พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการค้ำประกัน การลงลายมือชื่อในเอกสารประกอบสัญญา
สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทในช่องผู้ค้ำประกันมีชื่อจำเลยที่ 2ได้ลงลายมือชื่อไว้ และมีข้อความระบุไว้อยู่เหนือลายมือชื่อว่า ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันกู้เงินให้แก่...มีข้อสัญญาดังแจ้งต่อไปนี้ ซึ่ง...ผู้กู้ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินของท่านไปเมื่อวันที่...เดือน...พ.ศ... นั้น ถ้า...ล้มตายเสียก็ดี หลบหนีหายไปเสียก็ดี หรือมีตัวอยู่ก็ดี ท่านจะเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยแก่...ไม่ได้โดยเหตุประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าผู้ค้ำประกันยอมใช้ต้นเงิน ดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่น ๆ ให้แก่ท่านตามที่...ได้ทำสัญญาไว้ให้แก่ท่านจนครบ ทันใดนี้ผู้เขียนสัญญาได้อ่านข้อสัญญาให้ข้าพเจ้าเข้าใจโดยละเอียดตลอดทุกข้อแล้ว ข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานผู้อยู่พร้อมกัน ณ ที่นี้ ข้อความดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับรองไว้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกันแต่อยู่คนละหน้าต่อจากหนังสือสัญญากู้เงินที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมคือจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญ ข้อความดังกล่าวอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตามป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสอง โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการค้ำประกันเงินกู้ที่สมบูรณ์ และสิทธิของโจทก์ในการบังคับคดีผู้ค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทในช่องผู้ค้ำประกันมีชื่อจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้ และมีข้อความระบุไว้อยู่เหนือลายมือชื่อว่า ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันกู้เงินให้แก่ มีข้อสัญญาดังแจ้งต่อไปนี้ ซึ่ง ผู้กู้ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินของท่านไปเมื่อวันที่ เดือน พ.ศ.นั้น ถ้า ล้มตายเสียก็ดี หลบหนีหายไปเสียก็ดีหรือมีตัวอยู่ก็ดี ท่านจะเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยแก่ไม่ได้ โดยเหตุประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าผู้ค้ำประกันยอมใช้ต้นเงิน ดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่น ๆ ให้แก่ท่านตามที่ได้ทำสัญญาไว้ให้แก่ท่านจนครบ ทันใดนี้ผู้เขียนสัญญาได้อ่านข้อสัญญาให้ข้าพเจ้าเข้าใจโดยละเอียดตลอดทุกข้อแล้วข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานผู้อยู่พร้อมกัน ณ ที่นี้ ข้อความดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับรองไว้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกันแต่อยู่คนละหน้าต่อจากหนังสือสัญญากู้เงินที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ผู้ยืมคือจำเลยที่ 1เป็นสำคัญ ข้อความดังกล่าวอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันค่าแรงล่วงหน้า: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาภายในระยะเวลาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ตามที่บริษัท ย. มีความประสงค์จะทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้ซึ่งในการนี้บริษัท ย. จะต้องมีหนังสือรับรองของธนาคารค้ำประกันเป็นจำนวนเงิน 4,400,000 บาท โดยหนังสือฉบับนี้จำเลยที่ 1 ขอรับเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ย. ต่อโจทก์สำหรับการทำสัญญาเบิกเงินล่วงหน้าค่าแรงโครงการแมกไม้คราวนี้ไว้ภายในวงเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 4,400,000 บาทจากข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันแสดงเจตนายินยอมที่จะเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าแรงจ่ายล่วงหน้าจำนวน 4,400,000 บาท ตามข้อกำหนดในสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ย. ตามสัญญาจ้างก่อสร้างสาธารณูปโภคโดยที่ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ได้จ่ายเงินค่าแรงล่วงหน้าจำนวน4,400,000 บาท ให้แก่บริษัท ย. ไปแล้ว ที่หนังสือค้ำประกันระบุไว้ตามสัญญาข้อ 3 ว่าหนังสือค้ำประกันฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป และสิ้นสุดวันที่ 15 ตุลาคม 2535หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 ไม่รับผิดชอบใด ๆทั้งสิ้น หมายความว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันมีเจตนาจะให้หนังสือค้ำประกันมีผลผูกพันและใช้บังคับกันได้ตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป กล่าวคือ หากเกิดกรณีที่บริษัท ย. จะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินจำนวน 4,400,000 บาทที่ได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้รับผิดชดใช้ในจำนวนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามหนังสือค้ำประกันฉบับนี้นับแต่วันดังกล่าว กรณีมิใช่ว่าการรับเงินจำนวน 4,400,000 บาทของบริษัท ย. จากโจทก์จะต้องกระทำขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วยไม่ แต่ขณะเดียวกันหากเหตุแห่งการที่บริษัท ย.จะต้องรับผิดชอบในเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 1 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันก็หาจำต้องรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันด้วยไม่ หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาท จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงิน 4,400,000 บาท ที่โจทก์จ่ายค่าแรงล่วงหน้าให้ไว้แก่บริษัท ย.และเมื่อบริษัทย. มิได้กระทำการก่อสร้างสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาแก่บริษัท ย. โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งคำฟ้องโจทก์ไว้โดยแจ้งชัดว่า บริษัท ย. มิได้กระทำผิดสัญญาอย่างไร จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า บริษัท ย. แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่ามิได้กระทำผิดสัญญาเท่านั้น ในชั้นพิจารณาคดีจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไว้จึงต้องฟังตามข้อนำสืบของโจทก์ว่า บริษัท ย. เป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับบริษัท ย.ขณะที่อยู่ในระยะเวลาตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 1ได้กำหนดระยะเวลารับผิดชอบไว้ จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชอบชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้จ่ายค่าแรงหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่บริษัท ย. ไปจากจำเลยผู้ค้ำประกันของบริษัท ย. ไปตามสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน แม้เจ้าหนี้ไม่คัดค้านการขอกันส่วนจากทรัพย์สินที่จำนอง
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ตามสัญญากู้เงินส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการกู้เงินดังกล่าว โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ภายในวงเงินที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ค้ำประกันไว้ ซึ่งตามหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า"นอกจากนี้ผู้ค้ำประกันย่อมไม่พ้นจากความรับผิดเพราะเหตุธนาคารอาจกระทำการใด ๆ ไปเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือบางส่วนในสิทธิใด ๆ ก็ดี จำนองก็ดี จำนำก็ดี และบุริมสิทธิซึ่งลูกหนี้หรือบุคคลอื่นใดก็ตามได้ให้ไว้แก่ธนาคารแต่ก่อนหรือในขณะหรือหลังจากวันทำสัญญาค้ำประกันนี้"และข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะคู่สัญญาดังนี้ แม้โจทก์ผู้รับจำนองเพิกเฉยไม่คัดค้านการร้องขอกันส่วนของจำเลยที่ 4 สามีจำเลยที่ 1 ในฐานะสินสมรสทำให้จำเลยที่ 4 ได้รับเงินส่วนที่ขอกันไว้750,000 บาท จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องเสียหายก็ตามจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดไปได้ และต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ค้ำประกันหนี้ลูกหนี้ที่มีฐานะล้มละลาย ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ในขณะที่เจ้าหนี้เข้าเป็นกรรมการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ก็มีหนี้สินมาก อย่างน้อยธนาคาร อ. ก็เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ และถึงขนาดที่มีการตรวจสอบฐานะและต้องแนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าไปบริหารของลูกหนี้แล้ว ฐานะของลูกหนี้จึงมิได้อยู่ในสภาพที่ดีหรือมั่นคง ตรงกันข้ามการที่เจ้าหนี้ต้องค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับในฐานะส่วนตัวต่อธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่แนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้เข้าไปบริหารงานของลูกหนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดถึงภาวะความมีหนี้สินล้นพ้นตัวถึงขนาดที่ลำพังฐานะของลูกหนี้อยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจได้แล้วแน่ชัด ฉะนั้น การที่เจ้าหนี้ยังยอมตนเข้าค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับ จึงเป็นการกระทำที่เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ค้ำประกันหนี้ลูกหนี้ที่ฐานะไม่มั่นคง ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ในขณะที่เจ้าหนี้เข้าเป็นกรรมการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ก็มีหนี้สินมาก อย่างน้อยธนาคาร อ. ก็เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ และถึงขนาดที่มีการตรวจสอบฐานะและต้องแนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าไปบริหารของลูกหนี้แล้ว ฐานะของลูกหนี้จึงมิได้อยู่ในสภาพที่ดีหรือมั่นคง ตรงกันข้ามการที่เจ้าหนี้ต้องค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับในฐานะส่วนตัวต่อธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่แนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้เข้าไปบริหารงานของลูกหนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดถึงภาวะความมีหนี้สินล้นพ้นตัวถึงขนาดที่ลำพังฐานะของลูกหนี้อยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจได้แล้วแน่ชัด ฉะนั้น การที่เจ้าหนี้ยังยอมตนเข้าค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับ จึงเป็นการกระทำที่เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7187/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค้ำประกันเบิกเกินบัญชี, สัญญาค้ำประกัน, การแปลงหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ยทบต้น
ข้อตกลงการคิดดอกเบี้ยในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่ให้เป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร หมายความว่าให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีของธนาคารพาณิชย์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยต้องถือตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในอัตราร้อยละ15 ต่อปีเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ และจะชำระให้เป็นรายเดือนมิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับ การที่มีบุคคลอื่นมาค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์อีกไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเดิมพ้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ และจะชำระให้เป็นรายเดือนมิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับ การที่มีบุคคลอื่นมาค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์อีกไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเดิมพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายลดเช็คและการค้ำประกันหนี้: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขายลดเช็คต่อสาขาใดของโจทก์
สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งที่ไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่ามีลักษณะหรือรูปแบบใดเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้การที่จำเลยที่1ออกเช็คให้ธนาคารและจำเลยที่1ได้รับเงินไปจากธนาคารจึงเป็นการขายลดเช็คตามที่ได้ตกลงกันไว้ได้ ธนาคารโจทก์สาขาส. และสาขาร. ต่างเป็นตัวแทนของโจทก์และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อธนาคารโจทก์เท่านั้นหาได้ระบุไว้แต่อย่างใดว่าเจตนาค้ำประกันหนี้จำเลยที่1ต่อโจทก์สาขาหนึ่งสาขาใดเลยฉะนั้นไม่ว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์สาขาใดก็ตามจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้และการหลุดพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกัน สัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าบางส่วนเป็นเงิน 52,000 บาท จากจำเลยที่ 1และที่ 2 ไปแล้ว ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อเป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกกันมิได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมได้รับผลเป็นคุณด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้นั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ซื้อสินค้าโจทก์ และจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 2จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็คฉบับเก่า แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้นั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ซื้อสินค้าโจทก์ และจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 2จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็คฉบับเก่า แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันสัญญาซื้อขาย: การผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดหากเจ้าหนี้ยังบังคับชำระหนี้ได้
จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าบางส่วนเป็นเงิน 52,000 บาทจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปแล้ว ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อเป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกกันมิได้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมได้รับผลเป็นคุณด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ซื้อสินค้าโจทก์ และจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้แม้จำเลยที่ 2 จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็คฉบับเก่า แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 จำเลยที่ 3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน