คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าสินไหมทดแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันมีมูลเหตุจากการละเมิดที่จำเลยขับรถยนต์ชนเด็กชาย ส. ผู้เยาว์ เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่แม้ผู้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็จะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตาม ป.พ.พ. มาตรา1574 (12) โจทก์ฟ้องจำเลยในนามของตนเอง ทั้งโจทก์เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส. จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะกระทำการแทนเด็กชาย ส. แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5539/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความสูญหายของรถยนต์ในโรงแรม
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเมื่อ12 มีนาคม 2527 หลังเกิดเหตุผู้เอาประกันภัยไปแจ้งความในวันเดียวกัน โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 แล้วมายื่นฟ้องในวันที่ 10 ตุลาคม 2527 เกินกำหนดเวลา 6 เดือนคดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 678

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5539/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากโรงแรม กรณีรถยนต์สูญหายในโรงแรม
ตามสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยมีมูลหนี้สืบเนื่องมากจาก ช. ผู้เอาประกันภัยได้นำรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้ไปจอดในบริเวณโรงแรมของจำเลยซึ่งจำเลยในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆอันเกิดแต่ทรัพย์สิน ซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามาซึ่งเกี่ยวกับอายุความเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในกรณีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 678 มีอายุความ 6 เดือนนับแต่คนเดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่นั้น เมื่อเหตุรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเกิดขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม 2527หลังเกิดเหตุ ช. ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนแล้วเดินทางกลับกรุงเทพมหานครในวันเดียวกัน โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยตามมาตรา 880 มาและยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากจำเลย เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2527เกินกำหนดเวลาหกเดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสน – การโต้แย้งข้อเท็จจริง – ค่าสินไหมทดแทน – ละเมิด
โจทก์ทั้งสามต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3กับพวกร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดให้แก่โจทก์แต่ละคน แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมาก็ตาม แต่ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเป็นราย ๆ ไป ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ทั้งสามในส่วนของค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสาม ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ร่วมกับพวกรับผิดชำระแก่โจทก์ทั้งสามตามฟ้อง ส่วนค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีศพกับค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับพวกรับผิดรายการละ 20,000 บาท ตามลำดับโดยศาลอุทธรณ์ฟังว่า ความเสียหายเป็นผลมาจากการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามตามฟ้อง โดยอ้างการตายของผู้ตายมิได้เกิดจากการกระทำโดยละเมิดของจำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสามมิได้รับความเสียหายตามจำนวนเงินที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ ฎีกาของจำเลยที่ 2และที่ 3 จึงเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขึ้นมานั้นเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยเมื่อมีการจำนองและโอนทรัพย์สิน สิทธิจะตกเป็นของผู้ใด
ที่ดินและตึกแถวเป็นของ ศ. ซึ่งได้จำนองแก่ธนาคารและได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับประโยชน์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 231 สิทธิจำนองย่อมครอบไปถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้รับประกันภัย อันมีความหมายว่าค่าสินไหมทดแทนที่ธนาคารผู้รับจำนองจะพึงเรียกได้จากจำเลยผู้รับประกันภัยก็ตกอยู่ในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกับทรัพย์ที่จำนองดังนั้นหากเกิดเพลิงไหม้ตึกแถวในระหว่างการจำนอง ธนาคารย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยแทนตึกแถวจากจำเลยได้โดยตรง จึงเป็นกรณีที่ธนาคารในฐานะเจ้าหนี้จำนองรับช่วงทรัพย์อันได้แก่สิทธิเรียกร้องของ ศ. ลูกหนี้ที่เอาประกันภัยที่มีอยู่กับจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยตามมาตรา 226 วรรค 2 เมื่อตึกแถวมิได้ถูกเพลิงไหม้ในระหว่างการจำนองและ ศ. ได้จดทะเบียนไถ่จำนองโดยโจทก์เป็นผู้ชำระหนี้แก่ธนาคารแทน ศ.แล้วศ. ได้จดทะเบียนโอนขายให้โจทก์โดยปลอดการจำนอง จึงทำให้สิทธิจำนองระงับไปและธนาคารผู้รับจำนองหมดสิทธิที่จะได้รับช่วงทรัพย์อันได้แก่สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ ศ. มีอยู่ต่อจำเลยอีกต่อไปตามมาตรา 231 สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรมธรรม์ประกันภัยจึงกลับมาเป็นของ ศ. ผู้เอาประกันภัยตามเดิม ต่อมาเกิดเพลิงไหม้ตึกแถวโจทก์ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ได้รับช่วงสิทธิด้วยอำนาจกฎหมายจากธนาคารผู้รับจำนองเพราะโจทก์เป็นบุคคลผู้ได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์และเอาเงินราคาค่าซื้อให้แก่ผู้รับจำนองทรัพย์สินเสร็จไปตามมาตรา 229(2) การที่ ศ. โอนตึกแถวให้โจทก์ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในสัญญาประกันภัยของ ศ. จะโอนมาเป็นของโจทก์ด้วยหรือไม่นั้นต้องบังคับตามมาตรา 875 วรรคสอง เมื่อ ศ. ผู้เอาประกันภัยไม่ได้บอกกล่าวการโอนให้จำเลยทราบเพราะไม่ทราบเงื่อนไขจนกระทั่งเกิดเพลิงไหม้ตึกแถว สิทธิในสัญญาประกันภัยจึงไม่โอนตามไปด้วยและตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ว่าสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยย่อมระงับสิ้นไปเมื่อทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ได้เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยวิธีอื่นนอกจากทางพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการชำระค่าสินไหมทดแทนจากเงินประกัน กรณีความเสียหายจากการเนิ่นช้า
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดวางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 (1) นั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องในคดีนั้นว่าเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องทำให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ราคาต่ำไป ขอให้บังคับผู้ร้องใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายของโจทก์ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะต้องไต่สวนเสียก่อนว่าเป็นความจริงหรือไม่ หากเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำร้องและเงินที่วางไว้เป็นประกันดังกล่าวเพียงพอที่จะชำระค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามคำร้อง โจทก์ก็ชอบที่จะบังคับชำระเอาค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายของโจทก์จากเงินประกันที่ผู้ร้องวางไว้ได้โดยไม่จำต้องไปฟ้องเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้ร้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากความล่าช้าบังคับคดี: ศาลต้องไต่สวนก่อนสั่งยกคำร้อง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดวางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288(1) นั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องในคดีนั้นว่าเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องทำให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ราคาต่ำไป ขอให้บังคับผู้ร้องใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายของโจทก์ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะต้องไต่สวนเสียก่อนว่าเป็นความจริงหรือไม่หากเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำร้องและเงินที่วางไว้เป็นประกันดังกล่าวเพียงพอที่จะชำระค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามคำร้อง โจทก์ก็ชอบที่จะบังคับชำระเอาค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายของโจทก์จากเงินประกันที่ผู้ร้องวางไว้ได้โดยไม่จำต้องไปฟ้องเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้ร้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องช่วงและดอกเบี้ยจากการชำระค่าสินไหมทดแทน: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทน
โจทก์จ่ายเงินแทน ป. ผู้เอาประกันภัยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2530 โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าวจึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้มีประกันภัย ผู้เสียหายยังเรียกค่าสินไหมจากผู้ละเมิดได้ เพราะจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมาย
แม้บริษัทประกันภัยที่โจทก์เอาประกันภัยไว้จะเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลแทนโจทก์ไปแล้วอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาประกันภัย แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยได้อีก เพราะจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดที่ได้กระทำต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยค้ำจุน: ใช้มาตรา 882 ไม่ใช่ 448
ผู้ต้องเสียหายจากการกระทำละเมิดสามารถฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้ต้องเสียหายเข้าชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหาย ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ในนามของโจทก์เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 880 และกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 คือ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จะนำอายุความละเมิดตาม มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้
of 36