พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำฐานฟอกเงิน: ความผิดต่างกรรมต่างวาระ แม้เกี่ยวเนื่องกับฉ้อโกงประชาชน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันทำธุรกรรมโอนเงิน รับโอนเงิน และถอนเงินผ่านบัญชีธนาคารซึ่งเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานฟอกเงิน รูปเรื่องข้อเท็จจริงเป็นการกระทำการภายหลังจากมีการกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนแล้ว เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวพันหรือต่อเนื่องกัน แต่ก็เป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน โดยตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการแก้ปัญหา เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบอาชญากรรมซึ่งกระทำความผิดกฎหมายบางประเภท ได้นำเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นมากระทำการในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นการฟอกเงิน เพื่อนำเงินหรือทรัพย์สินนั้นไปใช้เป็นประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก ทำให้ยากแก่การปราบปรามการกระทำความผิดกฎหมายเหล่านั้น จึงต้องมีการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรมดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 2 แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนากระทำผิดต่อกฎหมายต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อมีการฟ้องร้องในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีนี้ได้ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินโดยทุจริต จำเลยร่วมกันหลอกลวงให้ลงทุน-รับผลตอบแทนสูงเกินจริง
การชักชวนให้บุคคลทั่วไปหรืออย่างน้อยตั้งแต่สิบคนขึ้นไปมาทำการกู้ยืมเงินกันโดยการโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน คือการกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนทั่วๆไป ไม่จำกัดว่าด้วยการโฆษณาทางสื่อมวลชนหรือป่าวประกาศต่อประชาชนในสถานที่ต่างๆ จึงไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองกับพวกจะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้นทุกครั้งเป็นคราวๆไป เพียงแต่จำเลยทั้งสองกับพวกแสดงข้อความหลอกลวงให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายบางคนแล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนำเงินมาลงทุนกับจำเลยทั้งสองกับพวกก็ถือเป็นความผิดสำเร็จแล้ว จำเลยที่ 2 จะอยู่ด้วยกับจำเลยที่ 1 และ พ. หรือไม่ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนออนไลน์-เฟซบุ๊ก-การแสดงข้อความเท็จ-การโอนเงิน-ความผิดทางอาญา-การยกคำขอค่าเสียหาย
การที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมเป็นผลให้คำขอในส่วนแพ่งในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ที่โจทก์ได้ขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่โจทก์ร่วม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ตกไปด้วย จึงต้องยกคำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: การลงโทษและแก้ไขคำพิพากษา
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้เป็นเหตุให้ต้องรับโทษหนักขึ้นไว้ในมาตรา 343 วรรคสอง นั้น เป็นการลำดับการลงโทษเป็นชั้น ๆ ไปตามลักษณะฉกรรจ์ของความผิดที่กระทำ มิใช่กระทำความผิดหลายบทตามมาตรา 90 แต่อย่างใด แต่เป็นการกระทำความผิดบทฉกรรจ์บทเดียว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือนำสืบพยานหลักฐานเท็จ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
การกระทำความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาผู้กระทำจะต้องมีการนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะทนายความโจทก์ ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 มิใช่การนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี แต่เป็นอำนาจที่จำเลยที่ 2 กระทำได้ตามที่โจทก์มอบหมายไว้ในใบแต่งทนายความ หากการกระทำของจำเลยที่ 2 ฝ่าฝืนความประสงค์ของโจทก์ และทำให้โจทก์เสียหายอย่างไร ก็ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ไม่มีมูลความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: การหลอกลวงครั้งเดียว vs. หลายกรรม พิจารณาจากเจตนาและผลของการกระทำ
การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าผู้กระทำความผิดประสงค์ต่อผลในการหลอกลวงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง เมื่อคดีนี้ไม่มีการสืบพยานจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชนทั่วไปทางแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก ซึ่งเปิดเป็นสาธารณะชักชวนบุคคลทั่วไปให้นำเงินมาลงทุนกับจำเลยและพวก และหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อว่าจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินจำนวนมาก เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้จำเลยหลายครั้งตามวันเวลาที่โจทก์แยกบรรยายฟ้อง ซึ่งในแต่ละข้อที่โจทก์แยกบรรยายมานั้นมีข้อความทำนองเดียวกันว่า ผู้เสียหายหลงเชื่อจากการหลอกลวงของจำเลยกับพวกดังกล่าว และโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยกับพวก แม้การโอนเงินของผู้เสียหายดังกล่าวจะกระทำหลายคราว แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภายหลัง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงในครั้งแรก ซึ่งไม่ปรากฏตามฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้กล่าวข้อความหลอกลวงใด ๆ ขึ้นใหม่ จึงต้องฟังว่าจำเลยกับพวกหลอกลวงผู้เสียหายเพียงครั้งเดียวโดยมีเจตนาเดียวเพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหาย ถึงจะต่างวาระกันก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: การแสดงข้อมูลเท็จเพื่อชักชวนลงทุน และความเสียหายที่เพิ่มขึ้นจากการสอบสวน
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2560 โดยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและความผิดต่อ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน สำหรับความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้ถูกหลอกลวงมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยกับพวกอันจะทำให้โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงชอบแล้ว โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนได้
โจทก์ร่วมโอนเงินให้จำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทฺ อ. การที่จำเลยส่งแพ็กเกจการลงทุนกิจการต่าง ๆ ที่บริษัทนำเงินผู้ลงทุนไปลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากบริษัท บอกวิธีการแนะนำชักชวนผู้อื่นมาลงทุนกับบริษัท และรายได้ของผู้ชักชวนหรือแนะนำผู้อื่นลงทุนในไลน์กลุ่มโดยมีเว็บไซต์ประกอบฟังได้ว่า จำเลยแสดงเนื้อหาและข้อมูลต่อประชาชนหรือบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงได้ และข้อเท็จจริงได้ความจากพันตำรวจโท ส. ว่า พยานตรวจสอบการมีอยู่ของบริษัท อ. กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุโขทัยพบว่าไม่มีชื่อในนิติบุคคลจดทะเบียนไว้ ตามหนังสือตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล โดยจำเลยตอบคำถามค้านโจทก์ว่า อ. จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้น จำเลยไม่ทราบ แสดงว่า บริษัท อ. อาจจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงเป็นข้อมูลสำคัญที่จำเลยต้องแจ้งในกลุ่มไลน์ด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนการที่จำเลยไม่แจ้งข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้ที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและคำว่า "ประชาชน" หมายถึงบุคคลทั่วไป ไม่จำกัดตัวว่าเป็นบุคคลใด มีลักษณะเป็นการแสดงต่อประชาชนทั่วไปมิได้เจาะจงคนหนึ่งคนใดเป็นพิเศษโดยเฉพาะ และไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการต่อผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้น ที่จำเลยอ้างว่า จำเลยจะซื้อหน่วยลงทุนผ่าน ท. และจำเลยสนทนาการซื้อขายหน่วยลงทุนกับ ท. ผ่านไลน์ จำเลยนำเงินที่ได้รับจากโจทก์ร่วมรวมกับเงินของจำเลยเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของบริษัทเข้าบัญชีของ บ. และ ท. ตามรายการโอนเงิน จำเลยพูดคุยกับ ท. ผ่านไลน์ว่า โอนเงินต่อให้ ร. และจำเลยก็โอนเงินลงทุนกับบริษัท อ. โดยซื้อหน่วยลงทุนจาก ท. น่าจะเป็นแผนการหลอกลวงโจทก์ร่วมและประชาชนให้หลงเชื่อนำเงินมาลงทุนตามเจตนาของจำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนชักชวนโจทก์ร่วม จำเลยไม่ได้เป็นผู้บริหารของบริษัทจึงไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ร่วม
จำเลยกับพวกร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคหนึ่งแต่ที่ไม่ระบุมาตรา 83 ไว้ยังไม่ถูกต้องเพราะจำเลยมิได้กระทำความผิดโดยลำพัง
การที่โจทก์ร่วมเข้าแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยในคดีนี้ โจทก์ร่วมได้แจ้งลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดได้กระทำลง และความเสียหายที่ได้รับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในเบื้องต้นให้เห็นว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นและโจทก์ร่วมมีความเสียหายเพื่อทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน ส่วนพนักงานสอบสวนก็มีหน้าที่รวบรวมหลักฐานทุกชนิด โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นหลักฐานที่ พนักงานสอบสวนสืบหามาได้เอง หรือที่โจทก์ร่วมหรือผู้ต้องหายื่นต่อพนักงานสอบสวนเพื่อเป็นพยานหรือที่บุคคลภายนอกส่งมาให้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ ในคดีเพื่อที่รู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดรวมทั้งความเสียหายที่แท้จริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 แสดงว่าหลักฐานมิได้ต้องมาจากโจทก์ร่วมเพียงฝ่ายเดียว เมื่อได้ความว่าพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนเบิกความว่าตรวจสอบรายการเดินบัญชีธนาคารของผู้เสียหายกับจำเลยแล้วพบมีรายการโอนเงินบัญชีผู้เสียหายไปยังบัญชีธนาคารของจำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทเป็นเงิน 3,023,352 บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนสืบหามาตามอำนาจหน้าที่ ถือว่าการสอบสวนชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมโอนเงินให้จำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทฺ อ. การที่จำเลยส่งแพ็กเกจการลงทุนกิจการต่าง ๆ ที่บริษัทนำเงินผู้ลงทุนไปลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากบริษัท บอกวิธีการแนะนำชักชวนผู้อื่นมาลงทุนกับบริษัท และรายได้ของผู้ชักชวนหรือแนะนำผู้อื่นลงทุนในไลน์กลุ่มโดยมีเว็บไซต์ประกอบฟังได้ว่า จำเลยแสดงเนื้อหาและข้อมูลต่อประชาชนหรือบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงได้ และข้อเท็จจริงได้ความจากพันตำรวจโท ส. ว่า พยานตรวจสอบการมีอยู่ของบริษัท อ. กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุโขทัยพบว่าไม่มีชื่อในนิติบุคคลจดทะเบียนไว้ ตามหนังสือตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล โดยจำเลยตอบคำถามค้านโจทก์ว่า อ. จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้น จำเลยไม่ทราบ แสดงว่า บริษัท อ. อาจจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงเป็นข้อมูลสำคัญที่จำเลยต้องแจ้งในกลุ่มไลน์ด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนการที่จำเลยไม่แจ้งข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้ที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและคำว่า "ประชาชน" หมายถึงบุคคลทั่วไป ไม่จำกัดตัวว่าเป็นบุคคลใด มีลักษณะเป็นการแสดงต่อประชาชนทั่วไปมิได้เจาะจงคนหนึ่งคนใดเป็นพิเศษโดยเฉพาะ และไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการต่อผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนด้วยตนเองตั้งแต่ต้น ที่จำเลยอ้างว่า จำเลยจะซื้อหน่วยลงทุนผ่าน ท. และจำเลยสนทนาการซื้อขายหน่วยลงทุนกับ ท. ผ่านไลน์ จำเลยนำเงินที่ได้รับจากโจทก์ร่วมรวมกับเงินของจำเลยเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของบริษัทเข้าบัญชีของ บ. และ ท. ตามรายการโอนเงิน จำเลยพูดคุยกับ ท. ผ่านไลน์ว่า โอนเงินต่อให้ ร. และจำเลยก็โอนเงินลงทุนกับบริษัท อ. โดยซื้อหน่วยลงทุนจาก ท. น่าจะเป็นแผนการหลอกลวงโจทก์ร่วมและประชาชนให้หลงเชื่อนำเงินมาลงทุนตามเจตนาของจำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนชักชวนโจทก์ร่วม จำเลยไม่ได้เป็นผู้บริหารของบริษัทจึงไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ร่วม
จำเลยกับพวกร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคหนึ่งแต่ที่ไม่ระบุมาตรา 83 ไว้ยังไม่ถูกต้องเพราะจำเลยมิได้กระทำความผิดโดยลำพัง
การที่โจทก์ร่วมเข้าแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยในคดีนี้ โจทก์ร่วมได้แจ้งลักษณะแห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดได้กระทำลง และความเสียหายที่ได้รับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลในเบื้องต้นให้เห็นว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นและโจทก์ร่วมมีความเสียหายเพื่อทำให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน ส่วนพนักงานสอบสวนก็มีหน้าที่รวบรวมหลักฐานทุกชนิด โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นหลักฐานที่ พนักงานสอบสวนสืบหามาได้เอง หรือที่โจทก์ร่วมหรือผู้ต้องหายื่นต่อพนักงานสอบสวนเพื่อเป็นพยานหรือที่บุคคลภายนอกส่งมาให้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ ในคดีเพื่อที่รู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดรวมทั้งความเสียหายที่แท้จริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 131 แสดงว่าหลักฐานมิได้ต้องมาจากโจทก์ร่วมเพียงฝ่ายเดียว เมื่อได้ความว่าพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนเบิกความว่าตรวจสอบรายการเดินบัญชีธนาคารของผู้เสียหายกับจำเลยแล้วพบมีรายการโอนเงินบัญชีผู้เสียหายไปยังบัญชีธนาคารของจำเลยเพื่อลงทุนกับบริษัทเป็นเงิน 3,023,352 บาท ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนสืบหามาตามอำนาจหน้าที่ ถือว่าการสอบสวนชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เสียหายในคดีฟอกเงิน: การพิจารณาความเสียหายจากการฉ้อโกงประชาชนและทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 49 วรรคหก แม้มีระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2559 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (5/1) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 และข้อ 2 (6) แห่งประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของคณะกรรมการธุรกรรม ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการประชุมครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 กำหนดความหมาย "ผู้เสียหาย" ตามมาตรา 49 วรรคหก แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ไว้ แต่ระเบียบคณะกรรมการธุรกรรมดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ออกเพื่อให้สำนักงานปฏิบัติ ไม่อาจนำมาพิจารณาถึงสิทธิของผู้เสียหาย ตามที่มาตรา 49 วรรคหก บัญญัติได้ ฉะนั้น เมื่อตามคำร้องขอของผู้ร้อง ศ. กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. และความผิดเกี่ยวกับการยักยอกตาม ป.อ. อันมีลักษณะเป็นปกติธุระตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 3 (3) (18) ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานแห่งคดีนี้ การที่ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ผู้คัดค้านที่ 5 ได้ชำระเงินฝากสะสมหุ้นและเงินฝากออมทรัพย์แก่ผู้คัดค้านที่ 5 และได้รับความเสียหายที่ต้องสูญเสียเงินจากการกระทำความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. ของ ศ. กับพวกตามที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด จึงเป็นผู้เสียหายในความผิดมูลฐานนี้ และมีสิทธิร้องคัดค้านขอให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อ้างว่าเป็นผู้เสียหายในความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการยักยอกตาม ป.อ. อันมีลักษณะเป็นปกติธุระ หรือผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานดังกล่าวตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมา แต่เมื่อยังไม่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนเกิดขึ้นหรือไม่ หรือมีการกระทำความผิดมูลฐานใดเกิดขึ้นตามคำร้องขอของผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นไม่รับคำคัดค้าน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนว่า ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานและไม่รับคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ผู้สนับสนุน ร่วมรับผิดในส่วนแพ่ง, แก้ไขดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่
การที่จำเลยที่ 2 รู้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนยังยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำบัญชีเงินฝากของตนไปใช้รับโอนเงินลงทุนที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบสาม ถือว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 86 และต้องร่วมรับผิดในส่วนแพ่งกับจำเลยที่ 1 ด้วย