คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ซ้ำซ้อน ศาลสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งเดิม มิใช่คำสั่งใหม่
จำเลยอุทธรณ์และยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาในชั้นร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาจำเลยได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์แล้วเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์คดีอย่างคนอนาถาของจำเลยและจำเลยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตลอดจนค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนดศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งให้รับเงินและรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้วดำเนินการออกหมายนัดแจ้งให้โจทก์ทราบกับกำหนดให้โจทก์แก้อุทธรณ์ของจำเลยภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหมายนัดไม่มีเหตุที่จะต้องสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ซ้ำอีกการที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน5วันจึงเป็นการ ผิดหลงและเป็นเหตุให้จำเลยสำคัญผิดว่าการที่จำเลยได้ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์ไว้ดังกล่าวแล้วในตอนต้นเป็นการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้วไม่จำต้องปฏิบัติซ้ำอีกจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นอันจะเป็นการทิ้งอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9341/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฎีกาต้องรอคำสั่งรับรองจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อน มิฉะนั้นคำสั่งรับฎีกาไม่ชอบ
คดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคู่ความยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 248 แล้ว ศาลชั้นต้นต้องส่งฎีกาไปให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของผู้ฎีกาก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาดังกล่าวโดยสั่งในฎีกาด้วยว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและมิได้ดำเนินการตามที่ผู้ยื่นฎีการ้องขอ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาจึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดีในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
จำเลยไม่ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์ไป จำเลยยื่นคำร้องว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงขออนุญาตยื่นคำให้การ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จำเลยอุทธรณ์ทั้งคำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้น สำหรับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและยกคำร้องดังกล่าวเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199 วรรคสอง และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 226 (1) ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์คำสั่งนั้นเสียและวินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย แต่กลับไปวินิจฉัยถึงพฤติการณ์ของจำเลยว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและมีเหตุสมควรรับคำให้การของจำเลยไว้ การวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยว่า จำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่นั่นเองคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษา ถือว่าอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยในปัญหาที่ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเนื่องจากศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยเสียก่อน เนื่องจากผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจเกี่ยวโยงไปถึงสิทธิในการฎีกาคดีนี้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7027/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา: การโต้แย้งก่อนมีคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ เมื่อโจทก์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา226 (2)
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลของโจทก์มีข้อความว่า คดีมีประเด็นโต้เถียงกันหลายประเด็นซึ่งยังตกลงกันไม่ได้ ควรต้องชี้สองสถานและให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานหลักฐานต่อไป ที่ศาลมีคำสั่งให้งดการชี้สองสถานและงดการสืบพยานโจทก์จำเลยทำให้โจทก์เสียหาย ถือได้ว่าคำแถลงของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6485/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์สั่งงดการพิจารณาคดีระหว่างอุทธรณ์และการห้ามฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 228 วรรคสาม เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาไว้ในระหว่างอุทธรณ์คำสั่งจนกว่าศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์นั้น คำสั่งนี้จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6206/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตพิจารณาคดีใหม่หลังมีคำพิพากษาต้องทำภายใน 1 เดือน หากเกินกำหนด อุทธรณ์ไม่ชอบ
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ภายหลังที่ได้พิพากษาคดีแล้ว มิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1)โจทก์ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่ง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาในวันที่เกินกำหนด 1 เดือน อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538 เวอร์ชัน 6 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง: เงื่อนไขการรับรองและการเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบ
คดีผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท และต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่า มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้น
การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่งแล้ว และแม้ต่อมาในชั้นฎีกาผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องร่วมกับผู้ร้องที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และผู้พิพากษาที่นั่ง-พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับรองว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้และมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องทั้งสามก็ตาม ก็เป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 และเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า "คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรอง" และให้ยกคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เสีย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา-คดีในศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 ว่าจะรับรองหรือไม่แล้วดำเนินการต่อไป กับให้ยกฎีกาของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต้องทำภายใน 15 วัน และต้องเป็นคำร้องอุทธรณ์ ไม่ใช่คำขออนุญาตฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันฟังคำสั่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา224 แต่ตามคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลย กลับขอให้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อเป็นองค์คณะในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงถือได้ว่าจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาผลคือคดีย่อมยุติลงตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
การขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องยื่นเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาและการขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องดำเนินการภายในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยจำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาภายใน15วันนับแต่วันฟังคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา224แต่ตามคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลยกลับขอให้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อเป็นองค์คณะในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงถือได้ว่าจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาผลคือคดีย่อมยุติลงตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น การขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องยื่นเสียก่อนพ้นระยะเวลายื่นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยสถานะ 'บริวาร' และองค์คณะผู้พิพากษาในการออกคำสั่ง
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาที่อ้างว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของโจทก์โดยผู้พิพากษานายเดียวเป็นผู้ลงนามในคำสั่งนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา23เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษานายเดียวที่จะออกคำสั่งได้ตามมาตรา21(2)อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่มีผู้พิพากษาครบองค์คณะได้
of 38