พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5086/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์: ระยะเวลาการครอบครองต่อเนื่องนับรวมได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 กล่าวถึงเฉพาะด้านผู้ครอบครองว่าถ้าได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นติดต่อกันนาน 10 ปี แล้วย่อมได้กรรมสิทธิ์ การนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินของจำเลยในระหว่างที่เป็นกรรมสิทธิของ ก. ติดต่อมาจนตกเป็นของโจทก์ สามารถนับรวมกันได้ เมื่อรวมเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปี จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5069/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการขับรถประมาท และค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง
จำเลยขับรถยนต์เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ที่ 1 นั่งซ้อนท้ายศาลแขวงเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์ที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหาย คดีถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงคดีนี้จึงต้องฟังว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อเพราะเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จำเลยจะฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่ออีกไม่ได้ เมื่อจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ที่ 1 เสียหายแก่ร่างกาย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่ผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้โจทก์ที่ 1 นั่งซ้อนท้ายไปจะประมาทเลินเล่อด้วยหรือไม่ หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไม่
ค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ต้องส่งเสียเลี้ยงดูและให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ที่ 1 ซ้ำอีก 1 ปี จำนวนเงิน 40,000 บาทนั้น โจทก์ที่ 1 ขาดเรียนเพราะต้องรักษาบาดแผลจนต้องสมัครใจเรียนซ้ำชั้น เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ค่าเสียหายส่วนนี้จำเลยจึงต้องรับผิด
แม้โจทก์ที่ 2 เป็นข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลในส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก
ค่าผ่าตัดเอาเหล็กที่ดามออกแม้จะเป็นค่าเสียหายในอนาคตแต่ก็เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคตที่แน่นอน โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้
ค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ต้องส่งเสียเลี้ยงดูและให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ที่ 1 ซ้ำอีก 1 ปี จำนวนเงิน 40,000 บาทนั้น โจทก์ที่ 1 ขาดเรียนเพราะต้องรักษาบาดแผลจนต้องสมัครใจเรียนซ้ำชั้น เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ค่าเสียหายส่วนนี้จำเลยจึงต้องรับผิด
แม้โจทก์ที่ 2 เป็นข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลในส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก
ค่าผ่าตัดเอาเหล็กที่ดามออกแม้จะเป็นค่าเสียหายในอนาคตแต่ก็เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคตที่แน่นอน โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิด - ค่าเสียหายต่อเนื่อง - ความรับผิดของผู้กระทำละเมิด
โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงที่มาของค่าเสียหายว่าเป็นค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ส.โรงพยาบาล ห. และที่บ้านเป็นเงินรวม 100,000 บาทเป็นการบรรยายในรายละเอียดแล้ว ส่วนหลักฐานใบเสร็จรับเงินโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ในส่วนเรียกค่าเสียหายไม่เคลือบคลุม
ว.และจำเลยที่ 1 ต่างทำหน้าที่ในสวนสาธารณะของจำเลยที่ 3การเสียบปลั๊กและปล่อยกระแสไฟฟ้าก็เพื่อป้องกันหนูมิให้กัดทำลายต้นกล้าไม้ในสวนอันเป็นของจำเลยที่ 3 ย่อมเป็นการทำงานเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เป็นงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3
จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ และจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยพลการ จำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อนี้ จึงเป็นฎีกานอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส. บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทนเด็กชาย ส. มิได้เป็นโจทก์ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 3 จะอ้างเอาการกระทำของ ส.มาเป็นข้ออ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 หาได้ไม่
เด็กชาย ส.ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายถึงสมองฝ่อเป็นอัมพาตตลอดชีวิต พูดไม่ได้ ย่อมจะต้องได้รับการดูแลรักษาในสภาพที่ป่วยเจ็บจนกว่าจะถึงแก่ความตาย ค่าดูแลรักษาที่จะต้องใช้จ่ายต่อไปจึงมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดให้เสียหายแก่ร่างกายในอนาคตนั่นเอง และเด็กชาย ส.ย่อมเสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง
ว.และจำเลยที่ 1 ต่างทำหน้าที่ในสวนสาธารณะของจำเลยที่ 3การเสียบปลั๊กและปล่อยกระแสไฟฟ้าก็เพื่อป้องกันหนูมิให้กัดทำลายต้นกล้าไม้ในสวนอันเป็นของจำเลยที่ 3 ย่อมเป็นการทำงานเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เป็นงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3
จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ และจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยพลการ จำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อนี้ จึงเป็นฎีกานอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส. บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทนเด็กชาย ส. มิได้เป็นโจทก์ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 3 จะอ้างเอาการกระทำของ ส.มาเป็นข้ออ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 หาได้ไม่
เด็กชาย ส.ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายถึงสมองฝ่อเป็นอัมพาตตลอดชีวิต พูดไม่ได้ ย่อมจะต้องได้รับการดูแลรักษาในสภาพที่ป่วยเจ็บจนกว่าจะถึงแก่ความตาย ค่าดูแลรักษาที่จะต้องใช้จ่ายต่อไปจึงมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดให้เสียหายแก่ร่างกายในอนาคตนั่นเอง และเด็กชาย ส.ย่อมเสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะโดยปริยาย: การใช้สอยทางต่อเนื่องโดยไม่มีการหวงห้าม ทำให้ประชาชนมีสิทธิใช้สอยได้
โดยลักษณะของทางสาธารณะอาจเป็นได้2กรณีคือเจ้าของที่ดินอุทิศให้เป็นทางสาธารณะกับการที่มีประชาชนใช้สอยเป็นเวลานานโดยไม่มีการหวงห้ามเข้าลักษณะเป็นทางสาธารณะโดยปริยายคดีนี้ได้ความว่าจากปากซอยพานิชอนันต์เข้าไปตามถนนซอยประมาณ175เมตรเป็นทางสาธารณะถัดจากทางพิพาทเข้าไปก็เป็นทางสาธารณะอีกส่วนหนึ่งและที่เป็นซอยแยกก็เป็นทางสาธารณะด้วยลักษณะการใช้สอยทางพิพาทของประชาชนปรากฏว่าใช้มาเป็นเวลานานกว่า10ปีพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้แล้วว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยายเมื่อฟังว่าเป็นทางสาธารณะแล้วประชาชนทั่วไปรวมทั้งจำเลยมีสิทธิใช้สอยได้ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายและห้ามมิให้จำเลยใช้ทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่อง แม้ออกจากที่ดินเนื่องจากภัยอันตราย ไม่ถือเป็นการสละการครอบครอง
โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของ จ. สามีโจทก์ ไปอยู่ที่อื่นเพราะเกรงกลัวอิทธิพลของพวกจำเลยที่ 1 จึงเป็นการออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่โจทก์ มิได้ออกไปโดยเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ยังแสดงเจตนายึดถือที่ดินพิพาทด้วยการไปร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. สามีโจทก์ และไปร้องขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท แต่ได้ยื่นคำขอคัดค้านการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอมเกิดจากการใช้สิทธิโดยสงบต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้มีทางออกอื่น แต่หากนิยมใช้ทางเดิมย่อมมีสิทธิ
จำเลยไม่ได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมดังที่จำเลยร่วมให้การถือว่าจำเลยไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นทั้งไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาในชั้นอุทธรณ์ แม้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินสามยทรัพย์นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง10ปีแต่เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินนั้นและได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินผ่านเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความได้สิทธิแก่โจทก์ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์เดินผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นภารยทรัพย์แล้วต้องเดินผ่านที่ดินของบุคคลอื่นก่อนจะไปออกสู่ถนนสาธารณะทางพิพาทก็เป็นทางภารจำยอมได้เมื่อได้เดินผ่านติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีแล้ว แม้มีทางเดินอีกทางหนึ่งแล้วออกสู่ทางสาธารณะได้แต่โจทก์นิยมใช้ทางพิพาทเนื่องจากระยะทางใกล้กว่าทางพิพาทไม่ได้หมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทางภารจำยอมจึงยังไม่สิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเข้าออกต่อเนื่องเกิน 10 ปี ทำให้ได้สิทธิภาระจำยอม แม้ฟ้องเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์
คดีเดิมที่จำเลยฟ้องโจทก์กับพวก อ้างว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครอง จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดแนวเขต โจทก์คัดค้านว่าเป็นของโจทก์ ประเด็นมีว่า ผู้ใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนคดีนี้มีประเด็นว่า ทางพิพาทในที่ดินดังกล่าวของจำเลยเป็นภาระจำยอมของโจทก์ตามกฎหมายหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินติดต่อกันมาเกิน 10 ปี ย่อมได้ภาระจำยอมโดยอายุความ
แม้ฟ้องโจทก์จะกล่าวถึงเนื้อที่ทางพิพาท 1 งาน 25 ตารางวาแต่แผนที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินทำส่งศาลได้แสดงบริเวณที่โจทก์นำรังวัดขอเปิดทางภาระจำยอมเนื้อที่ประมาณ 1 งาน 25 ตารางวา และบริเวณเขตโฉนดที่ดินจำเลยนำรังวัดเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าทางพิพาทกว้าง 2 วา ยาวถึงทางสาธารณะ จึงเป็นที่เดียวกัน ย่อมไม่เกินคำขอ
โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินติดต่อกันมาเกิน 10 ปี ย่อมได้ภาระจำยอมโดยอายุความ
แม้ฟ้องโจทก์จะกล่าวถึงเนื้อที่ทางพิพาท 1 งาน 25 ตารางวาแต่แผนที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินทำส่งศาลได้แสดงบริเวณที่โจทก์นำรังวัดขอเปิดทางภาระจำยอมเนื้อที่ประมาณ 1 งาน 25 ตารางวา และบริเวณเขตโฉนดที่ดินจำเลยนำรังวัดเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าทางพิพาทกว้าง 2 วา ยาวถึงทางสาธารณะ จึงเป็นที่เดียวกัน ย่อมไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิจากการครอบครอง: ไม่จำต้องรู้ว่าเป็นของผู้อื่น
โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่าสิบปี และการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นนั้นหามีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ครอบครองจำต้องรู้ว่าทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นเป็นของผู้อื่น หรือมิใช่ทรัพย์ของตนแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิในที่พิพาทด้วยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการทำสัญญาขยายเวลาและเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกัน เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าตัวอักษร
สัญญา ข้าราชการไป ศึกษาต่อภายในประเทศและสัญญาขยายระยะเวลาศึกษาต่ออีก2ฉบับมีข้อความอย่างเดียวกันจะต่างกันก็แต่รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จำเลยลาไปศึกษาต่อตามที่ได้ขอขยายจากกำหนดเดิมออกไปและอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญาเท่านั้นและสัญญาแต่ละฉบับไม่มีข้อความเท้าถึงกันซึ่งตามสัญญาและสัญญาขยายระยะเวลาครั้งแรกระบุดอกเบี้ยของเงินที่ต้องชำระอัตราร้อยละ15ต่อปีส่วนสัญญาฉบับสุดท้ายคิดดอกเบี้ยในกรณีเดียวกันอัตราร้อยละ12ต่อปีดังนี้การที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยขยายเวลาศึกษาต่อโดยได้ทำสัญญาขยายระยะเวลาฉบับสุดท้ายนั้นจึงมีผลทำให้จำเลยมิต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเดิมที่ทำกันไว้กับมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาจากเดิมร้อยละ15ต่อปีมาเป็นร้อยละ12ต่อปีกรณีนี้เมื่อสัญญาทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันอย่างชัดเจนซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใดเป็นเรื่องที่จะต้อง ตีความ เจตนาของคู่สัญญาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษรการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลดหย่อนจากอัตราเดิมที่ทำกันไว้นั้นจะว่าไม่มีผลใช้บังคับเลยนั้นไม่ได้รูปคดีมีเหตุให้ตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้ายเมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์จะยกเอาเจตนาเดิมมาลบล้างสัญญาซึ่งโจทก์กับจำเลยทำกันโดยตกลงกันใหม่หาได้ไม่จำเลยจึงมีความผูกพันต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ12ต่อปีดังระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนจากการแสดงตนเป็นชู้สาวต่อเนื่อง และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ในทำนองชู้สาว มาตั้งแต่ปี 2518 ตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 1 ได้กระทำต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1523 วรรคสองได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงหย่ากันเองหรือศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคแรก หรือไม่
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1523 วรรคสองได้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงหย่ากันเองหรือศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคแรก หรือไม่