คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสทั้งสองฝ่าย แม้จะแยกกันอยู่
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของช. โดยสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5และไม่ได้หย่าร้างกัน ช. คงอยู่ร่วมบ้านกับจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ กับโจทก์ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมคงได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 โดยขณะที่ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับ อยู่ ขณะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบัญญัติว่า 'ผู้ที่จะรับ บุตรบุญธรรม ... ฯลฯ .... ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอม ของคู่สมรสนั้นก่อน เว้นแต่คู่สมรสนั้นวิกลจริตหรือสูญหายไป ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี' เห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์จะคุ้มครองสิทธิ ของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งด้วยเมื่อโจทก์เป็นภริยาคนหนึ่งของ ช. การที่ ช.รับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมจึงจำต้องได้รับความ ยินยอมจากโจทก์ด้วย จะได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้อยู่ร่วมบ้านกับ ช. โจทก์ก็ไม่ใช่บุคคลวิกลจริตหรือสูญหาย ไม่เป็นเหตุให้ ช.รับจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ การจดทะเบียนรับ บุตรบุญธรรมของ ช. ดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2524)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3083/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หรือฟ้องร่วมกัน หากไม่ปฏิบัติตามศาลต้องสั่งแก้ไขข้อบกพร่อง
หญิงมีสามีฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับรถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสต้องฟ้องร่วมกับสามีหรือได้รับความยินยอมของสามี
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้แก้ไขเรื่องความสามารถ แต่พิพากษายกฟ้อง โดยว่าไม่มีหลักฐานความยินยอมของสามีเป็นหนังสือศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาโดยส่งหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย จำเลยแก้ฎีกาว่าหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ต้องให้ศาลชั้นต้นไต่สวนเสียก่อนว่าหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ให้ฟ้องคดีถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็ถือว่าโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีบริบูรณ์แล้ว ถ้าไม่ถูกต้อง ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่ง แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบกพร่องอำนาจฟ้องระหว่างการพิจารณาคดี โดยการยื่นความยินยอมจากคู่สมรส
โจทก์เป็นหญิงมีสามีฟ้องคดีโดยไม่มีหนังสือให้ความยินยอมของสามี จำเลยโต้แย้งอำนาจฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแล้วและศาลมีคำสั่งอนุญาต ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้คัดค้านมีสิทธิดำเนินคดีโดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ไม่เกี่ยวกับเรื่องสินสมรส คู่ความมีสิทธิเข้ามาดำเนินคดีโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรส: หน้าที่การนำสืบข้อเท็จจริงเรื่องคู่สมรสเดิมของผู้ร้อง
ผู้ร้องขอให้จดทะเบียนสมรส เท่ากับอ้างว่าขณะนี้ต่างไม่มีคู่สมรสนายอำเภอคัดค้านปฏิเสธว่าผู้ร้องต่างมีคู่สมรสอยู่ผิดเงื่อนไขการสมรสในรายงานกระบวนพิจารณาผู้คัดค้านแถลงว่าผู้คัดค้านไม่ทราบว่าผู้ร้องมีคู่สมรสอยู่หรือไม่ ต่างไม่สืบพยาน ดังนี้ ผู้คัดค้านมิได้รับข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องต่างไม่มีคู่สมรส และมิได้ตกลงสละประเด็นข้อนี้ ผู้ร้องยังมีหน้าที่นำสืบอยู่เมื่อผู้ร้องไม่สืบพยานผู้ร้องต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่สมรสมีผลผูกพันและสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นไปตามสัญญา
โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย ในที่สุดได้ทำสัญญาไว้ต่อกันเป็นข้อสารสำคัญว่า โจทก์จำเลยยอมคืนดีเป็นสามีภริยากันดังเดิม และข้อความในหนังสือสัญญานั้นได้กล่าวไว้ชัดว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อระงับการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์จำเลย ไม่ต้องเป็นความกันต่อไป โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเป็นสัดส่วน กล่าวคือให้โจทก์ได้วัวที่มีตัวพิมพ์รูปพรรณ 16 ตัว ฯลฯ นอกจากทรัพย์ดังกล่าวนี้แล้ว โจทก์ไม่ขอเอาอีกต่อไป หนังสือสัญญานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไป เห็นว่าเมื่อข้อสัญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันขาดจากการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุรถโดยสารและการเรียกร้องค่าเสียหายของคู่สมรส
ลูกจ้างของจำเลยขับรถประจำทางโดยประมาทเลินเล่อเลี้ยวรถด้วยความเร็วเกินสมควร โจทก์เตรียมจะลงยืนที่หน้าประตูรถถูกรถเหวี่ยงตกจากรถ ต้องผ่าตัดสมอง โจทก์ทุพพลภาพตลอดชีวิต ถูกทรมานทั้งกายและจิตใจ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายเหล่านี้
กรณีละเมิดต่อร่างกายของภริยา สามีทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดโดยภริยาไม่รู้เห็นด้วย สัญญานั้นไม่ผูกพันภริยา สิทธิเรียกร้องของภริยาไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากคู่สมรสมีอยู่แล้ว แม้มีการหย่าภายหลังก็ไม่อาจแก้ไขได้
บิดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยในระหว่างที่ยังเป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาโจทก์ แม้ต่อมาบิดาโจทก์จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ตาม การสมรสระหว่างบิดาโจทก์และจำเลยย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมจะกล่าวอ้างขึ้นได้ และโมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ การหย่ากันระหว่างบิดามารดาโจทก์ในภายหลังก็ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย ซึ่งตกเป็นโมฆะไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากคู่สมรสมีอยู่แล้ว แม้มีการหย่าภายหลังก็ไม่กระทบ
บิดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยในระหว่างที่ยังเป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาโจทก์ แม้ต่อมาบิดามารดาโจทก์จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ตามการสมรสระหว่างบิดาโจทก์และจำเลยย่อมเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมจะกล่าวอ้างขึ้นได้ และโมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ การหย่ากันระหว่างบิดามารดาโจทก์ในภายหลังก็ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย ซึ่งตกเป็นโมฆะไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและการกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็น สินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวา จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้วและไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีกถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เอง ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานเศษ และเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมาก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษ และไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน
of 20