คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับจากสัญญาจ้างก่อสร้างและการไม่เกิดดอกเบี้ยเมื่อมีการหักเงินค่าปรับไว้แล้ว
จำเลยปรับโจทก์ตามสัญญาโดยหักเงินค่าปรับไว้จากเงินค่าจ้างเมื่อศาลพิพากษาลดค่าปรับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคแรก ให้จำเลยคืนเงินค่าปรับบางส่วนแก่โจทก์โจทก์หามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับที่ได้รับคืนนั้นไม่เพราะการที่จำเลยหักเงินค่าปรับไว้เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาจ้างซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จำเลยจะกล่าวอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่างประเทศ ผิดสัญญาทุน เงินเดือน ค่าปรับ ดอกเบี้ย เริ่มนับเมื่อใด
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติซึ่งให้แก่รัฐบาลไทยผ่านทางกรมวิเทศสหการให้ไปศึกษาต่อมีกำหนด2 ปี โดยจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์ว่าเมื่อเสร็จการศึกษาจำเลยที่ 1จะกลับมารับราชการต่อไปเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับทุน หากผิดสัญญายอมชดใช้คืนเงินทุนและเงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่ได้รับจากทางราชการพร้อมเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินที่ต้องชดใช้คืน และจะชำระให้เสร็จภายใน 30 วัน ถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง หากไม่ชำระภายในกำหนดยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังไม่ได้ชำระอีกร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยที่ 1 ศึกษาครบ 2 ปี แล้วไม่สำเร็จ ได้ลาศึกษาต่อด้วยเงินส่วนตัวเป็นเวลาอีก 7 เดือน 2 วันจำเลยที่ 1 กลับมารับราชการต่อเพียง 34 วัน แล้วลาออกจากราชการจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินทุนคืนตามส่วนของเวลาที่รับราชการขาดไปเฉพาะส่วนที่ลาศึกษาต่อโดยรับเงินทุนขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ส่วนเวลาที่จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อด้วยเงินส่วนตัวจะเอามารวมกับระยะเวลาที่ศึกษาต่อโดยเงินทุนขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติไม่ได้ จำเลยที่ 1 ยื่นใบลาออกจากราชการก่อนเจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งต่อโจทก์ถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้แก่โจทก์ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ไม่ถูกต้อง เป็นเรื่องภายในระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างข้อบกพร่องดังกล่าวเป็นเหตุให้พ้นความรับผิดตามสัญญาไม่ได้ คู่สัญญากำหนดวิธีการคิดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้วว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญายอมชดใช้เงินทุน เงินเดือน หรือเงินอื่นใดที่ได้รับจากทางราชการพร้อมเบี้ยปรับให้เสร็จภายใน 30 วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง หากไม่ชำระภายในกำหนดยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังไม่ได้ชำระอีกร้อยละ 15 ต่อปี จึงต้องคิดดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ขอให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1ลาออกจากราชการไม่ได้ จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้วันที่ 1 ธันวาคม 2520 ระบุให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน จำเลยที่ 1มีสิทธิชำระหนี้ให้โจทก์ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2520 แต่ไม่ชำระจำเลยที่ 1 จึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2521 ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2520 ยังคลาดเคลื่อนอยู่ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก แต่เงินทุนและค่าปรับของเงินทุนเป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับ ค่าเสียหายตามสัญญา และการพิสูจน์ความเสียหายที่สูงกว่าเบี้ยปรับ
ค่าปรับรายวันตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างคือเบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะใช้ให้แก่โจทก์เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 381 วรรคแรก นั่นเอง ส่วนค่าตัดลดเปลี่ยนแปลงรายการอันเป็นค่าเสียหายตามสัญญา จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคสอง ที่ให้บังคับตามบัญญัติแห่งมาตรา 380 วรรคสอง โจทก์จะเรียกค่าเสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต่อเมื่อโจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายสูงกว่าเบี้ยปรับที่กล่าวแล้ว โดยหากมีโจทก์ก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวนที่สูงกว่าเบี้ยปรับนั้นอีกได้ สำหรับคดีนี้โจทก์เรียกค่าเสียหายซึ่งไม่สูงไปกว่าเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายทรายกรอง: การเลิกสัญญา, ค่าปรับ, การหักหนี้ และสถานที่ส่งมอบ
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ผิดสัญญาอ้างเหตุว่าไม่สามารถส่งมอบทรายกรองได้เพราะมีเหตุสุดวิสัยเนื่องจากฝนตกชุกไม่มีแดดที่จะตากทรายให้แห้งได้นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้กำหนดให้โจทก์ขายทรายกรองจากแหล่งใดหรือบริษัทใด โจทก์จึงสามารถจัดหาจากผู้ผลิตรายอื่นซึ่งอยู่ในพื้นที่ฝนไม่ตกเพื่อจัดส่งแก่จำเลยได้กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่สามารถส่งทรายกรองได้ทันตามกำหนดในสัญญาเพราะเหตุสุดวิสัย ตามสัญญาซื้อขายทรายกรองรายพิพาทข้อ 8 วรรคแรก กำหนดว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบหรือส่งมอบทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาได้ ข้อ 9วรรคแรก กำหนดว่าในกรณีผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายนำสิ่งของมาส่งมอบให้จนครบถ้วน และวรรคสามกำหนดว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ก็ได้ การที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองบางส่วนที่โจทก์ส่งมอบหลังจากครบกำหนดในสัญญาแล้ว เป็นการใช้สิทธิตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 9 มิใช่กรณีที่จำเลยยอมรับมอบทรายกรองไม่อิดเอื้อนหรือไม่ถือเอาระยะเวลาการส่งมอบเป็นข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยยังได้มีหนังสือกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ส่งทรายกรองส่วนที่ส่งมอบไว้บกพร่องและส่วนที่ยังไม่ส่งในระยะเวลานั้น โดยแจ้งไปด้วยว่าโจทก์จะต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในสัญญาเท่ากับจำเลยใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่ส่งมอบทรายกรองให้จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับตามสัญญาข้อ 9 ตามสัญญาซื้อขายรายพิพาทในงวดที่ 4 กำหนดให้โจทก์ส่งมอบทรายกรอง ณ สำนักงานของจำเลยเขต 13 ชุมพร เขต 14 นครศรีธรรมราชแต่จำเลยย้ายที่ตั้งสำนักงานเขต 13 จากจังหวัดชุมพรไปอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและได้ให้โจทก์นำทรายกรองที่จะต้องส่งมอบให้สำนักงานเขต 14 ไปส่งที่อำเภอห้วยยอดอำเภอย่านตาขาวและอำเภอทุ่งสงจึงเป็นกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไปยังที่แห่งอื่นนอกจากสถานที่อันจะพึงชำระหนี้ จำเลยผู้ซื้อจึงต้องออกใช้ค่าขนส่งทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันไปยังที่แห่งอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 464 โจทก์ส่งมอบทรายกรองบางส่วนแล้วโดยส่งมอบครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 2530 แต่จำเลยมิได้บอกเลิกสัญญาในระยะเวลาอันสมควรเพิ่งจะบอกเลิกสัญญาโดยให้มีผลในวันที่ 31 ตุลาคม 2530และตามสัญญากำหนดให้ปรับเป็นรายวัน จำนวนเบี้ยปรับจึงสูงขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยบอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ส่งมอบทรายกรองไปที่สำนักงานของจำเลยเขต 12 เป็นเงิน 216,642 บาท จำเลยให้การว่าโจทก์ส่งทรายกรองที่สำนักงานเขต 12 ครบถ้วนตามสัญญาโดยมิได้ปฏิเสธค่าทรายกรองตามฟ้อง ดังนั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาทรายกรองซึ่งโจทก์ส่งมอบที่สำนักงานเขต 12 จึงฟังได้ยุติตามฟ้องแล้ว ไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยราคาทรายกรองรายนี้อีก และจำเลยคงต้องชำระค่าทรายกรองรายนี้เป็นเงิน 216,642 บาท ตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าเมื่อจำเลยต้องชำระค่าทรายกรองและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1,053,779.52 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ต้องชำระค่าปรับและค่าทดสอบทรายกรองแก่จำเลย512,950 บาท พร้อมดอกเบี้ย เพื่อความสะดวกในการบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงหักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยื่นฟ้องแย้งก่อนครบกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้โจทก์ชำระค่าปรับและค่าทดสอบ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องแย้งนั้น แม้โจทก์จะให้การต่อสู้ไว้ แต่ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและคู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นดังกล่าวแล้วจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา และที่โจทก์ฎีกาว่าธนาคารกรุงเทพจำกัด ยึดเงินค้ำประกันไว้แทนจำเลย จำเลยอาจอ้างเหตุเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วไปขอรับเงินจากธนาคารได้ทันทีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหายจากสัญญาจ้างที่สิ้นสุดลงจากการบอกเลิกสัญญาและการส่งมอบงานที่ใช้งานไม่ได้
ตามสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิ์เรียกค่่าปรับรายวันในกรณีที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้า โดยโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะเคยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาจ้างให้โจทก์ แต่ใช้งานไม่ได้โจทก์จึงไม่รับสิ่งของมีผลเท่ากับจำเลยที่่ 1 ไม่เคยส่งมอบสิ่งของให้โจทก์เลยโจทก์จึงเรียกค่าปรับรายวันไม่ได้ การว่าจ้างทำแบบพิมพ์เครื่องอัดเปลือกหม้อและฝ่าหม้อแบตเตอรี่อยู่่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่่ 1 แต่ก่อนทำสัญญาจ้างฝ่ายจำเลยได้เสนอหนังสือรับรองที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงทราบก่อนทำสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้างต่อโจทก์ จึงเป็นการให้สัตยาบันในการทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งทำสัญญาดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อในการบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับรายวันเมื่อผู้ขายผิดสัญญาซื้อขาย
จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายดินลูกรัง ข้อ 8 วรรคแรก ที่ว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรกนั้น แต่โจทก์ ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาอีกหลายครั้งและแจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าปรับรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสองของราคาของที่ยังไม่ได้ส่งมอบนับตั้งแต่วันถัดจาก วันครบกำหนดอายุสัญญาจนถึงวันที่โจทก์แจ้งให้ทราบไปชำระ แก่โจทก์ตามที่ระบุในสัญญาข้อ 9 วรรคแรก ฝ่ายจำเลยที่ 1 ก็มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่ายังเป็นฤดูฝนไม่สามารถส่ง ดินลูกรังให้ได้ หากส่งได้เมื่อใดจะดำเนินการให้ทันที แสดงว่า จำเลยที่ 1 ยังมีเจตนาที่จะขายสินค้าให้โจทก์ต่อไป กรณีจึง เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 แต่ยังให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบดินลูกรังได้อีกหากจำเลยที่ 1 ส่งมอบดินลูกรังให้โจทก์ภายในเวลาที่โจทก์กำหนด ย่อมเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ที่จะไม่ถูกริบเงินประกันสัญญาจำนวน 35,880 บาท เพราะโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 วรรคสอง เพียงแต่จำเลยที่ 1จะถูกปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสองของราคาดินลูกรังที่ยังไม่ได้ส่งมอบตามสัญญาข้อ 9 วรรคแรกเท่านั้นซึ่งเป็นเงินจำนวนน้อยกว่าเงินประกันสัญญา แต่เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ยอมส่งมอบดินลูกรังที่โจทก์ทวงถามไป โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 วรรคสาม ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาของที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งค่าปรับ จำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3165/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าปรับควบคู่กับการบอกเลิกสัญญาซื้อขาย หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา
สัญญาซื้อขายมีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรแต่ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาเพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ คดีนี้เมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาไม่ปรากฏว่าจำเลยแสดงเจตนาที่จะขอปฏิบัติตามสัญญาต่อไปอีก ทั้งการที่โจทก์มีหนังสือแจ้งขอสงวนสิทธิการปรับตามสัญญาไปยังจำเลยก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันตามสัญญาแล้วไม่ ดังนี้ต่อมาเมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญากรณีจึงไม่ใช่เป็นการเลิกสัญญาในระหว่างที่มีการปรับ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันจากจำเลยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร
ค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ที่ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น หมายถึงปรับสี่เท่าของราคาของที่แท้จริงรวมกับค่าอากรที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร โดยไม่หักค่าอากรที่ชำระแล้ว
ค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27ที่ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น หมายถึงปรับสี่เท่าของราคาของที่แท้จริงรวมกับค่าอากรที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับจากสัญญาซื้อขาย: สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญา, การลดเบี้ยปรับ
ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยผู้ขายได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนการที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวัน จำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์รวม 4 ครั้ง แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยนั้นเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรกแล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้อีกตามสัญญาข้อ 9 วรรค 2 แต่เนื่องจากโจทก์เรียกค่าปรับมาสูงเกินส่วนเงินค่าปรับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
of 41