พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนเช็คที่ไม่มีมูลหนี้จากการเล่นแชร์ วางแผนฉ้อฉล ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ จำเลย และบุคคลอื่นอีกหลายคนตกลงเล่นแชร์โดยมี ก. เป็นนายวง จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าแชร์โดยระบุชื่อ ก. เป็นผู้รับเงินและขีดคร่อมมอบให้ ก.ต่อมา ก.หลบหนีไป ดังนี้ การที่โจทก์เข้าร่วมประชุมตั้งวงแชร์และตกลงเข้าเป็นสมาชิกวงแชร์ด้วย โจทก์จึงอยู่ในฐานะที่ต้องรู้ถึงข้อตกลงในการเล่นแชร์ตลอดทั้งการที่สมาชิกต้องสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าวงแชร์ด้วย เมื่อก. หลบหนี เช็คที่สมาชิกสั่งจ่ายชำระค่าวงแชร์จึงเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้ การที่โจทก์รับโอนเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระค่าแชร์มาไว้ในครอบครอง จึงเป็นการรับโอนเช็คด้วยคบคิดกันฉ้อฉล โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนการซื้อขายที่ดินเนื่องจากการฉ้อฉล คำพิพากษาชี้ว่าอายุความเริ่มนับจากวันที่โจทก์ทราบถึงการฉ้อฉล
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2529 เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโอนขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 สำนักงานที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาบางคล้า ได้ทำหนังสือไปถึงโจทก์ลงวันที่ 2 เมษายน 2529 แจ้งให้ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินที่ขอให้ระงับการโอนไว้ให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว นิติกรสังกัดกองนิติการของโจทก์ทำบันทึกเรื่องราวเสนอให้อธิบดีของโจทก์ทราบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2529 จึงถือได้ว่า โจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลรายนี้เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2530 ยังไม่พ้น 1 ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้น10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างฉ้อฉล หากไม่มีพยาน ศาลไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล ศาลฎีกาสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวน จำเลยมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นตามที่อ้างไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์ จึงมิใช่เรื่องการฉ้อฉลตามที่อ้าง ไม่เข้าเหตุที่จะอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุน หากอ้างฉ้อฉลแต่ไม่นำสืบ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าฝ่ายโจทก์ฉ้อฉล ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนยังไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีตามฎีกาโจทก์ได้จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จำเลยและโจทก์กล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามที่อ้างไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องมีการฉ้อฉลตามที่อ้างไม่เข้าเหตุที่จะอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138(1) ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน การฉ้อฉลเจ้าหนี้ และสิทธิในการเพิกถอนการซื้อขาย
การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อใช้หนี้จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่แล้วว่าจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 อยู่เสียเปรียบ ส่วนจำเลยที่ 2 แม้จะอ้างว่ารับโอนที่ดินพิพาทมาโดยเปิดเผยและสุจริต ไม่ทราบเรื่องหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ แต่การที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ภายหลังจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องสามีจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ จำเลยที่ 2 ก็รับโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไปโดยขณะทำการโอนนั้นเจ้าพนักงานที่ดินได้แจ้งเรื่องที่โจทก์ขออายัดที่ดินพิพาทให้ทราบแล้ว จำเลยที่ 2ยังยืนยันให้โอนแก่บุคคลภายนอก แสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้ถึงข้อความจริงขณะรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ถือว่าเป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลทางแพ่ง: การกู้ยืมเงินและโอนสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้อื่น
ระหว่างที่มีการทำสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านและบริษัท ภ. นั้น จำเลยที่ 1 ดำรงสินทรัพย์ขาดสภาพคล่องจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าไม่อาจชำระเงินคืนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ได้ การที่ผู้คัดค้านกู้เงินจากจำเลยที่ 1 แล้วในวันเดียวกันนั้นผู้คัดค้านนำเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดไปให้บริษัท ภ. กู้ จำเลยที่ 1 ยอมรับชำระหนี้จากผู้คัดค้านด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. โดยที่ขณะนั้นบริษัทภ. เป็นหนี้ จำเลยที่ 1 ตามตั๋วสัญญาใช้เงินถึง 64,000,000 บาทอยู่แล้ว และจำเลยที่ 1 ยืนยันจะไม่เรียกร้องเอาเงินส่วนที่ยังได้ไม่ครบจากผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านได้ผลประโยชน์จากผลต่างของดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 เช่นนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ส่อพิรุธให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านรู้ดีอยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้เจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ อันเป็นการร่วมกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินฉ้อฉลเจ้าหนี้ ผู้รับโอนรู้ถึงการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ขณะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ไม่มีทรัพย์สินพอจะชำระหนี้แก่โจทก์เช่นนี้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1แม้ในขณะที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2โจทก์จะยังไม่ได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และผู้ค้ำประกันชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ถือว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 2 จะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีความสนิทสนมกันมาก จำเลยที่ 2จึงน่าจะทราบถึงฐานะการเงินของจำเลยที่ 1 ว่าขณะที่จำเลยที่ 1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์อยู่ถือว่าขณะที่รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 รู้ว่าการที่จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนพินัยกรรม: ทายาทมีสิทธิฟ้องหากพินัยกรรมทำด้วยการข่มขู่หรือฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นบุตรของ ส. เจ้ามรดก ร่วมกับจำเลยที่ 3 พา ส.ไปทำพินัยกรรมที่ที่ว่าการอำเภอต่อมาส.ถึงแก่กรรมลง จำเลยที่ 3 ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมต่อนายอำเภอ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะบุตรซึ่งเป็นทายาทของส. จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมที่ทำเพราะการข่มขู่หรือกลฉ้อฉลนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1708 และ 1709
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนพินัยกรรม: ทายาทมีสิทธิฟ้องหากพินัยกรรมทำโดยข่มขู่หรือฉ้อฉล
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นบุตร ของ ส.ซึ่งมีสิทธิได้รับทรัพย์คนละส่วนตามข้อกำหนดในพินัยกรรมของส.กับพินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ทรัพย์อีกส่วนหนึ่งตกได้แก่ผู้ทำบุญ อุทิศให้แก่ ส.เมื่อส.ถึงแก่กรรมอันเป็นเจตนาของส. จำเลยที่ 3ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมต่อนายอำเภอ คดีนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าพินัยกรรมไม่ถูกต้อง เป็นโมฆะทำขึ้นโดย มีการบังคับขู่เข็ญหรือฉ้อฉลไม่เป็นไปตามเจตนาเดิมของ ส. โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทของ ส. ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมดังกล่าวได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1708 และมาตรา 1709.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้าย/ปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล ไม่ทำให้ถูกกำจัดมรดก การใช้สิทธิทางศาลของทายาทไม่ถือเป็นความฉ้อฉล
การที่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทยื่นคำขอยกเลิกคำขอแบ่งแยกที่ดินของเจ้ามรดกนั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดก จึงไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลนอกจากนี้ การที่โจทก์ทั้งสี่คัดค้านต่อศาลในเรื่องที่จำเลยดำเนินการเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกในชั้นบังคับคดีว่าจำเลยขอบังคับคดีเกินกำหนดอายุความ ก็เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่ตนเป็นทายาทโดยชอบ ไม่ถือเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิรับมรดกได้.