พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7331/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้าย และการใช้โดยสุจริตเพื่อไม่ให้สับสน
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า Em - eukal จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาเป็นเวลานาน การที่โจทก์ใช้คำว่า Kinder Em - eukal ประกอบรูปการ์ตูนเด็กผู้ชายเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์นี้ โจทก์ต้องการให้คำว่า Em - eukal ที่มีชื่อเสียงของโจทก์ดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญเพื่อแสดงให้ผู้บริโภคได้รู้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า Kinder Em - eukal กับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า Em - eukal เป็นสินค้าของผู้เป็นเจ้าของรายเดียวกันคือโจทก์ โจทก์และจำเลยต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าของตน ที่มีคำว่า Kinder และต่างได้รับการจดทะเบียนในประเทศต่าง ๆ มาแล้วหลายประเทศ แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีการใช้คำว่า KINDER ซึ่งมีความหมายว่า เด็กหลายคน เป็นเพียงการใช้ประกอบเพื่อขาย คำว่า Em - eukal ที่โจทก์ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าจนมีชื่อเสียงมาก่อนแล้ว เครื่องหมายการค้าคำว่า Kinder Em - eukal ประกอบรูปการ์ตูนเด็กผู้ชายของโจทก์นอกจากมิได้มีสาระสำคัญเป็นลักษณะเด่นอยู่ที่คำว่า KINDER อย่างที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีสาระสำคัญเป็นลักษณะเด่นที่คำว่า Em - eukal และยังมีรูปการ์ตูนเด็กผู้ชายประกอบอีกด้วยจึงมีจุดแตกต่างกับจำเลยในส่วนสำคัญอย่างเห็นได้ชัดซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้เป็น ที่สังเกตแยกให้เห็นความแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้โดยง่ายทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นได้ด้วยว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้านี้โดยสุจริต มิใช่การใช้คำว่า Kinder เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าโดยหวังที่จะอาศัยชื่อเสียงเกียรติคุณจากเครื่องหมายการค้าของจำเลย เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดของสินค้า
โจทก์มีคำขอให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอเลขที่ 275102 เท่ากับเป็นการขอให้บังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ไปเลยทั้งที่นายทะเบียนยังจักต้องดำเนินการแจ้งให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 40 วรรคสองเสียก่อน หากโจทก์ไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดก็ถือว่าโจทก์ทิ้งคำขอจดทะเบียนในชั้นนี้ศาลย่อมไม่อาจก้าวล่วงพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอของโจทก์ได้ต้องพิพากษาเพียงว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย จนทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
โจทก์มีคำขอให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอเลขที่ 275102 เท่ากับเป็นการขอให้บังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ไปเลยทั้งที่นายทะเบียนยังจักต้องดำเนินการแจ้งให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 40 วรรคสองเสียก่อน หากโจทก์ไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดก็ถือว่าโจทก์ทิ้งคำขอจดทะเบียนในชั้นนี้ศาลย่อมไม่อาจก้าวล่วงพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอของโจทก์ได้ต้องพิพากษาเพียงว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย จนทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้จดทะเบียนซื้อด้วยชื่อฝ่ายเดียว
ขณะที่ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจำเลยกับผู้ร้องยังอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ร่วมกันประกอบกิจการค้าขายเสื้อผ้าจนกระทั่งจดทะเบียนตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดในเวลาต่อมา ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกัน แม้จะมีชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกันและมีเจตนาเป็นเจ้าของในทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยและผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินพิพาทคงมีสิทธิเฉพาะที่จะร้องขอกันส่วนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินพิพาทคงมีสิทธิเฉพาะที่จะร้องขอกันส่วนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6536/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้ไม่มีการจดทะเบียน
กรณีที่จะเสนอคดีต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอนั้น หมายถึงกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิ แต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล
โจทก์บรรยายฟ้องโดยอ้างสภาพแห่งข้อหาว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครอง ปรปักษ์ จำเลยได้กระทำการโต้แย้งสิทธิโดยขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง และให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็น ชื่อโจทก์ เมื่อสภาพแห่งข้อหาของโจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง ปรปักษ์เพียงประการเดียว แต่โจทก์ยังขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นชื่อโจทก์ อีกทั้งห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกด้วย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาท ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจโดยทำเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วยมาตรา 172 วรรคแรก
แม้เอกสารฉบับพิพาทซึ่งเป็นหลักฐานการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุชื่อว่า "หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ" ก็เป็นผลสืบเนื่องจากการที่โจทก์กับจำเลยได้นำแบบฟอร์มของหนังสือสัญญาดังกล่าวมาใช้เพื่อความสะดวกแก่การทำสัญญาเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อความอันเป็นข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์กับจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันหรือไม่ เมื่อใด ประกอบกับโจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญานั้นเอง และจำเลยก็ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้า ครอบครองนับแต่วันทำเอกสารฉบับพิพาทเป็นต้นไป เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าทั้งฝ่ายโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนา จะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และแม้สัญญาซื้อขาย ดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก แต่การที่โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิใช่เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย เมื่อโจทก์ได้ครอบครอง ที่ดินพิพาทติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
โจทก์บรรยายฟ้องโดยอ้างสภาพแห่งข้อหาว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครอง ปรปักษ์ จำเลยได้กระทำการโต้แย้งสิทธิโดยขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง และให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็น ชื่อโจทก์ เมื่อสภาพแห่งข้อหาของโจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง ปรปักษ์เพียงประการเดียว แต่โจทก์ยังขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นชื่อโจทก์ อีกทั้งห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทอีกด้วย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาท ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจโดยทำเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วยมาตรา 172 วรรคแรก
แม้เอกสารฉบับพิพาทซึ่งเป็นหลักฐานการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุชื่อว่า "หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ" ก็เป็นผลสืบเนื่องจากการที่โจทก์กับจำเลยได้นำแบบฟอร์มของหนังสือสัญญาดังกล่าวมาใช้เพื่อความสะดวกแก่การทำสัญญาเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อความอันเป็นข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์กับจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันหรือไม่ เมื่อใด ประกอบกับโจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยรับไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญานั้นเอง และจำเลยก็ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้า ครอบครองนับแต่วันทำเอกสารฉบับพิพาทเป็นต้นไป เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าทั้งฝ่ายโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนา จะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และแม้สัญญาซื้อขาย ดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก แต่การที่โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิใช่เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย เมื่อโจทก์ได้ครอบครอง ที่ดินพิพาทติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6536/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้ไม่ได้จดทะเบียน การครอบครองเกิน 10 ปีทำให้ได้กรรมสิทธิ์
กรณีที่จะเสนอคดีต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอได้นั้น หมายถึงกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิ แต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง และให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์ โจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เพียงประการเดียวอันจะเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทซึ่งโจทก์ต้องเสนอคดีของตนต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(1) จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบกับมาตรา 172 วรรคแรก
เอกสารการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุชื่อว่า"หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ" แต่ไม่ได้ระบุข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันหรือไม่เมื่อใด ประกอบกับโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญาและจำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองนับแต่วันดังกล่าว เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้จะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก แต่โจทก์เข้าครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง และให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์ โจทก์มิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เพียงประการเดียวอันจะเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทซึ่งโจทก์ต้องเสนอคดีของตนต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(1) จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบกับมาตรา 172 วรรคแรก
เอกสารการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุชื่อว่า"หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ" แต่ไม่ได้ระบุข้อตกลงที่เป็นการแน่นอนว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันหรือไม่เมื่อใด ประกอบกับโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญาและจำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองนับแต่วันดังกล่าว เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนโอนที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้จะตกเป็นโมฆะเนื่องจากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก แต่โจทก์เข้าครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง หากพิสูจน์การใช้จริงได้
ฟ้องแย้งของจำเลยอ้างว่าจำเลยใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าและโฆษณามาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และมีคำขอให้โจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้แก่จำเลย กับห้ามโจทก์ใช้หรือขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยมิได้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อให้เกิดผลให้โจทก์สิ้นสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ตามวัตถุประสงค์ของจำเลยและตามที่จำเลยมีสิทธิขอให้ศาลบังคับได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 เป็นการพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่เข้าใจได้จากรายละเอียดของฟ้องแย้ง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 อีกต่อไปแต่จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "CORAL" ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง เพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท จึงไม่ชอบ
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 อีกต่อไปแต่จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีคำว่า "CORAL" ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง เพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8319/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์ที่ยังไม่จดทะเบียน: จำเลยต้องรับผิดชอบให้รถยนต์สามารถจดทะเบียนและใช้งานได้
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ยังมิได้จดทะเบียนและเสียภาษีประจำปี ตกลงขายรถยนต์แก่โจทก์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สำหรับใช้เป็นยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังแรงแห่งเครื่องจักร ตามสภาพของตัวทรัพย์ที่ซื้อขายกัน เป็นสัญญาส่งมอบรถยนต์ในฐานะเป็นรถยนต์ไม่ใช่เศษเหล็กและจำเลยต้องส่งมอบให้โจทก์ได้ผลใช้รถยนต์นั้นได้ หมายความว่า จำเลยจะกระทำตามที่จำเป็นเพื่อให้โจทก์ได้จดทะเบียนรถนั้น เมื่อรถยนต์ที่จำเลยขายยังมิได้จดทะเบียนให้ถูกต้อง ต้องห้ามมิให้นำออกใช้ ถือว่าจำเลยส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ของสัญญาซื้อขาย การชำระหนี้ของจำเลยจึงไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ของสัญญา นอกจากนี้จำเลยยังมีความผูกพันที่จะต้องแจ้งการโอนรถให้โจทก์ต่อนายทะเบียนในลำดับต่อมาอีกด้วย แม้โจทก์จะมอบรถยนต์ให้แก่ ร. ครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว ทั้งรถยนต์ที่จำเลยขายจำต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายครบถ้วนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ให้ครบบริบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8319/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์ยังไม่จดทะเบียน: จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนและโอนรถให้โจทก์ตามสัญญาและกฎหมาย
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนและเสียภาษีประจำปี ตกลงขายรถยนต์แก่โจทก์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สำหรับใช้เป็นยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังแรงแห่งเครื่องจักร ตามสภาพของตัวทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นสัญญาส่งมอบรถยนต์ในฐานะเป็นรถยนต์อันไม่ใช่เศษเหล็กและจำเลยต้องส่งมอบให้โจทก์ได้ผลใช้รถยนต์นั้นได้หมายความว่าจำเลยจะกระทำตามที่จำเป็นเพื่อให้โจทก์ได้จดทะเบียนรถนั้นเมื่อรถยนต์ที่จำเลยขายยังมิได้จดทะเบียนให้ถูกต้อง ต้องห้ามมิให้นำออกใช้ถือว่าจำเลยส่งมอบรถโดยสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อประโยชน์ของสัญญาซื้อขาย หมายถึงการชำระหนี้ของจำเลยไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ของสัญญา นอกจากนี้จำเลยยังมีความผูกพันที่จะต้องแจ้งการโอนรถให้โจทก์ต่อนายทะเบียนในลำดับต่อมาอีกด้วยแม้โจทก์จะมอบรถยนต์ให้แก่ ร. ครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อแล้วทั้งรถยนต์ที่จำเลยขายจำต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายครบถ้วนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ให้ครบถ้วนบริบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ต้องพิจารณาสภาพรถ ณ เวลาจดทะเบียน ไม่ใช่การดัดแปลงภายหลัง
ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ได้ระบุไว้ว่า รถยนต์นั่ง หมายความว่า รถยนต์เก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างและหรือด้านหลังคนขับมีประตู หรือหน้าต่างและมีที่นั่งทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด ส่วนรถยนต์กระบะ หมายความว่ารถยนต์ ที่มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวสำหรับคนขับ และตอนหลังเป็นกระบะบรรทุกซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา ถ้อยคำที่ปรากฏตามตัวอักษรดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยแจ้งชัดว่าการเสียภาษีสรรพสามิตตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้น ต้องดูสภาพและลักษณะของรถยนต์เป็นสำคัญว่าเป็นรถยนต์นั่งหรือไม่ มิใช่ถือเอาแชสซีส์ของรถยนต์เป็นสำคัญ
จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ประเภทกระบะบรรทุก และเจ้าพนักงานสำนักงาน ขนส่งได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้องจึงอนุญาตให้จดทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวได้ จำเลยก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ส่วนกรณีที่รถยนต์ของกลางได้มีผู้ดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งในเวลาต่อมานั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาล เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดัดแปลงรถยนต์ของกลางให้มีสภาพเป็นรถยนต์นั่งดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ลำพังแต่ การกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าอะไหล่มาประกอบเป็นรถยนต์แล้วขายไป หาเพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสองเสียภาษี สรรพสามิตตามฟ้องไม่
จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ประเภทกระบะบรรทุก และเจ้าพนักงานสำนักงาน ขนส่งได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้องจึงอนุญาตให้จดทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวได้ จำเลยก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ส่วนกรณีที่รถยนต์ของกลางได้มีผู้ดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งในเวลาต่อมานั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาล เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดัดแปลงรถยนต์ของกลางให้มีสภาพเป็นรถยนต์นั่งดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ลำพังแต่ การกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าอะไหล่มาประกอบเป็นรถยนต์แล้วขายไป หาเพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสองเสียภาษี สรรพสามิตตามฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: โจทก์มีสิทธิขอจดทะเบียนโอนชื่อตามกฎหมาย แต่ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ ต. โดย ต. ยกให้แก่โจทก์ในขณะที่ ต. ยังมีชีวิตอยู่ แต่ยังไม่ได้โอนทางทะเบียน ต่อมาศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ใส่ชื่อโจทก์ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้โดยการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 77 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ข้อ 9 แต่จะฟ้องจำเลยผู้จัดการมรดกของ ต. ให้จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้เพราะจำเลยไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5199/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดกบังคับคดี: ทายาทมีกรรมสิทธิ์แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 บัญญัติว่า "ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะรวบรวมเงินเพื่อให้พอชำระตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธียึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ คือ
(1) โดยวิธียึดและขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ"
หมายความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดาของจำเลยได้ถึงแก่กรรมลงโดยไม่ปรากฏว่ามีการทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายอันเป็นกองมรดกย่อมตกทอดแก่ทางทายาทโดยธรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600 ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแม้จะยังไม่มีชื่อจำเลยเป็นของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนที่ดินก็ตาม โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้
(1) โดยวิธียึดและขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ"
หมายความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดาของจำเลยได้ถึงแก่กรรมลงโดยไม่ปรากฏว่ามีการทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายอันเป็นกองมรดกย่อมตกทอดแก่ทางทายาทโดยธรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600 ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตาย จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแม้จะยังไม่มีชื่อจำเลยเป็นของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนที่ดินก็ตาม โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้