พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์: การรับฝากแล้วนำไปจำนำมีมูลอาญา แม้มีการคืนทรัพย์บางส่วน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับฝากของแล้วเอาไปจำนำเสียโจทก์จะเอาคืนจำเลยไม่มีคืนให้ และโจทก์ได้อ้างตัวเองเบิกความเป็นพะยานรับรองฟ้องนั้นแล้ว เพียงเท่านั้นเรียกได้ว่าคดีมีมูลทางอาญา พอที่จะประทับฟ้องดำเนินการพิจารณาต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำและประเด็นการนำสืบข้อเท็จจริง ศาลฎีกายกข้อต่อสู้การปฏิเสธลอยๆ และวินิจฉัยเรื่องค่าธรรมเนียม
การนำสืบในเรื่องหาว่าจำนำจำเลยให้การว่าไม่ได้จำนำของนั้นไว้แก่โจทก์และไม่ได้ของนั้นไว้แก่โจทก์และไม่ได้ขอผัดโจทก์ในเรื่องจำนำในส่วนตัวจำเลยทั้งสิ้นนั้น ไม่ใช่คำให้การปฏิเสธลอย ๆ คดีมีประเด็นว่าจำเลยได้จำนำจริงหรือไม่ ซึ่งจำเลยนำสืบได้ ฎีกาอุทธรณ์ ข้อกฎหมายอันใดคู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาไม่ต้องวินิจฉัยให้ แม้ศาลอุทธรณ์ตัดสินยกฟ้องโจทก์ก็ดี แต่ข้อที่ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดนั้นอาจเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายแล้วศาลฎีการับวินิจฉัยให้ ฎีกาคัดค้านค่าธรรมเนียมนั้น ถือว่าเป็นดุลยพินิจ ในคดีที่ฎีกาข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ แต่ถ้าเป็นการหยุมหยิมอาจไม่เห็นควรแก้ไขการใช้ดุลยพินิจของศาลล่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจรและการชดใช้ราคาทรัพย์ที่ถูกจำนำ ศาลตัดสินให้ชดใช้เต็มราคา
+รับทรัพย์ของเขาไว้อันเป็นผิดฐานรับของโจรแล้ว+ไปจำนำนั้น เมื่อบังคับให้ใช้ทรัพย์ต้องให้ใช้เต็มราคาทรัพย์ไม่ใช่ให้ใช้เท่าราคาที่เอาไปจำนำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับจำนำมีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินให้ปลอดภัย หากทรัพย์สินสูญหายต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
จำนำช้าง หักกลบลบหนี้ ค่าติดตามข้าง
หน้าที่นำสืบผู้รับจำนำมีหน้าที่นำสืบว่าได้รักษาทรัพย์ที่รับจำนำไว้อย่างวิญญชนแลมิได้ประมาท (ฎีกาที่ 1097/68)
หน้าที่นำสืบผู้รับจำนำมีหน้าที่นำสืบว่าได้รักษาทรัพย์ที่รับจำนำไว้อย่างวิญญชนแลมิได้ประมาท (ฎีกาที่ 1097/68)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำเรือไม่ครอบครอง: ผู้รับจำนำมีบุริมสิทธิเท่าเจ้าหนี้อื่น
สัญญาจำนำเรือฉลอม ผู้รับจำนำไม่ได้ครองทรัพย์ที่จำนำไม่ถือว่าเป็นจำนำไม่มีบุริมสิทธิ เรือเป็นสังหาริมทรัพย์เทียบฎีกา 506/2461
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้จำนำทรัพย์สิน: เจ้าหนี้เลือกใช้สิทธิได้ทางเดียว (96(3) หรือ 95) และจำกัดความรับผิดตามสัญญาจำนำ
หนี้ที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 และฉบับลงวันที่ 5 เมษายน 2549 และหนี้ค่าประกันอัคคีภัยทรัพย์จำนองซึ่งบริษัท ค. เป็นผู้กู้และผู้จำนอง ส่วนลูกหนี้ที่ 2 เป็นเพียงผู้จำนำใบหุ้นเลขที่ 58 - 59 ทะเบียนผู้ถือหุ้นเลขที่ 2850001 ถึง 2950000 จำนวน 100,000 หุ้น เพื่อประกันหนี้ดังกล่าวต่อเจ้าหนี้เท่านั้น มิใช่ลูกหนี้ชั้นต้นที่เมื่อบังคับจำนำได้เงินน้อยกว่าจำนวนค้างชำระแล้วยังจะต้องรับใช้ในส่วนที่ขาดอยู่นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 767 วรรคสอง อีกทั้งตามข้อตกลงในสัญญาจำนำ ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว หรือหากบังคับจำนำแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ลูกหนี้ที่ 2 ยินยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดแก่เจ้าหนี้แต่อย่างใด ลูกหนี้ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกันและเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ภายในเงื่อนไขที่ว่า เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) ได้ ทั้งนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าววรรคท้าย
แม้เจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้วไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้เนื่องจากลูกหนี้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกัน ขณะเดียวกันเจ้าหนี้จะกลับไปขอใช้สิทธิให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกไม่ได้ ประกอบกับเมื่อบริษัท ค. ลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้ที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะบังคับจำนำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้เองอยู่แล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 764 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันและขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนำได้
แม้เจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้มีประกันผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ที่ 2 ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้วไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้เนื่องจากลูกหนี้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์จำนำที่เป็นหลักประกัน ขณะเดียวกันเจ้าหนี้จะกลับไปขอใช้สิทธิให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกไม่ได้ ประกอบกับเมื่อบริษัท ค. ลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้ที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะบังคับจำนำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้เองอยู่แล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 764 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันและขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13398/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ตัวแทนและการยักยอกทรัพย์ การจำนำทรัพย์ของตัวการโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดฐานยักยอก
โจทก์ร่วมและจำเลยมีข้อตกลงกันว่า หากลูกค้าต่อรองราคาต่างหูเพชรพิพาทจำเลยจะต้องโทรศัพท์สอบถามโจทก์ร่วมก่อนว่าสามารถขายในราคาดังกล่าวได้หรือไม่ ข้อตกลงนี้มีผลทำให้จำเลยไม่มีอิสระในการกำหนดราคาขายได้จริง นิติกรรมระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยจึงมิใช่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นการที่โจทก์ร่วมมอบต่างหูเพชรของกลางแก่จำเลยให้ไปขายแทนโจทก์ร่วม ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นเรื่องตัวแทน โดยจำเลยเป็นตัวแทนขายต่างหูเพชรของกลางให้แก่ลูกค้าแทนโจทก์ร่วมผู้เป็นตัวการ เมื่อจำเลยครอบครองต่างหูเพชรของกลางของโจทก์ร่วมแล้วนำไปจำนำไว้แก่บุคคลอื่น จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ การกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังต่างหูเพชรของกลางของโจทก์ร่วมโดยเจตนาทุจริตเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๒ วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนจากการจำนำเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน แม้เป็นการครอบครองแทนผู้อื่น
ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่" และมาตรา 4 (6) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้ความหมายของคำว่า "มี" ไว้ว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง เมื่อการจำนำนั้นผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนำให้อยู่ในการครอบครองของผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 747 และมาตรา 758 การที่จำเลยที่ 3 รับจำนำอาวุธปืนของกลางจึงมีเจตนายึดถืออาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว มิใช่เพียงแต่ยึดถือไว้แทนจำเลยที่ 1 ชั่วขณะ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16889/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงจากการหลอกลวงพนักงานรับจำนำทองคำ โดยใช้ทรัพย์สินของผู้เสียหายอ้างเป็นของลูกค้า
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายซึ่งประกอบอาชีพค้าขายทองคำและเป็นผู้จัดการร้าน มีหน้าที่ขายทองคำของผู้เสียหายให้แก่ลูกค้า และยังมีหน้าที่รับจำนำทองคำของลูกค้าด้วย จำเลยใช้กลอุบายนำสร้อยคอทองคำ สร้อยข้อมือทองคำ แหวนทองคำ และแหวนพลอยของผู้เสียหายที่จำเลยมีหน้าที่ขายให้แก่ลูกค้าไปบอกแก่พนักงานเก็บเงินในร้านของผู้เสียหายว่าเป็นของลูกค้าที่นำมาจำนำแก่ทางร้าน เมื่อพนักงานเก็บเงินส่งมอบเงินซึ่งเป็นของผู้เสียหายที่จะต้องนำไปมอบให้แก่ลูกค้าที่นำทรัพย์มาจำนำให้แก่จำเลยตามที่จำเลยอ้าง จำเลยก็รับเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตน การกระทำของจำเลยมิใช่เอาเงินของผู้เสียหายไปโดยพลการโดยทุจริต หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าสร้อยคอทองคำ สร้อยข้อมือทองคำ แหวนทองคำ และแหวนพลอยของผู้เสียหายเป็นของลูกค้าที่นำมาจำนำ การที่จำเลยได้เงินของผู้เสียหายไปจึงเกิดจากการที่พนักงานเก็บเงินซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายหลงเชื่อการหลอกลวงของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อจำนำ และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 ได้จำนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่บริษัทเงินทุนทรัพย์ ส. เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำ จึงมีฐานะเสมือนเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ผู้จำนำ ดังนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการสลักหลังเพื่อจำนำ การที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ผู้รับจำนำสลักหลังโอนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจึงมีผลเท่ากับเป็นการสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ผู้รับสลักหลังมีสิทธิเท่ากับผู้รับจำนำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับสลักหลังมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 3 รับผิดชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงมีสิทธิเพียงไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น