คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตีความสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญากู้ที่ไม่ชัดเจนเรื่องดอกเบี้ย การสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายของสัญญา
เมื่อสัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้แต่เพียงร้อยละห้าไม่ชัดเจนว่าร้อยละห้าสลึงหรือร้อยละห้าบาท โจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลได้ว่าดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้นั้นร้อยละห้าสลึงได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรค 2 เพราะเป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญากู้ มิใช่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญากู้ที่ไม่ชัดเจนเรื่องอัตราดอกเบี้ย ศาลอนุญาตให้สืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายได้
เมื่อสัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้แต่เพียงร้อยละห้าไม่ชัดเจนว่าร้อยละห้าสลึงหรือร้อยละห้าบาท โจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลได้ว่าดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้นั้นร้อยละห้าสลึงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญากู้ มิใช่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาซื้อขายที่ดินบางส่วนสำคัญกว่าถ้อยคำในสัญญาประนีประนอม การตีความต้องตรงตามเจตนาของคู่กรณี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยแบ่งขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้แก่โจทก์บางส่วนในราคา 52,000 บาท แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้แก่โจทก์ในราคา 52,000 บาท ดังนี้ เมื่อคำบรรยายฟ้องและเอกสารการขอจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวก็ระบุว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินเพียงบางส่วน ราคาที่ดินตามฟ้องก็เป็นราคาเดียวกับในสัญญาประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะตกลงซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่และเขตติดต่อที่ระบุในฟ้อง หาใช่ซื้อขายทั้งแปลงไม่ โจทก์จึงไม่อาจหยิบยกถ้อยคำในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุว่าซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้มีความหมายว่าเป็นการซื้อขายทั้งแปลงตามตัวอักษร เพราะเป็นการตีความสัญญาซึ่งไม่ตรงตามประสงค์ของคู่กรณีและเป็นไปในทางไม่สุจริตอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาซื้อขายที่ดินบางส่วน: การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความต้องสอดคล้องกับเจตนาของคู่กรณีและข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยแบ่งขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่137 ให้แก่โจทก์บางส่วนในราคา 52,000 บาท แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้แก่โจทก์ในราคา 52,000 บาท ดังนี้เมื่อคำบรรยายฟ้องและเอกสารการขอจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวก็ระบุว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินเพียงบางส่วนราคาที่ดินตามฟ้องก็เป็นราคาเดียวกับในสัญญาประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาอันแท้จริงที่จะตกลงซื้อขายที่ดินกันตามจำนวนเนื้อที่และเขตติดต่อที่ระบุในฟ้อง หาใช่ซื้อขายทั้งแปลงไม่ โจทก์จึงไม่อาจหยิบยกถ้อยคำในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุว่าซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 137 ให้มีความหมายว่าเป็นการซื้อขายทั้งแปลงตามตัวอักษร เพราะจะเป็นการตีความสัญญาซึ่งไม่ตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีและเป็นไปในทางไม่สุจริตอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้เช่ายังไม่สร้างอาคารให้เสร็จตามกำหนด และการตีความสัญญาที่เป็นคุณแก่ผู้เสียเปรียบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่า 17 เดือน จำเลยให้การว่าจำเลยชำระตลอดมา คงไม่ชำระเพียง 6 เดือนเพราะโจทก์ไม่ยอมรับดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ยืมเงินจำเลย และยอมให้หักเงินยืมนั้นกับค่าเช่าที่ยังไม่ได้ชำระ 11 เดือน จำเลยจึงยังไม่ได้ชำระค่าเช่าอีกเพียง 6 เดือน ดังนี้ เป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่า จำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์แล้ว คงยังไม่ได้ชำระอีก 6 เดือนตามคำให้การของจำเลย มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
ตามสัญญาเช่าที่ดินกำหนดว่า 'หากอายุการเช่าครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่ายังไม่ทำการถมดินและก่อสร้างอาคารร้านค้า อย่างน้อย10 ห้อง และครบ 7 ปีตั้งแต่วันทำสัญญาต้องสร้างให้เสร็จครบอย่างน้อย 20 ห้อง ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ทันที' ดังนี้ กรณีมีข้อสงสัยว่าเมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่าถมดินและก่อสร้างร้านค้าเกินกว่า 10 ห้อง แต่ก่อสร้างเสร็จน้อยกว่า 10 ห้อง ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้หรือไม่ จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้เช่าซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ว่าจะบอกเลิกสัญญายังไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 7 ปีนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์, สัญญาค้ำประกัน, การตีความสัญญา, การชำระหนี้, ข้อพิพาททางแพ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระราคายางแอสฟัลท์ที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขายจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยที่ 1 จะนำยางแอสฟัลท์ไปก่อสร้างทางซึ่งจำเลยที่ 1 รับเหมามาจากกรมทางหลวงตามเอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งแต่โจทก์ส่งยางแอสฟัลท์ให้จำเลยที่ 1 ล่าช้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบงานให้ทันกำหนดถูกกรมทางหลวงปรับ จึงให้โจทก์ชดใช้เงินค่าปรับ ดังนี้ ฟ้องแย้งได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วแม้จะไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียด ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบในชั้นพิจารณา. ก็หาทำให้เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ล่วงเลยอายุความ 2 ปี จึงขาดอายุความ เห็นได้ว่าอายุความที่โจทก์ตั้งเป็นข้อต่อสู้มาแต่แรกเป็นเรื่องอายุความในมูลสัญญาซื้อขายในชั้นฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ยกอายุความเรื่องละเมิดขึ้นต่อสู้เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อนแล้วแต่ศาลชั้นต้น
โจทก์ส่งมอบยางแอสฟัลท์ให้จำเลยที่ 1 ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยถูกปรับ เพราะส่งมอบงานให้กรมทางหลวงไม่ทันกำหนดแต่จำเลยที่ 1 ก็มีส่วนบกพร่องในการก่อสร้างทางล่าช้าด้วย โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในข้อนี้ให้จำเลยที่ 1 เพียงบางส่วน
จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายของจำเลยที่ 1 การตีความสัญญาค้ำประกันต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณี และถ้าตีความได้เป็นสองนัย ก็ต้องถือตามนัยที่ทำให้เป็นผลบังคับได้ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของมาตรา 368 และมาตรา10 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการที่จะทราบความประสงค์ของคู่สัญญาจะต้องพิจารณาถึงสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาประธานและสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ด้วย เมื่อสัญญาซื้อขายระบุว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระราคายางแอสฟัลท์ให้โจทก์ภายใน 60 วันนับแต่วันส่งมอบ โดยจำเลยที่ 1 ต้องนำจำเลยที่ 2 มาเป็นผู้ค้ำประกันการชำระราคา แต่สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า สัญญาค้ำประกันมีกำหนดระยะเวลา 120 วัน หากเกิดการเสียหายขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าว ต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายใน7 วันนับแต่วันได้รับความเสียหาย ดังนี้ ระยะเวลา120 วันตามสัญญาค้ำประกันย่อมต้องหมายความถึงระยะเวลาที่โจทก์อาจส่งมอบยางแอสฟัลท์ให้จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้หมายความตลอดถึงระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 จะต้องได้รับคำบอกกล่าวจากโจทก์ให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ส่งมอบยางแอสฟัลท์งวดสุดท้ายให้จำเลยที่ 1 ภายใน 120 วันแล้วจำเลยที่ 1 ยังมีโอกาสชำระหนี้ค่ายางแอสฟัสท์ได้ภายใน 60 วัน นับจากวันที่โจทก์ส่งมอบยางแอสฟัลท์ครั้งสุดท้าย และหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระได้ภายใน7 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงในสัญญายอมความ ศาลมีอำนาจบังคับตามเจตนาแม้ข้อความในสัญญาไม่ชัดเจน
ในกรณีที่คู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ต่อศาลเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาว่ามีความหมายตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาอย่างไร ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อตีความให้เป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
ข้อความในสัญญายอมความ ซึ่งคู่สัญญาตกลงแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างกัน ระบุให้ห้องแถวไม้สองชั้น 10 ห้องเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าข้อความดังกล่าวพิมพ์ตกคำว่า "พร้อมด้วยที่ดิน" ซึ่งตามเจตนาแท้จริงของคู่สัญญาหมายรวมถึงที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องแถวนั้นด้วย เมื่อศาลเห็นว่า ตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาหมายถึงห้องแถวดังกล่าวพร้อมด้วยที่ดินแล้วก็มีอำนาจบังคับคดีให้เป็นไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่า: ระยะเวลาเช่าต้องเริ่มนับจากวันทำสัญญาจริง ไม่ใช่วันบอกกล่าว
โจทก์จำเลยทำสัญญากันให้โจทก์ลงทุนสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยและยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลย โดยโจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาเช่าและเรียกค่าช่วยก่อสร้างได้ จำเลยมีหน้าที่ทำสัญญาเช่ากับผู้เช่าและจดทะเบียนการเช่าให้สิบปีซึ่งตามสัญญาระบุว่าจะทำสัญญาเช่าเมื่อใดก็ตาม ต้องมีกำหนด การเช่า 10 ปี นับจากวันทำสัญญาเป็นต้นไปเมื่อโจทก์สร้างตึกแถวเสร็จและหาผู้เช่ามาทำสัญญาเช่าจำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมทำ โจทก์บอกกล่าวให้ไปทำก็ไม่ยอมทำจนโจทก์ต้องฟ้อง ดังนี้ ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยทำสัญญาเช่ามีกำหนดสิบปีนับจากวันทำสัญญาเป็นต้นไป จะนับระยะเวลาเช่าตั้งแต่วันที่โจทก์บอกกล่าวครบกำหนดหาได้ไม่ เพราะผิดจากเจตนาของคู่สัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระเงินล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ: การตีความสัญญาซื้อขายจากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง
สัญญาซื้อขายมีข้อความเกี่ยวกับการชำระเงินว่า ผู้ซื้อได้ชำระเงินในวันทำสัญญา 40,000 บาท ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินมัดจำหรือเงินที่ชำระราคาของล่วงหน้า ศาลย่อมฟังคำพยานบุคคลประกอบการแปลสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขาย: เงินชำระล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และข้อสัญญา
สัญญาซื้อขาย มีข้อความเกี่ยวกับการชำระเงินว่า ผู้ซื้อได้ชำระเงินในวันทำสัญญา 40,000 บาท ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินมัดจำหรือเงินที่ชำระราคาของล่วงหน้า ศาลย่อมฟังคำพยานบุคคลประกอบการแปลสัญญาได้
of 17