พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องส่งวิทยุ: เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ใช่ส่วนประกอบของเครื่องส่งวิทยุ
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ได้บัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กับเครื่องวิทยุส่งกระจายเสียงไว้แตกต่างกันอย่างละประเภท กล่าวคือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 85.01 อัตราอากรร้อยละ 11 ส่วนเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงอยู่ในพิกัดประเภท 85.15 อัตราอากรตามราคาร้อยละ 5.5 แม้ตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรที่กรมศุลกากรโจทก์จัดพิมพ์ขึ้น จะมีคำอธิบายเกี่ยวกับเครื่องจักรไฟฟ้าบางชนิดซึ่งอยู่ในพิกัดของตอนที่ 85 ว่า อาจประกอบด้วยยูนิตต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันเช่น เครื่องส่งวิทยุและเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันก็ตาม แต่เครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าก็เป็นเครื่องมือสำหรับจ่ายกำลังงาน ส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นเป็นเครื่องที่ก่อให้เกิดพลังงาน มิใช่ของอย่างเดียวกัน เครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าตามตัวอย่างดังกล่าวจึงไม่คลุมถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วย และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามิใช่ส่วนหนึ่งหรือส่วนประกอบของเครื่องวิทยุที่มีอุปกรณ์ครบชุด ต้องการเพียงกระแสไฟฟ้าพลังงานซึ่งอาจได้มาจากไฟฟ้าของทางราชการ หรือจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็สามารถทำการออกอากาศได้ ดังนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรแม้นำเข้ามาพร้อมกับเครื่องส่งวิทยุ หรือทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะใช้กับเครื่องส่งวิทยุก็ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 85.01 ข. (3) (ก) อัตราร้อยละ 11 ของราคา มิใช่พิกัดประเภทที่ 85.15 ก. อัตราร้อยละ 5.5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องส่งวิทยุ ศาลฎีกาตัดสินว่ามีพิกัดแยกกัน
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ได้บัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กับเครื่องวิทยุส่งกระจายเสียงไว้แตกต่างกันอย่างละประเภทกล่าวคือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 85.01 อัตราอากรราคาร้อยละ 11 ส่วนเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงอยู่ในพิกัดประเภท 85.15 อัตราอากรตามราคาร้อยละ 5.5 แม้ตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรที่กรมศุลกากรโจทก์จัดพิมพ์ขึ้นจะมีคำอธิบายเกี่ยวกับเครื่องจักรไฟฟ้าบางชนิดซึ่งอยู่ในพิกัดของตอนที่ 85 ว่า อาจประกอบด้วยยูนิตต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันเช่น เครื่องส่งวิทยุและเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันก็ตาม แต่เครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าก็เป็นเครื่องมือสำหรับจ่ายกำลังงานส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นเป็นเครื่องที่ก่อให้เกิดกำลังงาน จึงมิใช่ของอย่างเดียวกันเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าตามตัวอย่างดังกล่าวจึงไม่คลุมถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วย และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามิใช่ส่วนหนึ่งหรือส่วนประกอบของเครื่องส่งวิทยุ เพราะเครื่องส่งวิทยุที่มีอุปกรณ์ครบชุด ต้องการเพียงกระแสไฟฟ้าพลังงานซึ่งอาจได้มาจากไฟฟ้าของทางราชการ หรือจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็สามารถทำการออกอากาศได้ ดังนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรแม้นำเข้ามาพร้อมกับเครื่องส่งวิทยุ หรือทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะใช้กับเครื่องส่งวิทยุก็ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 85.01ข. (3)(ก) อัตราร้อยละ 11 ของราคา มิใช่พิกัดประเภทที่ 85.15 ก อัตราร้อยละ 5.5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก' ในการจัดเก็บภาษีการค้า สินค้าที่บรรจุเพื่อเก็บรักษาไม่ใช่สินค้าที่ต้องเสียภาษีตามอัตราพิเศษ
สินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึก ตามบัญชี 1 หมวด1 ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21)พ.ศ.2509 หมายความโดยตรงถึงการจำหน่ายสินค้าในรูปลักษณะบรรจุไว้ในภาชนะหรือในหีบห่อผนึก หาใช่หมายความถึงการนำสินค้าบรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกเพื่อการเก็บรักษาสินค้าไม่ ดังนั้น การที่โจทก์เก็บลูกกวาด ซึ่งทำด้วยน้ำตาลไม่มีกระดาษห่อหุ้มไว้ในปีบ.เพื่อมิให้ถูกอากาศชื้นเสียหาย จึงเป็นการเก็บรักษาสินค้า และเมื่อโจทก์จำหน่ายสินค้า โจทก์ก็นำลูกกวาดออกจากปีมาชั่งขาย มิได้จำหน่ายไปทั้งภาชนะหรือหีบห่อผนึก สินค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะสินค้าที่บรรจุภาชนะหรือหีบห่อผนึกตามบัญชี 1 หมวด 1(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แต่เป็นสินค้าที่ไม่ได้ระบุไว้ตามบัญชีที่ 1 ซึ่งตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชกฤษฎีกานั้นให้เรียกเก็บภาษีการค้าร้อยละ1.5ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตาม ม.340 ตรี: ต้องตีความโดยเคร่งครัดเฉพาะตัวผู้กระทำ
มาตรา 340 ตรี ลงโทษผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 339,339 ทวิ,340,340 ทวิ หนักขึ้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหมายความเฉพาะตัวผู้กระทำ ไม่เป็นเหตุในลักษณะคดีตามมาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษผู้มีอาวุธปืนตามมาตรา 340ตรี ต้องตีความเคร่งครัดเฉพาะตัวผู้มีอาวุธ
ผู้ที่มีอาวุธปืนต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340ตรี ต้องแปลความโดยเคร่งครัด เฉพาะตัวผู้ที่มีปืนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความประเภทไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: ไม้ยางนากับไม้ยาง
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5 บัญญัติว่า ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้ห่วงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อไม้ยางนาถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 ไม้ยางนาจึงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่าจากพฤติกรรมประพฤติชั่วร้ายแรง: การตีความเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1500(2)
บรรยายฟ้องว่าจำเลยประพฤติชั่วติดยาเสพติดและประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล ไม่ทำมาหากิน ไม่ยอมทำนาเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวและ หาความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัวอยู่เสมอ และได้กลั่นแกล้งโจทก์และลูก ๆ โดยการไม่ยอมให้เข้าทำนาเพื่อถึงฤดูทำนา ฯลฯ" เช่นนี้ อย่างน้อยก็ตีความได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกสถานที่ราชการ: การตีความ 'ไม่มีเหตุอันสมควร' จากคำบรรยายฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบังอาจบุกรุกเข้าไปในสถานที่ราชการในเวลากลางคืน โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรแม้ข้อที่ว่าโดยไม่มีเหตุสมควรนั้นเป็นองค์ประกอบความผิดของมาตรา 364 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แต่ก็เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับการกระทำโดยการเข้าไปหรือซ่อนตัวเท่านั้น และคำว่า "บังอาจบุกรุก" ที่โจทก์บรรยายฟ้องมา ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร นอกจากนี้โจทก์ยังได้บรรยายฟ้องต่อไปด้วยว่า เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้จำเลยเข้าไปได้ไล่ให้ออกจำเลยก็ไม่ยอมออกไปเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงตรงกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364ในตอนที่ว่า "หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก" และการไม่ยอมออกนี้ หาจำต้องกล่าวในฟ้องว่ากระทำโดยไม่มีเหตุอันสมควรด้วยไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'กระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม' ตามกฎกระทรวงฯ กรณีปืนและกระสุนคนละแบบ
บรรยายฟ้องความว่า มีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือกระสุนปืนเล็กสั้นบรรจุเองแบบ 87 ขนาด 7.62 ม.ม. เมื่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ.2501) ฯลฯ ได้กำหนดเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในข้อ(16) คือ "เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับสิ่งซึ่งระบุไว้ตั้งแต่ (1) ถึง (9) เว้นแต่เครื่องกระสุนปืน ชนิดและขนาดที่ใช้ได้แก่อาวุธปืนซึ่งได้รับอนุญาต" กฎกระทรวงดังกล่าวข้อ (3) ค.กำหนดว่า "ปืนเล็กสั้นแบบ 83 ขนาด 6.5 ม.ม. และ 7.62 ม.ม."กระสุนปืนของกลางเป็นแบบ 87 ปืนในกฎกระทรวงข้อ (3) ค.เป็นแบบ 83ต่างแบบกัน. จะฟังว่ากระสุนปืนเล็กสั้นแบบ 87ขนาด7.62 ม.ม. ในกฎกระทรวงข้อ (3) ค. ย่อมไม่ได้กระสุนปืนของกลางจึงไม่ใช่สำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการเข้าใจผิดลงโทษจำเลย ฐานมีกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความกฎกระทรวงกำหนดกระสุนปืนใช้เฉพาะสงคราม: ความแตกต่างของแบบปืนและกระสุน
บรรยายฟ้องความว่า มีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือกระสุนปืนเล็กสั้นบรรจุเองแบบ 87 ขนาด 7.62 ม.ม. เมื่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ.2501) ฯลฯ ได้กำหนดเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในข้อ(16) คือ "เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับสิ่งซึ่งระบุไว้ตั้งแต่ (1) ถึง (9) เว้นแต่เครื่องกระสุนปืน ชนิดและขนาดที่ใช้ได้แก่อาวุธปืนซึ่งได้รับอนุญาต" กฎกระทรวงดังกล่าวข้อ (3) ค. กำหนดว่า "ปืนเล็กสั้นแบบ 83 ขนาด 6.5 ม.ม. และ 7.62 ม.ม." กระสุนปืนของกลางเป็นแบบ 87 ปืนในกฎกระทรวงข้อ (3) ค. เป็นแบบ 83ต่างแบบกัน. จะฟังว่ากระสุนปืนเล็กสั้นแบบ 87 ขนาด7.62 ม.ม. ในกฎกระทรวงข้อ (3) ค. ย่อมไม่ได้กระสุนปืนของกลางจึงไม่ใช่สำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการเข้าใจผิด ลงโทษจำเลยฐานมีกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไม่ได้