คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำให้การของผู้ต้องหาที่ซัดทอดกันในคดีอาญา และการใช้คำให้การประกอบพยานหลักฐานอื่น
แม้คำให้การชั้นจับกุมของ ฉ. ซึ่งมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีนี้ด้วยจะมีลักษณะเป็นคำซัดทอดในระหว่างผู้ต้องหาด้วยกันก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียว หากการซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ศาลก็มีอำนาจรับฟังมาประกอบการพิจารณาได้
การที่ ฉ. เบิกความในชั้นพิจารณาของศาลมิใช่เป็นคำซัดทอดเพราะ ฉ. มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ด้วย และ ฉ. ยังยืนยันข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่ได้ให้การไว้ในชั้นถูกจับกุม ทั้งคำเบิกความของ ฉ. ไม่ปรากฏว่ามีเหตุจูงใจในการเบิกความให้ตนพ้นความผิดหรือได้รับประโยชน์แต่อย่างใด จึงรับฟังคำเบิกความดังกล่าวของ ฉ. ด้วยความระมัดระวังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตยื่นคำให้การนอกกรอบเวลา: ศาลต้องสอบถามโจทก์และไต่สวนเหตุผลก่อนปฏิเสธ
ป.วิ.พ.มาตรา 199 มิได้บัญญัติว่า คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยสามารถทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 21 (2) คือต้องให้โอกาสโจทก์คัดค้านโดยการสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ ถ้าโจทก์ไม่คัดค้านก็อาจมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ต้องทำการไต่สวน แต่ถ้าโจทก์คัดค้านย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งหรือไม่ก็ได้
ป.วิ.พ.มาตรา 199 ประกอบด้วยมาตรา 21 (4) มิได้บังคับว่ากรณีนี้ศาลจะต้องทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งเสมอไป การไต่สวนก็เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามที่มาตรา 199 บัญญัติไว้ 2 ประการ คือ การขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือไม่ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ ทั้งสองกรณีเป็นคนละเหตุ ดังที่กฎหมายใช้คำว่าหรือ และคำว่าประการอื่น
จำเลยอ้างในคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่า จำเลยไม่รู้ว่าถูกฟ้องซึ่งถือเป็นข้ออ้างว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัด นอกจากนี้จำเลยยังบรรยายคำร้องในตอนท้ายว่า หากจำเลยรู้ว่าถูกฟ้องจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีและจำเลยจะต้องชนะคดีเพราะที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พร้อมกับแนบสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมาท้ายคำให้การของจำเลยแสดงให้เห็นเป็นหลักฐานว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย มิใช่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้อง ข้ออ้างของจำเลยในประการหลังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกเหตุอันสมควรประการอื่นที่อาจอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ขึ้นเป็นข้ออ้างอีกเหตุหนึ่งแล้ว ดังนี้ หากการไต่สวนไม่ได้ความชัดว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัด ศาลก็ยังจะต้องพิจารณาถึงเหตุอันสมควรประการอื่นดังกล่าวว่าจะสมควรอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ หากไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นคำให้การในกำหนดโดยเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอาจถือว่ามีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยจำเลยมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหลักฐานซึ่งมีมูลว่าจำเลยอาจจะชนะคดี ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้สอบถามโจทก์และไม่ได้ทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย เป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะต้องให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและพิจารณาพิพากษาคดีใหม่
ข้อที่ปรากฎในรายงานการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องว่าจำเลยไปธุระนอกบ้าน แต่จำเลยบรรยายคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่าจำเลยไปทำงานที่กรุงเทพมหานครซึ่งขัดกันเพียงเท่านี้ยังไม่อาจถือเป็นยุติว่าจำเลยจงใจขาดนัดโดยไม่ต้องทำการไต่สวน เพราะจำเลยฎีกาว่าไปธุระนอกบ้านกับไปทำงานที่กรุงเทพมหานครมีความหมายอย่างเดียวกัน นอกจากนี้ข้อแตกต่างดังกล่าวอาจเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ สมควรที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเสียก่อน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ไม่ใช่โจทก์กู้เงินจำเลยแล้วมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้ต้องห้ามฎีกาเพราะจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทและยังไม่ถึงเวลาที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนนี้ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้ยื่นคำให้การนอกกรอบเวลา และการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 มิได้บัญญัติว่า คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยสามารถทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 21(2) คือต้องให้โอกาสโจทก์คัดค้านโดยการสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ถ้าโจทก์ไม่คัดค้านก็อาจมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ต้องทำการไต่สวน แต่ถ้าโจทก์คัดค้านย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งหรือไม่ก็ได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 ประกอบด้วยมาตรา 21(4) มิได้บังคับว่ากรณีนี้ศาลจะต้องทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งเสมอไป การไต่สวนก็เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามที่มาตรา 199 บัญญัติไว้ 2 ประการ คือ การขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือไม่ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ ทั้งสองกรณีเป็นคนละเหตุ ดังที่กฎหมายใช้คำว่าหรือ และคำว่าประการอื่น จำเลยอ้างในคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่า จำเลยไม่รู้ว่าถูกฟ้องซึ่งถือเป็นข้ออ้างว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดนอกจากนี้จำเลยยังบรรยายคำร้องในตอนท้ายว่า หากจำเลยรู้ว่า ถูกฟ้องจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีและจำเลยจะต้องชนะคดี เพราะที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พร้อมกับแนบสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมาท้ายคำให้การของจำเลยแสดงให้เห็นเป็นหลักฐานว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย มิใช่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้องข้ออ้างของจำเลยในประการหลังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกเหตุอันสมควรประการอื่นที่อาจอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ขึ้นเป็นข้ออ้างอีกเหตุหนึ่งแล้ว ดังนี้ หากการไต่สวนไม่ได้ความชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัด ศาลก็ยังจะต้องพิจารณาถึงเหตุอันสมควรประการอื่นดังกล่าวว่าจะสมควรอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ หากไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นคำให้การในกำหนดโดยเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอาจถือว่ามีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยจำเลยมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหลักฐานซึ่งมีมูลว่าจำเลยอาจจะชนะคดี ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้สอบถามโจทก์และไม่ได้ทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะต้องให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ ข้อที่ปรากฏในรายงานการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องว่าจำเลยไปธุระนอกบ้าน แต่จำเลยบรรยายคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่าจำเลยไปทำงานที่กรุงเทพมหานครซึ่งขัดกันเพียงเท่านี้ยังไม่อาจถือเป็นยุติว่าจำเลยจงใจขาดนัดโดยไม่ต้องทำการไต่สวน เพราะจำเลยฎีกาว่าไปธุระนอกบ้านกับไปทำงานที่กรุงเทพมหานครมีความหมายอย่างเดียวกันนอกจากนี้ข้อแตกต่างดังกล่าวอาจเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ สมควรที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเสียก่อน ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ไม่ใช่โจทก์กู้เงินจำเลยแล้วมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้ต้องห้ามฎีกาเพราะจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทและยังไม่ถึงเวลาที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนนี้ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6304/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคำฟ้อง ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวจำเลย หากกระทำก่อนยื่นคำให้การ ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องบริษัทสยามพัฒนา จำกัด เป็นจำเลยที่ 2ให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นบริษัทสยามพัฒนาเซอร์วิส (1988) จำกัด เมื่อพ้นกำหนดเวลา1 ปี แล้ว แต่เป็นเวลาก่อนจำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การซึ่งโจทก์มีสิทธิกระทำได้ เพราะเป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับชื่อคู่ความที่โจทก์ฟ้องในระหว่างส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแก่คู่ความ ไม่มีกฎหมายห้าม ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 2จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่โจทก์ยื่นคำฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบต่างจากคำให้การไม่กระทบประเด็นครอบครองปรปักษ์ หากเป็นการอ้างสิทธิในฐานะผู้ซื้อ
แม้ทางนำสืบของจำเลยจะแตกต่างกับคำให้การของจำเลยในเรื่องจำเลยซื้อที่พิพาทจาก ก. หรือซื้อจาก ย. ผ่าน ก. แต่ประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจาก ก. หรือไม่ ข้อที่โจทก์กับจำเลยโต้แย้งกันคือ จำเลยเข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ก. หรืออาศัยสิทธิของจำเลยเองในฐานะผู้ซื้อที่พิพาท ดังนั้นไม่ว่าจำเลยจะซื้อที่พิพาทจาก ย. โดยชำระเงินผ่าน ก. หรือ ก. ซื้อที่ดินจาก ย. แล้วแบ่งที่พิพาทขายให้จำเลย ก็เป็นกรณีที่จำเลยนำสืบอ้างว่าได้เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยเองในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทเช่นกัน การนำสืบของจำเลยจึงอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไม่ถึงกับเป็นเหตุให้รับฟังไม่ได้ ส่วนจะมีน้ำหนักน่าเชื่อหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้ และการเพิกถอนการรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณาซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่า มีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่ามีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้โดยไม่ต้องฟังจำเลย และการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การและการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้โดยไม่ต้องฟังจำเลย และการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
วันที่ 12 มิถุนายน 2538 โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย วันที่ 14 มิถุนายน 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้จำหน่ายคดีจากสารบบความต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2538 จำเลยยื่นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอนฟ้องไปแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ สำเนาให้โจทก์และนัดชี้สองสถาน เป็นกรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อนศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 วรรคหนึ่ง และมาตรา 183 วรรคสอง ศาลจะทำการชี้สองสถานได้ต่อเมื่อมีคำฟ้องและคำให้การ แต่เมื่อโจทก์ถอนคำฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ก็เท่ากับไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานอันเป็นการสั่งโดยผิดหลงเป็นไม่รับคำให้การและยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความละเลยหน้าที่ยื่นคำให้การเกินกำหนด ทำให้โจทก์เสียเปรียบและต้องรับผิดในสัญญา
จำเลยในฐานะทนายความของโจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำคำให้การแทนโจทก์ และต้องยื่นให้ทันภายในกำหนดเวลายื่นคำให้การ เมื่อจำเลยนำคำให้การมายื่นเมื่อพ้นระยะเวลายื่นคำให้การแล้ว ทั้งมิได้ดำเนินการเพื่อขออนุญาตยื่นคำให้การ ทำให้โจทก์เสียเปรียบในการดำเนินคดีอย่างยิ่งถือได้ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายความก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ และถึงแม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยมีเพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้ได้
of 72