คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าล่วงเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง: เงินรายได้ของรัฐหรือไม่ และอำนาจการออกระเบียบ
เงินค่าล่วงเวลาซึ่งจำเลยเก็บจากผู้มาติดต่อนอกเวลาราชการ
ตามกฎกระทรวงมหาดไทยข้อ 8 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 เป็นเงินรายได้ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด ซึ่งจำเลยต้องนำส่งคลังเสียก่อน ส่วนจำเลยจะมีสิทธิในรายได้นี้เท่าใดเป็นเรื่องต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงการคลังที่ 54779/2484 ลงวันที่ 23 กันยายน 2484 ซึ่งเป็นระเบียบการจ่ายเงินค่าล่วงเวลา กฎนี้ไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง จึงไม่ขัดกันกับ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง หรือขัดกับกฎของกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดย พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2493.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาจากคนเข้าเมือง: เงินรายได้เบ็ดเตล็ดต้องส่งคลัง ไม่ใช่สิทธิเจ้าหน้าที่
เงินค่าล่วงเวลาซึ่งจำเลยเก็บจากผู้มาติดต่อนอกเวลาราชการตามกฎกระทรวงมหาดไทย ข้อ 8 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองพ.ศ.2493 เป็นเงินรายได้ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ดซึ่งจำเลยต้องนำส่งคลังเสียก่อน ส่วนจำเลยจะมีสิทธิในรายได้นี้เท่าใดเป็นเรื่องต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงการคลังที่54779/2484 ลงวันที่ 23 กันยายน 2484 ซึ่งเป็นระเบียบการจ่ายเงินค่าล่วงเวลากฎนี้ไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง จึงไม่ขัดกันกับ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง หรือขัดกับกฎของกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดย พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2493

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15467/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่ระงับสิ้นไปแล้ว ไม่อาจนำมาฟ้องร้องได้อีก
อ. ลูกจ้างโจทก์เคยใช้สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่พิพาทจากโจทก์พร้อมเงินอื่น เนื่องจากถูกโจทก์เลิกจ้างในคดีหมายเลขแดงที่ รย.310/2551 ของศาลแรงงานภาค 2 ซึ่งระหว่างการพิจารณาในคดีดังกล่าว อ. กับโจทก์ตกลงกันได้และ อ. ได้สละสิทธิเรียกร้องในเงินค่าล่วงเวลาดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องในค่าล่วงเวลาดังกล่าวนั้นจึงระงับสิ้นไป อ. จึงไม่อาจนำเอาสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาที่ระงับไปแล้วไปยื่นคำร้องต่อจำเลยเพื่อให้พิจารณาและมีคำสั่งได้อีก ดังนั้น อ. จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาจากโจทก์ คำสั่งของจำเลยที่ 78/2551 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2551 ที่ให้โจทก์จ่ายค่าล่วงเวลาแก่ อ. จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14938/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของคู่สัญญาและผู้ควบคุมงานในสัญญาจ้างก่อสร้าง กรณีงานล่าช้าและค่าล่วงเวลา
เมื่อความล่าช้าของงานก่อสร้างเกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 สัญญาจ้างควบคุมงาน ข้อ 19 วรรคแรก ระบุกรณีที่ผู้รับจ้างของหมวดงานใดหมวดงานหนึ่งหรือหลายหมวดงานปฏิบัติงานล่วงเลยกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างก่อสร้างเนื่องจากความผิดของผู้รับจ้างของหมวดงานนั้น ที่ปรึกษาจะได้รับค่าจ้างในอัตราตามที่ระบุไว้ในสัญญาของแต่ละหมวดงาน ตามจำนวนวันที่ได้ปฏิบัติล่วงเลยกำหนดเวลานั้นต่อเมื่อผู้ว่าจ้างได้เรียกร้องเอาจากผู้รับจ้างมาจ่ายให้ที่ปรึกษา จำเลยที่ 1 ได้หักเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายให้จำเลยที่ 2 ในกรณีที่โจทก์ทั้งสามได้ปฏิบัติงานเกินกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างไว้แล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะคู่สัญญากับโจทก์ทั้งสาม จึงต้องรับผิดชำระค่าควบคุมงานในส่วนที่จำเลยที่ 2 ทำงานเกินกำหนดเวลา 28 วัน ตามที่ระบุในสัญญาแก่โจทก์ทั้งสาม แต่สำหรับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้หักเงินหรือได้เรียกร้องค่าจ้างจากจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 เพื่อนำมาจ่ายให้โจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจเรียกเงินส่วนนี้จากจำเลยที่ 1 ได้ และในระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ข้อตกลงตามสัญญาจ้างแต่ละฉบับของคู่สัญญากำหนดไว้ว่าหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจำนวนเงินที่กำหนดและจะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานในเมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่ง อันมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 เมื่อโจทก์ทั้งสามได้ทวงถามให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ชำระเงินดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 จึงต้องผูกพันรับผิดตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
โจทก์ทั้งสามเป็นเพียงตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการควบคุมงานก่อสร้าง มีหน้าที่ควบคุมงานให้เป็นไปตามสัญญาก่อสร้าง และให้ถูกต้องตามหลักวิชาการทางด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในฐานะต้องรับผิดชอบหากจำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ทำงานไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ทั้งตามข้อกำหนดในสัญญาระบุว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับอนุมัติจากผู้ควบคุมงานก่อนทุกครั้งและต้องมีตัวแทนผู้ควบคุมงานอยู่ด้วยตลอดเวลา ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ต้องแจ้งความจำนงไปยังโจทก์ว่าจะทำงานล่วงเวลา มิใช่โจทก์เป็นผู้สั่งและการทำงานล่วงเวลาถ้าเป็นผลทำให้งานตามสัญญาจ้างของผู้รับจ้างทำเสร็จเร็วขึ้น ถือเป็นประโยชน์ของผู้รับจ้างโดยตรง ซึ่งตามสัญญาจ้างได้กำหนดให้ผู้รับจ้างซึ่งจะได้ประโยชน์โดยตรงจากการทำงานล่วงเวลามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ผู้ควบคุมงาน จำเลยที่ 1 จึงหาต้องร่วมรับผิดชำระค่าล่วงเวลาด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18660-18677/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างตามกฎหมาย: ศาลยืนตามคำพิพากษาให้จ่ายค่าล่วงเวลาโดยคำนวณจากค่าครองชีพด้วย
เงินประเภทใดจะเป็นค่าจ้างหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ผู้ใดจะวางระเบียบหรือตกลงให้ผิดไปเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เมื่อตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างปรากฏว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงจ่ายค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างมีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือนตลอดมาทำนองเดียวกับเงินเดือน ไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจ่ายค่าครองชีพเกี่ยวข้องกับภาวะค่าครองชีพโดยเฉพาะหรือจ่ายเพื่อช่วยเหลืออื่นใด ค่าครองชีพดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา 5 ซึ่งต้องนำไปคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลา แม้จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่ให้นำค่าครองชีพไปรวมคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาก็เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อมาตรา 61 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาโดยคำนวณจากค่าจ้าง ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18591-18632/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างงานขนส่ง แม้ไม่มีสิทธิค่าล่วงเวลา ก็ยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามชั่วโมง
เมื่อปรากฏว่างานที่โจทก์ทั้งสี่สิบสองทำเป็นงานขนส่งทางบกและจำเลยไม่ได้ตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบสอง แม้โจทก์ทั้งสี่สิบสองจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาก็ตามแต่ก็มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (9) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 6 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานหากโจทก์ทั้งสี่สิบสองได้ทำงานล่วงเวลา หาใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาแล้วจะถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับค่าจ้างธรรมดาไปด้วยไม่
เมื่อศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนเพียงพอที่ศาลฎีกาจะพิพากษาถึงการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาให้โจทก์แต่ละคนได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนว่าได้ทำงานล่วงเวลาหรือไม่ ทำงานล่วงเวลาจำนวนกี่ชั่วโมง ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยชั่วโมงละเท่าใด กรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ฟังใหม่จะเป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงก็ให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีส่วนนี้ใหม่ตามรูปคดี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 56 วรรคสองและวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17604-17605/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเบิกค่าล่วงเวลาของพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งย้อนหลัง นายจ้างไม่มีสิทธิหักเงิน
ขณะที่จำเลยยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นนักบริหาร 8 หัวหน้าแผนก โจทก์ทั้งสองยังคงเป็นนักบริหาร 7 รองหัวหน้าแผนก ซึ่งมีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดได้โดยชอบตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แม้ต่อมาวันที่ 26 มกราคม 2554 จำเลยจะมีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นนักบริหาร 8 หัวหน้าแผนก โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ซึ่งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีสิทธิเบิกเฉพาะเบี้ยเลี้ยงตามอัตราที่ผู้ว่าการของจำเลยกำหนดเท่านั้น โดยไม่มีสิทธิเบิกค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดก็ตาม ก็ย่อมไม่กระทบสิทธิในการเบิกค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งโจทก์ทั้งสองมีอยู่ก่อนแล้วและไม่อาจมีผลในทางที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ทั้งสองได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักเงินที่โจทก์ทั้งสองเบิกไปเกินกว่าเบี้ยเลี้ยงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2554 ออกจากค่าจ้างของโจทก์ทั้งสองในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม 2554 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16434-16650/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา-ทำงานวันหยุด: งานท่าเรือกรุงเทพไม่ใช่ขนส่ง จ่ายตามประกาศ รัฐวิสาหกิจ
กิจการของจำเลยที่ท่าเรือกรุงเทพเป็นการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้ใช้บริการท่าเรือ จำเลยไม่มีหน้าที่ขนสินค้าไปส่งให้ลูกค้า แต่กำหนดระเบียบให้ลูกค้ามารับสินค้าเองที่ท่าเรือ เมื่อเคลื่อนย้ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นท่าแล้วจะนำไปเก็บไว้ที่โกดังหรือที่ลานกลางแจ้งในบริเวณพื้นที่ของจำเลยเพื่อรอให้เจ้าของสินค้ามารับไป งานที่โจทก์แต่ละคนทำอยู่ในส่วนงานปฏิบัติการเพื่อรองรับการให้บริการในกิจการท่าเรือกรุงเทพของจำเลย ลักษณะของกิจการและลักษณะการทำงานที่จำเลยที่ให้ลูกจ้างจำเลยรวมทั้งโจทก์รวม 217 คน ทำที่ท่าเรือกรุงเทพจึงเป็นเพียงการให้บริการการใช้ท่าเรือและขนถ่ายสินค้าจากเรือนำไปเก็บไว้เพื่อรอให้ผู้มีอำนาจรับสินค้ามารับไปจากท่าเรือของจำเลย โดยมิได้ทำให้สินค้าเคลื่อนที่พ้นจากบริเวณท่าเรือเพื่อให้ถึงผู้รับหรือเจ้าของสินค้า อันเป็นเพียงการขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นท่าเพื่อให้มีการเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างเรือสินค้ากับการขนส่งด้วยยานพาหนะอื่นเท่านั้นไม่ใช่การทำงานขนส่ง จึงไม่ใช่งานขนส่งตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ 40 (2)
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาปรากฏว่าการจ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่จำเลยเหมาจ่ายเป็นภาคมิได้จ่ายให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ข้อ 37 และ 38 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับการจ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่จำเลยเหมาจ่ายเป็นภาคจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีการปฏิบัติกันมานานแล้ว แต่ก็เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมาย ไม่อาจใช้บังคับได้ โจทก์แต่ละคนจึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์หรือยื่นข้อเรียกร้องเป็นหนังสือต่อจำเลยตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 23 หรือมาตรา 25 ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดเป็นหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ข้อ 7
การที่จำเลยถือมติคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยครั้งที่ 5/2526 ให้หน่วยงานของจำเลยคืองานของท่าเรือกรุงเทพเป็นงานขนส่ง แล้วไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ให้ลูกจ้างของจำเลยทุกคนที่ทำงานอยู่ที่ท่าเรือกรุงเทพนั้น ลูกจ้างอื่นของจำเลยจึงเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรให้คำพิพากษาผูกพันจำเลยและลูกจ้างอื่นของจำเลยด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 53

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375-1437/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ศาลพิพากษาชอบธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงาน และประเด็นค่าล่วงเวลา
โจทก์ทั้งหกสิบสามบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาจ้างแรงงานแทนบริษัท ฤ. นายจ้างซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ในประเทศกาตาร์ แม้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างและส่งโจทก์ทั้งหกสิบสามไปทำงานที่ประเทศกาตาร์โดยเป็นตัวแทนของบริษัท ฤ. หรือฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้ตกลงรับโจทก์ทั้งหกสิบสามเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ หากจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดในฐานะตัวแทนของตัวการที่อยู่ต่างประเทศหรือในฐานะนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง ไม่ถือว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยหรือพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดพยานหลักฐานในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามข้ออ้างในคำฟ้องหรือไม่เท่านั้น
โจทก์ทั้งหกสิบสามฟ้องขอให้จำเลยคืนหนังสือค้ำประกันธนาคารหรือออกหนังสือแสดงความยินยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชี เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยเรียกให้ธนาคารชำระเงินและธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันของโจทก์ทั้งหกสิบสามให้แก่จำเลยแล้ว จึงให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวคืนแก่โจทก์ทั้งหกสิบสาม ซึ่งเป็นการพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินที่ ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามที่เห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งหกสิบสามโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ให้จำเลยคืนเงินตามจำนวนที่โจทก์แต่ละคนวางไว้ที่ธนาคารเพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ให้โจทก์ทั้งหกสิบสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752-780/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา-การทำงานนอกเวลาปกติ-การบังคับคดี-สิทธิเรียกร้องค่าเช่า: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
คดีนี้ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยไปครั้งหนึ่งแล้วว่าลักษณะการทำงานของโจทก์ทั้ง 29 คน ไม่ใช่งานขนส่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 (2) คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในปัญหานี้ย่อมเป็นอันยุติ จำเลยจะรื้อฟื้นในประเด็นข้อกฎหมายนี้มาให้วินิจฉัยอีกไม่ได้ อุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ป.วิ.พ. มาตรา 104 ซึ่งอนุโลมใช้แก่คดีแรงงานด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบพยานมาก่อนมีคำพิพากษานั้นเพียงพอให้ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเป็นยุติและพอวินิจฉัยได้แล้วจึงวินิจฉัยคดีโดยไม่อนุญาตให้จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติม ถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้ใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริงแล้ว
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ทั้ง 29 คน เข้าเวรทำงานล่วงเวลาในวันปกติและในวันหยุดในวันและเวลาแน่นอน โจทก์ทั้ง 29 คน เข้าเวรทำงานล่วงเวลาตามคำสั่งครบถ้วนหรือไม่มีเอกสารลงเวลาทำงานเป็นหลักฐานแน่ชัดอยู่แล้วซึ่งเป็นไปตามระเบียบการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าล่วงเวลา ดังนั้น ในบางวันบางเดือนโจทก์บางคนอาจจะต้องเข้าเวรทำงานตามคำสั่งของจำเลยรวมเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ได้ตามที่ปรากฏจริง อันเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ เมื่อโจทก์ทั้ง 29 คน เข้าเวรทำงานตามคำสั่งของจำเลยแล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ทั้ง 29 คน เต็มตามระยะเวลาที่เข้าเวรเพื่อทำงานล่วงเวลา
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งใช้บังคับแก่ทุกรัฐวิสาหกิจ คำสั่งทั้งสามฉบับของจำเลยที่กำหนดอัตราค่าล่วงเวลาของพนักงาน จำเลยจึงต้องอยู่ในบังคับของระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าว เมื่อลักษณะการทำงานของโจทก์ทั้ง 29 คน ไม่ใช่งานขนส่งที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 (2) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้ง 29 คน
สิทธิตามสัญญาเช่าเป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 138 ดังนั้นสิทธิเรียกร้องเงินค่าเช่าที่ดินตามสัญญาเช่าของจำเลยซึ่งเป็นสิทธิตามสัญญาเช่าอย่างหนึ่งจึงเป็นทรัพย์สินของจำเลย แม้จะยังไม่เป็นรายได้ของรัฐตาม พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 39 แต่ก็เป็นรายได้อันเป็นทรัพย์สินของจำเลย จึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
of 12