คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดอกเบี้ยทบต้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, การต่ออายุสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, สิทธิเรียกร้อง
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันที่ 9 มกราคม 2518 แต่เมื่อครบกำหนดแล้วมีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกจนถึงวันที่ 9 มกราคม 2519 และรับรองยอดเงินที่ค้างชำระกับให้สัญญาว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับจนกว่าจำเลยจะได้ชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น แต่ก็ไม่มีข้อสัญญาว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันที แม้ผู้จำนองจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2521 เพื่อไถ่ถอนจำนอง บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยก็ยังมีอยู่เพราะยังชำระหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดไม่หมดและไม่มีฝ่ายใดเลิก สัญญา ดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้จนถึงวันบอกเลิกสัญญา แต่หลังจากวันบอกเลิกสัญญาไปแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด: สิทธิคิดดอกเบี้ยจนถึงวันบอกเลิกสัญญา แม้สัญญาสิ้นสุดลง
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันที่ 9 มกราคม 2518แต่เมื่อครบกำหนดแล้วมีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกจนถึงวันที่ 9 มกราคม 2519 และรับรองยอดเงินที่ค้างชำระกับให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผลใช้บังคับจนกว่าจำเลยจะได้ชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น แต่ก็ไม่มีข้อสัญญาว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันทีแม้ผู้จำนองจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์2521 เพื่อไถ่ถอนจำนอง บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังมีอยู่เพราะยังชำระหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดไม่หมดและไม่มีฝ่ายใดเลิกสัญญา ดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้จนถึงวันบอกเลิกสัญญา แต่หลังจากวันบอกเลิกสัญญาไปแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด: สิทธิคิดดอกเบี้ยจนกว่าจะบอกเลิกสัญญา แม้สัญญาหมดอายุ
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันที่ 9 มกราคม 2518แต่เมื่อครบกำหนดแล้วมีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกจนถึงวันที่ 9 มกราคม 2519 และรับรองยอดเงินที่ค้างชำระกับให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผลใช้บังคับจนกว่าจำเลยจะได้ชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น แต่ก็ไม่มีข้อสัญญาว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันทีแม้ผู้จำนองจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์2521 เพื่อไถ่ถอนจำนอง บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังมีอยู่เพราะยังชำระหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดไม่หมดและไม่มีฝ่ายใดเลิกสัญญา ดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้จนถึงวันบอกเลิกสัญญา แต่หลังจากวันบอกเลิกสัญญาไปแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนองต่อดอกเบี้ยทบต้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้ต่อธนาคารโจทก์ในวงเงิน 400,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยถือเอารายการบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองไว้เป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มีจำนวนเกิน 400,000 บาท ในวันที่ 30 กันยายน 2525 จำเลยที่ 2 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้: การเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อยอดหนี้ถึงวงเงินจำนอง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้ต่อธนาคารโจทก์ในวงเงิน 400,000บาท โดยจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยถือเอารายการบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองไว้เป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มีจำนวนเกิน400,000 บาทในวันที่ 30 กันยายน 2525 จำเลยที่ 2 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายหลักทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้า, และข้อห้ามฎีกาเรื่องใหม่
กรณีที่จะอยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 165 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ต้องเป็นกรณีที่พ่อค้า ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้เป็นช่างฝีมือ หรือบุคคลจำพวกประกอบศิลปอุตสาหกรรม ฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ ทำของ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นอันเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ส่งมอบของหรือผลงานให้ลูกหนี้แล้วเรียกร้องเอาค่าสิ่งของหรือราคาของผลงานที่ได้ส่งมอบ
โจทก์จำเลยตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดและมอบให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์แทนเป็นเรื่องที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของจำเลยโดยได้ค่าธรรมเนียมตอบแทน หาได้มีการส่งมอบสิ่งของหรือผลงานให้จำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1)
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยทบต้นโดยอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีประเพณีการค้าขายให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นได้ ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรค 2 เมื่อข้อเท็จจริงรับกันว่า โจทก์ จำเลย ได้ตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อความว่าจำเลยยอมรับว่ามีประเพณีการค้าให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในกรณีนี้ได้ โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ โดยไม่ต้องนำสืบถึงประเพณีการค้าดังกล่าวอีก
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายหลักทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด, และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในศาลฎีกา
กรณีที่จะอยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 165(1) ซึ่งมีอายุความ2 ปี ต้องเป็นกรณีที่พ่อค้าผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้เป็นช่างฝีมือหรือบุคคลจำพวกประกอบศิลปอุตสาหกรรม ฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของทำของ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นอันเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ส่งมอบของหรือผลงานให้ลูกหนี้แล้วเรียกร้องเอาค่าสิ่งของหรือราคาของผลงานที่ได้ส่งมอบ
โจทก์จำเลยตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดและมอบให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์แทนเป็นเรื่องที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของจำเลยโดยได้ค่าธรรมเนียมตอบแทนหาได้มีการส่งมอบสิ่งของหรือผลงานให้จำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยทบต้นโดยอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีประเพณีการค้าขายให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นได้ ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา655 วรรค 2 เมื่อข้อเท็จจริงรับกันว่า โจทก์ จำเลยได้ตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อความว่าจำเลยยอมรับว่ามีประเพณีการค้าให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในกรณีนี้ได้ โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้ โดยไม่ต้องนำสืบถึงประเพณีการค้าดังกล่าวอีก
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายหลักทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้น, และข้อจำกัดการยกข้อต่อสู้ใหม่ในศาลฎีกา
กรณีที่จะอยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา165(1)ซึ่งมีอายุความ2ปีต้องเป็นกรณีที่พ่อค้าผู้ประกอบหัตถกรรมผู้เป็นช่างฝีมือหรือบุคคลจำพวกประกอบศิลปอุตสาหกรรมฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของทำของหรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นอันเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ส่งมอบของหรือผลงานให้ลูกหนี้แล้วเรียกร้องเอาค่าสิ่งของหรือราคาของผลงานที่ได้ส่งมอบ โจทก์จำเลยตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดและมอบให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์แทนเป็นเรื่องที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของจำเลยโดยได้ค่าธรรมเนียมตอบแทนหาได้มีการส่งมอบสิ่งของหรือผลงานให้จำเลยแต่อย่างใดกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1) โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยทบต้นโดยอ้างว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีประเพณีการค้าขายให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นได้ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา655วรรค2เมื่อข้อเท็จจริงรับกันว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงเปิดบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อความว่าจำเลยยอมรับว่ามีประเพณีการค้าให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในกรณีนี้ได้โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้โดยไม่ต้องนำสืบถึงประเพณีการค้าดังกล่าวอีก ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การคิดดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามข้อตกลงและกฎหมาย
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ และฝากเงินในวันเดียวกัน หลังจากนั้นจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีและนำเงินฝากเข้าบัญชีหลายครั้ง โดยโจทก์จะคิดหักยอดเงินในบัญชีทุกครั้ง หากจำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินกว่าเงินที่มีอยู่ในบัญชี โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นทุกเดือนในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจากเงินที่เป็นหนี้ตามประเพณีของธนาคาร ดังนี้ เป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่ผูกมัดจำเลย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ ความรับผิดของจำเลยที่ 2ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส.ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้
of 17