พบผลลัพธ์ทั้งหมด 429 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายความ: ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณาคดีอาญาที่มีโทษจำคุก
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2539 ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็วเท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้ เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มีจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมาย – การสอบถามทนายความก่อนพิจารณาคดีในศาลแขวง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2539ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนด อำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิด ที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณา คดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าว ก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลย ให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็ว เท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความ ช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติ ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาส ได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มี จำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายความ: ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณา หากจำเลยต้องการแต่ไม่มีทนายความ ศาลต้องจัดให้
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ที่บัญญัติให้คดีที่มีอัตราโทษจำคุกก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้า ไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิจำเลย จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามี และต้องการทนายความหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ มีการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสองก็ตามจำเลยก็ยกขึ้นอ้างให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้และกรณีเช่นว่านี้จำต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4326/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: ผลกระทบจากการแต่งทนายและหน้าที่ในการติดตามวันนัด
จำเลยแต่งให้ ส. เป็นทนายความ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แทนจำเลย การที่ทนายจำเลยยื่นคำให้การ แก้คดีและลงลายมือชื่อรับทราบกำหนดวันเวลานัดชี้สองสถาน ไว้แล้ว จึงเป็นการกระทำแทนจำเลยโดยชอบ ถือว่าจำเลย ทราบวันเวลานัดชี้สองสถานแล้วด้วย ครั้นถึงกำหนดดังกล่าว จำเลยรวมทั้งทนายจำเลยไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงชี้สองสถาน และกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์ไป การที่ไม่มีผู้ใด ฝ่ายจำเลยไปศาลในวันนัดชี้สองสถานซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ตรี วรรคแรกให้ถือว่าจำเลยและทนายจำเลยได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว ซึ่งรวมถึงทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นด้วย เมื่อจำเลยและทนายจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดีในวันสืบพยานหรือก่อนวันนั้นจึงเป็นการขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ และไม่มีเหตุสมควรที่จะให้ พิจารณาใหม่ การที่ทนายจำเลยทั้งสองไม่แจ้งวันนัดให้จำเลย ทราบเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย จำเลยจะนำมาอ้าง เป็นเหตุว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการอุทธรณ์โดยทนายความที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ และการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ถูกต้อง
อ. ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความในสำนวนคำฟ้องอุทธรณ์ของ จำเลยจึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยก่อนยื่นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องสั่งแก้ไขและถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้อง อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยเสียโดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์และการปฏิบัติหน้าที่ของศาลตามลำดับชั้น
ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158 บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดยที่ ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรนณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 แห่ง ป.วิ.อ. เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องมีใบแต่งทนายความที่ถูกต้อง หากศาลชั้นต้นละเลยหน้าที่ ศาลฎีกาสั่งย้อนสำนวนให้พิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคสองบัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี (7) ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียงพิมพ์ โดยที่ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและกรณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และจะถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อม มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208(2) ประกอบมาตรา 225 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้วศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความประนีประนอมและผลผูกพันคำพิพากษา
จำเลยได้แต่งตั้ง ส.เป็นทนายความเข้าดำเนินคดี และระบุข้อความไว้ในใบแต่งทนายให้ ส.มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยเมื่อจำเลยยังมิได้ถอน ส.ออกจากการเป็นทนายความ การที่ ส.ไปตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณา มิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.พ.พ.มาตรา 145 จนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี และจำเลยได้แต่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าฝ่ายโจทก์ฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 วรรคสอง(1) เท่านั้น จำเลยจะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นและให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แม้ไม่ปรึกษา
จำเลยแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความเข้าดำเนินคดี และระบุข้อความไว้ในใบแต่งทนายความให้ ส. มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย เมื่อจำเลยยังมิได้ถอน ส.ออกจากการเป็นทนายความ การที่ ส. ไปตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณามิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 จนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าฝ่ายโจทก์ฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1)เท่านั้น แต่จำเลยจะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้น และให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบคำให้การจำเลยและทนายความ หากศาลชั้นต้นไม่ได้จดบันทึกรายงานกระบวนพิจารณา แต่คดีความชัดเจน ศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องให้พิจารณาใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297, 83และคดีได้ความตามความเป็นจริงว่า ศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความด้วยแล้ว แม้จะปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่จดบันทึกเกี่ยวกับการสอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตาม แต่ ป.วิ.อ.ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ และ ป.วิ.พ.มาตรา 48 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งรายงานการนั่งพิจารณาหรือกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ของศาลไว้ทุกครั้งและรายงานนั้นต้องมีข้อความโดยย่อเกี่ยวด้วยเรื่องที่กระทำและรายการข้อสำคัญอื่น ๆซึ่งเห็นได้ว่าแม้การจดรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ตาม แต่เมื่อ ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) บัญญัติว่า ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ก็ให้พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี ดังนั้น เมื่อคดีได้ความชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีจึงชอบแล้ว