พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาของนิติบุคคลต่างประเทศ สำนักงานผู้แทนไม่ใช่ภูมิลำเนา โจทก์ฟ้องศาลผิด
พระราชบัญญัติ ญญัติการธนาคารพาณิชย์กำหนดว่า ผู้ใดจะกระทำการแทนธนาคารต่างประเทศโดยมีสำนักงานติดต่อกับบุคคลทั่วไปในราชอาณาจักรหรือธนาคารพาณิชย์ใดนอกจากสาขาธนาคารต่างประเทศ จะตั้งสำนักงานเพื่อกระทำการแทนธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย พระราชบัญญัติดังกล่าวห้ามสาขาธนาคารต่างประเทศตั้งสำนักงานเพื่อกระทำแทนไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร จำเลยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจประเภทธนาคารพาณิชย์ หากจำเลยจะตั้งสำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้จัดตั้ง จึงเป็นเพียงตัวแทนของจำเลยในประเทศไทยในการติดต่อกับบุคคลทั่วไปเท่านั้น ประกอบกับหนังสืออนุญาตของธนาคารแห่งประเทศไทยที่อนุญาตให้จำเลยตั้งสำนักงานผู้แทนในประเทศไทยระบุว่า สำนักงานผู้แทนของจำเลยจะต้องไม่ประกอบธุรกิจอันใดอันเข้าลักษณะการประกอบการธนาคารพาณิชย์ จึงแสดงให้เห็นว่า สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยไม่มีอำนาจดำเนินการแทนจำเลยตามวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทย จึงไม่ใช่สาขาธนาคารของจำเลยในประเทศไทย ภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า ได้แก่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้งทำการหรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งหรือถิ่นที่มีสาขาสำนักงานในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้น สำนักงานผู้แทนของจำเลยในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ที่ตั้งทำการหรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ ตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งของจำเลย จำเลยจึงไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยในศาลประเทศไทยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิด: หลักฐานภาพถ่าย, พยานเบิกความ, และการพิจารณาความจำเป็นในการแสดงหลักฐานเท็จในต่างประเทศ
ผู้ร้องมีสำเนาทะเบียนนักเรียนว่าผู้ร้องเป็นบุตร ส. กับผ.อยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเกิดวันที่ 30 มีนาคม 2481 และมีบุคคลหลายคนรู้จักผู้ร้องตั้งแต่ผู้ร้องยังเป็นเด็กว่าผู้ร้องเกิดในประเทศไทย ขณะ ผ. จะคลอดผู้ร้องนั้น ล. เป็นคนตามแพทย์มาทำคลอด และเห็นผู้ร้องวิ่งเล่นที่บ้านของ ล.เป็นประจำ จนกระทั่งผู้ร้องอายุ 8 ขวบ ป. เจ้าของร้านถ่าย รูปฉายาธงชัย กับ บ. ผู้ล้างและอัดรูปของร้านดังกล่าวยืนยันว่ารูปถ่าย หมาย ร.12,13,14ถ่ายที่ร้านฉายาธงชัย(ถ่าย ก่อนผู้ร้องเดินทางออกจากประเทศไทย) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติเวช มีความเห็นว่า น่าเชื่อว่าบุคคลตามภาพถ่ายหมาย ร.12 ถึงร.21เป็นบุคคลคนเดียวกันภาพถ่ายหมายร.21 เป็นภาพถ่ายของผู้ร้องซึ่งถ่าย ในประเทศไทย เมื่อ 2526 ดังนั้น จึงน่าเชื่อว่า ผู้ร้องเกิดในประเทศไทย ส่วนหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ร้องทำขึ้นในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นก็เพราะความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ของผู้ร้องขณะที่อยู่ในประเทศนั้น เมื่อผู้ร้องเป็นคนเกิดในประเทศไทยย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 3(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำที่เป็นธุรกิจจัดหางาน
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบธุรกิจจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตโจทก์ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการอันเป็นการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหางาน เช่น หนังสือติดต่อกับผู้ว่าจ้างในต่างประเทศหรือตัวแทน หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงโดยอ้างเป็นตัวแทนจัดหางานต่างประเทศ ไม่ถือเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยเป็นตัวแทนจัดหางานของบริษัทจัดหางาน ส. ผู้รับอนุญาตสามารถจัดหางานให้ประชาชนคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทดังกล่าวและไม่สามารถจัดหางานให้ประชาชนไปทำงานในต่างประเทศได้ แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด เพียงแต่อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานก็เพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6019/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงโดยอ้างเป็นตัวแทนจัดหางานต่างประเทศ ไม่ถือเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยเป็นตัวแทนจัดหางานของบริษัทจัดหางาน ส. ผู้รับอนุญาตสามารถจัดหางานให้ประชาชนคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ความจริงจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทดังกล่าวและไม่สามารถจัดหางานให้ประชาชนไปทำงานในต่างประเทศได้ แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายแต่อย่างใด เพียงแต่อ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานก็เพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ – ความผิดฉ้อโกงประชาชน และการยกฟ้องฐานจัดหางาน
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกับพวกชักชวนชาวบ้านให้ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย โดยเรียกค่าบริการและรับเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายซึ่งสมัครไปทำงานดังกล่าวแต่แล้วกลับปล่อยโจทก์ร่วม กับผู้เสียหายไว้ที่จังหวัดยะลา โดยที่ไม่มีงานในประเทศมาเลเซียที่จะให้ไปทำจริงดังที่ประกาศชักชวน ดังนี้ เท่ากับเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคหนึ่ง
ตอนแรกของคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันจัดหางานโดยเรียกรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจัดหางานจากนายทะเบียน ตามกฎหมาย แต่ตอนหลังคำฟ้องกลับบรรยายว่า จำเลยทั้งสามกับพวกไม่ได้มีเจตนาและไม่มีความสามารถที่จะติดต่อหาผู้ใดไปทำงาน ดังนี้คำฟ้องตอนหลังของโจทก์เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาจัดหางานการกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัด หางานฯ พ.ศ.2511 หมายเหตุ วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่
ตอนแรกของคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันจัดหางานโดยเรียกรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจัดหางานจากนายทะเบียน ตามกฎหมาย แต่ตอนหลังคำฟ้องกลับบรรยายว่า จำเลยทั้งสามกับพวกไม่ได้มีเจตนาและไม่มีความสามารถที่จะติดต่อหาผู้ใดไปทำงาน ดังนี้คำฟ้องตอนหลังของโจทก์เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาจัดหางานการกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัด หางานฯ พ.ศ.2511 หมายเหตุ วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: โจทก์ต้องพิสูจน์การคุ้มครองตามกฎหมายฮ่องกงหรืออังกฤษอย่างชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุแถบ บันทึกภาพ (วีดีโอ เทป) ภาพยนตร์มีชื่อภาษาไทยว่า คิงคอง ภาค 2 ของบริษัทอินเตอร์คอนติเนนตัลฟิล์มดิสตริบิวเตอร์ส์ (ฮ่องกง) จำกัดผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคล เป็นงานมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายฮ่องกง ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์และประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย กฎหมายของประเทศฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวเป็นคำบรรยายฟ้องที่มีข้อความสำคัญแสดงให้เห็นว่า แถบ บันทึกภาพยนตร์ของผู้เสียหายตามฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการบรรยายฟ้องแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุด การชดใช้ค่าเสียหายพิเศษจากการส่งมอบสินค้าไปยังต่างประเทศ
โจทก์ซื้อกระป๋องสำหรับบรรจุปลากับน้ำซอส มะเขือเทศ จากจำเลยเมื่อกระป๋องดังกล่าวเป็นสนิมและมีความชำรุดบกพร่องอย่างอื่น ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตของจำเลย อันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 แม้โจทก์จะรับของจากจำเลยโดยไม่อิดเอื้อน แต่ขณะที่มีการส่งมอบของนั้นความชำรุดบกพร่องยังไม่เป็นอันเห็นประจักษ์ จำเลยก็หาพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 473(2) ไม่
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ซื้อกระป๋องดังกล่าวเพื่อนำไปขายต่อให้แก่ผู้ซื้อในประเทศพม่า การที่โจทก์ต้องเสียค่าขนส่งกระป๋องทดแทนส่วนที่ชำรุดบกพร่องไปให้ผู้ซื้อเพิ่มเติมจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบจำนวนค่าเสียหายส่วนนี้ไม่ได้ความแน่ชัด ศาลก็กำหนดให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์.
จำเลยทราบดีว่าโจทก์ซื้อกระป๋องดังกล่าวเพื่อนำไปขายต่อให้แก่ผู้ซื้อในประเทศพม่า การที่โจทก์ต้องเสียค่าขนส่งกระป๋องทดแทนส่วนที่ชำรุดบกพร่องไปให้ผู้ซื้อเพิ่มเติมจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบจำนวนค่าเสียหายส่วนนี้ไม่ได้ความแน่ชัด ศาลก็กำหนดให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต่างประเทศต้องแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาและกฎหมายต่างประเทศคุ้มครองลิขสิทธิ์ไทย
คดีความผิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลในเมืองฮ่องกงอันเป็นดินแดนในอารักขาของประเทศสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1886 ซึ่งได้แก้ไขณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคลเพิ่มเติม ลงนาม ณ กรุงเบอร์น เมื่อวันที่20 มีนาคม ค.ศ. 1914 โดยกฎหมายเมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ประเทศไทยเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าวและกฎหมายฮ่องกงให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521และขอให้สั่งให้ตลับแถบ บันทึกภาพและเสียงของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 47 เมื่อไม่ได้ความว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง จึงต้องคืนของกลางแก่เจ้าของ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนา, การส่งคำบังคับ, คำขอพิจารณาใหม่: การยึดทรัพย์ที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อผู้ถูกยึดมีภูมิลำเนาในไทยแม้จะอยู่ต่างประเทศ
จำเลยที่ 4 ไปศึกษาต่อต่างประเทศก่อนโจทก์ฟ้องหลายปี มีครอบครัวและประกอบอาชีพอยู่ต่างประเทศ แต่จำเลยที่ 4 ยังมีสัญชาติไทย มีชื่อในทะเบียนบ้านตามที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องและเคยเดินทางกลับมาประเทศไทยหลายครั้ง ถือว่าจำเลยที่ 4 ยังมีภูมิลำเนาในประเทศไทยตามทะเบียนบ้านนั้น การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 4 ตามภูมิลำเนาดังกล่าวโดยการปิดคำบังคับจึงเป็นการส่งโดยชอบ จำเลยที่ 4 เพิ่งยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นกำหนด6 เดือนไปแล้ว นับแต่วันยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก.