื่อตามระเบียบฯให้สิทธิแก่ลูกจ้างผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ก็เท่ากับนายจ้างยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แม้ระเบียบจะมิได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีผลผูกมัดนายจ้างก็ตาม จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัดของจำเลยแล้วดังนี้เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษของจำเลยจำเลยต้องผูกพันปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556-557/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันตามคำวินิจฉัยคณะกรรมการอุทธรณ์: นายจ้างต้องปฏิบัติตามระเบียบสัญญาจ้าง แม้ไม่มีข้อกำหนดผูกพันชัดเจน
ระเบียบพนักงานบริษัทขนส่งจำกัดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างเมื่อตามระเบียบฯให้สิทธิแก่ลูกจ้างผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ก็เท่ากับนายจ้างยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แม้ระเบียบจะมิได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีผลผูกมัดนายจ้างก็ตาม. จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่งจำกัดของจำเลยแล้วดังนี้เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษของจำเลยจำเลยต้องผูกพันปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 14