พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า: ศาลพิจารณาความสามารถของทั้งสองฝ่ายและเปลี่ยนแปลงจากข้อตกลงเดิมได้
ข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบของผู้ร้อง ซึ่งผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่าบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้องเป็นการถาวรตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นแม้ในหนังสือข้อตกลงหย่า ข้อ 1.2 ระบุว่า ฝ่ายชายยินดีให้ค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่า โดยจะแบ่งจ่ายเป็นรายอาทิตย์ทั้งนี้ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อเดือน โดยโอนเข้าบัญชีฝ่ายหญิงทุกครั้ง... ก็ตาม แต่เหตุที่ตกลงเช่นนั้นก็เนื่องมาจากขณะนั้นบุตรผู้เยาว์พักอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเมื่อปรากฏว่าข้อเท็จจริงได้เปลี่ยนแปลงไปโดยบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้อง ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องเป็นผู้ชำระทั้งสิ้น ทั้งผู้คัดค้านก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าตั้งแต่บุตรผู้เยาว์ย้ายมาพักอาศัยกับผู้ร้องแล้วผู้คัดค้านได้ใช้จ่ายสิ่งใดที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ไปบ้าง ดังนั้น หากให้ผู้ร้องต้องชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านตามข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 อีก ก็เท่ากับว่าผู้ร้องต้องชำระเงินเพิ่มจากที่ตกลงกันไว้ ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของคู่สัญญาที่ประสงค์จะให้ข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 เป็นไปเพื่อการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อย่างแท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าทดแทนหลังการหย่าตกทอดถึงทายาทและปรับอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ โดยสิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น แม้จะสละหรือโอนมิได้และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 1598/41 ก็ตาม แต่โจทก์มีสิทธิดังกล่าวก่อนที่จะถึงแก่ความตาย ประกอบกับโจทก์ได้ใช้สิทธิยื่นฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 ตามสิทธิแล้ว สิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์โดยแท้ และเป็นกองมรดกของโจทก์ตามมาตรา 1600 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายสิทธินี้ย่อมตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599