คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทายาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถูกกำจัดมิให้รับมรดกต้องเป็นทายาทขณะเจ้ามรดกถึงแก่กรรม และการแบ่งมรดกตามสัดส่วน
ทายาทที่จะถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605 มุ่งเฉพาะบุคคลที่เป็นทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายฉะนั้น เมื่อขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม มีทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดก คือ พ. ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ 1 จำเลย อ. และ ซ. มารดาของผู้ตาย แม้ว่าโจทก์ที่ 1 จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ พ. แต่จะมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายก็เพียงในฐานะผู้สืบสิทธิของ พ. โดยรับมรดกเฉพาะส่วนของ พ. เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9750/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์เสียชีวิตพร้อมกัน สิทธิยังไม่เกิด ไม่เป็นมรดก แต่ตกแก่ทายาท
ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ถึงแก่ความตายพร้อมกัน สิทธิของผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงยังไม่เกิด จึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของผู้รับประโยชน์ เงินตามสัญญาประกันชีวิตก็ไม่ใช่ทรัพย์มรดกที่ ผู้เอาประกันภัยมีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย แต่แม้มิใช่มรดกของผู้เอาประกันภัยเพราะได้มาหลังจากผู้เอาประกันถึง แก่ความตายแล้ว จึงต้องอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง เงินดังกล่าวจึงตกแก่ทายาท โดยธรรมของผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8661/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การได้มาซึ่งที่ดินโดยการยกจากผู้ตาย สิทธิทายาท การครอบครองแทน และการโอนสิทธิ
ป. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกและ บ. อยู่กินฉันสามีภริยากันโดยเปิดเผยเป็นที่รับรู้ของบุคคลอื่นทั่ว ๆ ไป และมีบุตรด้วยกันก่อนโจทก์แล้วคนหนึ่งซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ป. ถึงแก่ความตายขณะ บ. ตั้งครรภ์โจทก์ พฤติการณ์ของ ป. และบ. ที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า ป. ยกย่อง บ. เป็นภริยาและยอมรับว่าเด็กที่เกิดจาก บ. เป็นบุตร บ. ตั้งครรภ์โจทก์ขณะที่ ป. ยังไม่ถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นให้เห็นว่าป. ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าเด็กในครรภ์ บ. ไม่ใช่เป็นบุตรของ ป. จึงต้องถือว่า ป. ได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรและต้องถือว่า ป. ได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บ. แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. และเป็นทายาทของ ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมาตรา 1604
เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของป. ที่จะตกทอดไปยังทายาทของ ป. ตามกฎหมาย บ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. โดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. โจทก์จึงเป็นทายาทของ ป. แต่เพียงผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงตกได้แก่โจทก์ซึ่งยังเป็นเด็กเล็กและอาศัยอยู่กับ บ. มารดา ดังนั้น จึงต้องถือว่า บ. ครอบครองดูแลที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์มาตลอด แม้ต่อมา บ. จะได้ ส. เป็นสามีและรับ ส. เข้ามาอยู่ร่วมกันในที่ดินพิพาทก็ตามแต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บ. และ ส. ครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าไม่มีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป บ. และส. จึงไม่เกิดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและยังต้องถือว่าบุคคลทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์มาตลอดเมื่อ บ. โอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่า บ. ผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ จำเลยจึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยการนำที่ดินมาจัดตั้งบริษัทและแบ่งหุ้นให้ทายาท ถือเป็นการแบ่งมรดกที่สมบูรณ์แล้ว
การนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนจัดตั้งบริษัทขึ้นมาแล้วให้ทายาททุกคนเป็นผู้ถือหุ้นเพื่อดำเนินกิจการทำเหมืองแร่ในที่ดิน เป็นการจัดการตามที่จำเป็นเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกซึ่งอยู่ในขอบอำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719และ 1736 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการให้ทายาทเข้าครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดได้ เพราะทายาททุกคนจะเอาแต่ที่ดินที่อยู่ติดกับทะล ดังนั้นแม้ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ขณะนำที่ดินมาเป็นทุนของบริษัท ผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องขออนุญาตจากศาลตามป.พ.พ. มาตรา 1556 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หรือมาตรา 1574 (ใหม่)กรณีไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อทายาททุกคนโดยเฉพาะโจทก์ได้รับหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนเป็นประจำทุกเดือนจากบริษัทที่ตั้งขึ้นเรื่อยมา จนกระทั่งโจทก์ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ผู้ซื้อไปโดยไม่ได้คัดค้านว่าการกระทำของผู้จัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย แสดงว่าโจทก์และทายาททุกคนพอใจและให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวแล้ว ถือว่าโจทก์ได้รับแบ่งมรดกตามสิทธิครบถ้วนและถือว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกเสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการนำทรัพย์สินมาจัดตั้งบริษัทให้ทายาทถือหุ้น ถือเป็นการแบ่งมรดกที่สมบูรณ์
ที่ดินประทานบัตรทำเหมืองแร่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกนำมาเป็นทุนจัดตั้งเป็นบริษัทจำเลยที่ 8 แล้วให้ทายาททุกคนเป็นผู้ถือหุ้นตามส่วนสัดที่ทายาทแต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดก การนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8ดังกล่าวเป็นการจัดการตามที่จำเป็นเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกซึ่งอยู่ในขอบอำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และมาตรา 1736 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการให้ทายาทเข้าครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดได้
แม้ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ขณะนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนของบริษัทจำเลยที่ 8 ผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องขออนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 และ 1736 วรรคสอง
เมื่อทายาททุกคนโดยเฉพาะโจทก์ได้รับหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทจำเลยที่ 8 เรื่อยมาจนกระทั่งโจทก์ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ อ. ไปในปี 2509 โดยไม่ได้คัดค้านว่าการกระทำของผู้จัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมายแสดงว่าโจทก์และทายาททุกคนพอใจและให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวแล้วถือว่าโจทก์ได้รับแบ่งมรดกตามสิทธิครบถ้วนและถือว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกเสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2503 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8128/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่เสียชีวิตแล้ว และการแก้ไขคำฟ้องให้ทายาทรับผิดชอบ
ในขณะที่โจทก์ฟ้อง อ. เป็นจำเลยนั้น อ. ได้ถึงแก่กรรม ไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้อง อ. เป็นจำเลยได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นทายาทมารับผิดแทน อ. จึงไม่อาจกระทำได้ เพราะมิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องร้องจำเลยอื่นนั้นในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมของ อ. ได้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7968/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดก การแบ่งมรดก และอายุความ ฟ้องแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความแม้พ้นกำหนด
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้มีการแบ่งปัน การที่จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินต้องถือว่าได้ถือไว้แทนทายาทอื่นด้วย เมื่อโจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งจึงเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งกันให้เสร็จสิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งมรดกนี้ได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 กรณีต้องตามมาตรา 1748 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงทรัพย์มรดกของ ย. ไว้ในคำฟ้องการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้โจทก์ได้รับที่ดินพิพาท 1 ใน 12 ส่วนของเนื้อที่ดินทั้งแปลงเท่ากับนำที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ ย. ไปแบ่งให้โจทก์ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอ นั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าวินิจฉัยคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง เพียงแต่อ้างว่าส่วนแบ่งของโจทก์ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเกินคำขอ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ภาค 2ย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องอุทธรณ์ในเรื่องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7449/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทอื่น สิทธิโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
หลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โจทก์ไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือครอบครองที่ดินพิพาท คงมีแต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกโดยโจทก์มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องเลยเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว สิทธิของโจทก์ให้จำเลยทั้งสี่แบ่งมรดกซึ่งเป็นคดีมรดกจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นทรัพย์มรดกย่อมตกแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผู้ถือ โอนด้วยการส่งมอบ ทายาทผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบตามเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยการส่งมอบให้แก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 เมื่อ ศ. นำเช็คพิพาทมาขายลดให้แก่โจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยในฐานะทายาทของ พ. จึงต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ แต่ต้องไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีอำนาจฟ้องจากการที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้ละเมิดสิทธิทายาท การขอใส่ชื่อในโฉนดเพื่อรับทราบการขายเป็นเหตุขอใส่ชื่อในโฉนดที่ดินที่ไม่มีกฎหมายรองรับ
ตามคำฟ้องคงได้ความเพียงว่า จำเลยลงชื่อตนเองไว้ในโฉนดที่ดินแปลงพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดก และไม่ปรากฏว่า จำเลยกระทำการอย่างใดให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของเจ้ามรดก ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิเสธสิทธิของโจทก์ การที่ผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของเจ้ามรดกตกลงกันให้ขายที่ดินแปลงพิพาทแล้วนำเงินไปใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ เงินส่วนที่เหลือให้นำมาแบ่งกัน ก็ยังไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่ยอมดำเนินการ หรือดำเนินการโดยมิชอบแต่อย่างใด ที่โจทก์ขอให้ใส่ชื่อโจทก์ไว้ในโฉนดที่ดินในฐานะเจ้าของรวมเฉพาะส่วน เพื่อโจทก์จะได้รับทราบเมื่อมีการขายที่ดิน ก็ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้ ทั้งยังอาจจะขัดต่อข้อตกลงในการแบ่งมรดกอีกด้วย การกระทำของจำเลยจึงยังไม่ได้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ ถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือ หน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 132