คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินวางซื้อทรัพย์จากการผิดสัญญาซื้อขายและการคืนเงินเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน
ตามประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการขายว่า เมื่อตกลงรับซื้อแล้วผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันทีแต่ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นที่ดินหรือทรัพย์อย่างอื่นซึ่งมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไปเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจให้ผู้ซื้อวางเงินก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นถ้าหากมีภายในเวลาไม่เกิน 15 วันก็ได้ และตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ แสดงว่าเงินจำนวน 50,000 บาทที่โจทก์วางไว้ในวันขายสำหรับการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ ศาลจึงสั่งริบไม่ได้ ในการขายทอดตลาดครั้งหลัง โจทก์เป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น และเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ในราคา 195,000 บาท เท่าเดิมทั้งโจทก์ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว กรณีจึงไม่มีความเสียหายใด ๆต้องคืนเงินที่โจทก์วางไว้ในการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนทั้งหมดให้โจทก์ การที่ต้องมีการขายทอดตลาดครั้งหลังเพราะโจทก์ไม่ชำระราคาภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายที่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น จึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินวางซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเมื่อผู้ซื้อชำระราคาครบถ้วน และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ขอรับเงินที่วางไว้ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดครั้งก่อนคืน ซึ่งตามประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการขายว่า เมื่อตกลงรับซื้อ ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันที แต่ถ้าเป็นที่ดินหรือทรัพย์ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจให้ผู้ซื้อวางเงินก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายการเก็บรักษาภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน ก็ได้ และตามรายงานเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ ดังนี้ เงินที่โจทก์วางไว้ในการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อไม่ใช่เงินมัดจำ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ ศาลจึงสั่งริบไม่ได้ และในการขายทอดตลาดครั้งหลังโจทก์ก็เป็นผู้ซื้อทรัพย์ในราคาเดิม โจทก์ชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นและชำระราคาครบถ้วนแล้ว กรณีไม่มีความเสียหายใด ๆจึงต้องคืนเงินที่โจทก์วางไว้ดังกล่าวทั้งหมด เหตุที่ต้องมีการขายทอดตลาดครั้งหลังเพราะโจทก์ไม่ชำระราคาภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายที่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น จึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับทุนการศึกษา: ขอบเขตผูกพันระดับปริญญาโท การปฏิบัติราชการ และการคืนเงินค้ำประกัน
สัญญารับทุนการศึกษาระบุว่า ให้มีความผูกพันระดับปริญญาโดยไม่ระบุว่าระดับปริญญาตรี โท หรือ เอก เมื่อจำเลยที่ 1 เรียนจบปริญญาตรีแล้วขอเรียนต่อระดับปริญญาโทจนต้นสังกัดเห็นชอบ รัฐบาลออสเตรเลียเจ้าของทุนขยายทุนให้จำเลยที่ 1 รับทุนจนเรียนจบ แม้สัญญาค้ำประกันระบุให้ผูกพันระดับปริญญาตรีก็เป็นเรื่องระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 สัญญา รับทุนจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ในระดับปริญญาโทด้วย ระหว่างจำเลยที่ 1 รับราชการใช้ทุนอยู่ จำเลยที่ 1 สอบ ชิงทุนไปดูงานที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นความต้องการของจำเลยที่ 1เอง การที่ทางราชการมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ไปดูงานฝึกอบรมและได้รับเงินเดือนเป็นการอนุเคราะห์ของทางราชการ ซึ่งถ้าเป็น การปฏิบัติราชการแล้วทางราชการคงไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลา จึง ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติราชการ อันจะนำเอาระยะเวลาที่ไป ฝึกอบรมดูงานดังกล่าวมาหักลดจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสองต้องชดใช้ ตามสัญญารับทุน การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เงินที่จำเลยที่ 2 ชำระให้โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันควรคิดอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเฉลี่ยธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยคือ 1 เหรียญออสเตรเลียควรคิดให้ 19.03 บาทไม่ใช่ 19.96 บาท แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในเรื่องนี้จึงเป็นการนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้มาตรฐาน การวางประกันภาษี และสิทธิในการขอคืนเงินภาษีอากร
โจทก์นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน จำนวน 7,197,397 ลิตรจากประเทศสิงค์โปร์เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ไม่สามารถทำใบขนที่สมบูรณ์และปฏิบัติการเสียภาษีได้ทันที จึงทำเรื่องขอผ่อนผันนำน้ำมันออกไปก่อนและเสียภาษีอากรภายหลัง จำเลยอนุญาตโดยให้โจทก์วางเงินสดจำนวนหนึ่งไว้เพื่อเป็นประกันภาษีและอากรขาเข้าต่อมาปรากฏว่าน้ำมันที่โจทก์นำเข้ามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่ได้สูบถ่ายน้ำมันจากเรือที่นำเข้าขึ้นไปเก็บในถังบนบก และโจทก์ได้รับอนุญาติจากจำเลยให้ส่งน้ำมันคืนไปยังผู้ขายที่ประเทศสิงค์โปร์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้นำน้ำมันเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จตั้งแต่ขณะที่เรือนำน้ำมันเข้ามาในเขตท่าที่จะสูบถ่ายน้ำมันจากเรือไปเก็บในถังบนบก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้จำเลย แต่เงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยมิใช่เงินค่าภาษีอากรขาเข้า จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 ทั้งมาตรา 112 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดว่าในการวางเงินประกันเช่นนี้ พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้โจทก์ผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งของนั้นกลับออกไปตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นแชร์เป็นสัญญาผูกพันระหว่างสมาชิก ผู้ประมูลต้องคืนเงินหากสัญญาเลิก
การเล่นแชร์เป็นสัญญาชนิดหนึ่งเกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างผู้เล่นจำเลยทั้งสองและโจทก์ทั้งสิบเอ็ด ต่างเป็นลูกแชร์ ต่างมีความผูกพันต้องส่งเงินตามที่ตกลงกันในการเล่นและย่อมมีสิทธิในการเข้าประมูลระหว่างลูกวงแชร์ด้วยกัน จึงต้องมีความผูกพันต่อกัน หาใช่จะผูกพันเฉพาะแต่นายวงแชร์ไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้ประมูลได้และรับเงินไปแล้ว จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่มีความผูกพันกับโจทก์ทั้งสิบเอ็ด ไม่ได้ การที่ นาย วงแชร์หลบหนีสัญญาแชร์จึงเลิกเล่นกันก่อนที่จะมีการประมูลกันในงวดต่อไป คู่กรณีจึงกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยทั้งสองต้องส่งเงินที่รับไปคืนโจทก์ทั้งสิบเอ็ด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้าน - วัตถุประสงค์ของสัญญา - การผิดสัญญา - สิทธิเลิกสัญญา - การคืนเงิน
การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายบ้านพิพาทกับจำเลยแต่ความประสงค์แท้จริงของโจทก์ทั้งสองก็เพื่อจะซื้อบ้านพิพาทให้ อ. บุตรโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยนำสืบถึงวัตถุประสงค์ของโจทก์ในการทำสัญญา มิใช่นำสืบว่ามีข้อตกลงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากสัญญาอันจะเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1838/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์โดยร่วมกันกระทำผิด: การกระทำความผิดร่วมกันในสถานที่เปลี่ยวและการคืนเงินบางส่วนไม่ถือเป็นเจตนาดี
วันเกิดเหตุ ผ. พาผู้เสียหายซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศชมวัดโดยเรือรับจ้างของจำเลย ขากลับเมื่อจำเลยขับเรือมาถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จำเลยหยุดเรือแล้วพูดภาษาไทยกับ ผ. ว่าต้องการค่าโดยสาร เมื่อผู้เสียหายทราบจึงหยิบกระเป๋าสตางค์ออกมาแต่ยังไม่ทันส่งเงินให้ ผ. ได้หยิบเอาเงิน2,000 บาท จากกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปส่งให้จำเลยบอกผู้เสียหายว่าเป็นค่าโดยสาร จำเลยแสดงท่าทางไม่พอใจต้องการเงินค่าโดยสารมากกว่านั้นอีก ผ. จึงหยิบเงินจากกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายให้จำเลยอีก 500 บาท ผ. ยังแจ้งแก่ผู้เสียหายว่าไม่เพียงพอ ต้องการอีก 50 เหรียญสหรัฐอเมริกา แต่ผู้เสียหายไม่มีให้ ผู้เสียหายเป็นชาวต่างประเทศและเป็นผู้โดยสารคนเดียวอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบกับ ผ. และจำเลยแสดงท่าทางขึงขังผู้เสียหายกลัวอันตรายจึงไม่กล้าขัดขืน เมื่อจำเลยขับเรือเข้าไปถึงฝั่ง ผู้เสียหายเห็นว่าปลอดภัยจึงได้พยายามเรียกร้องเอาเงินคืนผ.เอาเงินจากจำเลยคืนผู้เสียหาย1,000บาทจากนั้นผ.และจำเลยก็แยกย้ายกันไป พฤติการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่า ผ. กับจำเลยรู้เห็นว่าจะกระทำการดังกล่าวด้วยกัน เป็นการร่วมกันกระทำความผิดเป็นตัวการด้วยกัน ส่วนการที่ ผ. และจำเลยคืนเงินบางส่วนให้ผู้เสียหายเกิดขึ้นภายหลังการกระทำความผิด เพราะผู้เสียหายโวยวายขอเงิน การคืนเงินบางส่วนให้อาจเป็นการผ่อนคลายไม่ให้ผู้เสียหายติดใจดำเนินคดี จะนำมาเป็นเครื่องชี้เจตนาในการกระทำผิดหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลบังคับจำนอง: ศาลฎีกาตัดสินคืนเงินส่วนเกินจากการเรียกค่าขึ้นศาลเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และยืนตามศาลล่างที่ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียม
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองได้ยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ถือเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องได้ฟ้องบังคับจำนองจำเลยนั่นเอง ตามข้อ 1(ค) แห่งตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งระบุไว้ว่า ให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 1 แต่ไม่ให้เกิน 100,000 บาท ต่อเมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีจึงให้เรียกค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละ 2.5 แต่คดีนี้จำเลยมิได้คัดค้านหรือสู้ คดีแต่อย่างใด การที่โจทก์คัดค้านจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อนี้ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลเกินมา 100,000 บาท เห็นควรคืนให้แก่ผู้ร้อง แม้ผู้ร้องจะมิได้ฎีกาขึ้นมาโดยตรงก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้ร้องร้องขอให้เอาเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ชำระหนี้ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น เสมือนหนึ่งผู้ร้องฟ้องบังคับจำนองต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่จะต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้แทนผู้ร้อง หรือนัยหนึ่งให้ไปเรียกเอาจากกองทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดได้ และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ซึ่งบัญญัติเรื่องความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียมไว้นั้น ก็เป็นดุลพินิจของศาลที่จะให้ใช้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6180/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นโมฆะ โจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อ
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นที่ราชพัสดุและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำที่ดินพิพาทไปให้จำเลยเช่าซื้อ เพราะต้องห้ามมิให้โอนกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 เพราะมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการพ้นวิสัยและต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย โจทก์จึงต้องคืนค่าเช่าซื้อให้จำเลยเพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ตามมาตรา 406 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6180/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นโมฆะ โจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อให้จำเลย
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นที่ราชพัสดุและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำที่ดินพิพาทไปให้จำเลยเช่าซื้อ เพราะต้องห้ามมิให้โอนกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 เพราะมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการพ้นวิสัยและต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย โจทก์จึงต้องคืนค่าเช่าซื้อให้จำเลยเพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ตามมาตรา 406 วรรคแรก
of 31