คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมรดก: สิทธิเจ้าของรวม, สัญญาไม่เป็นโมฆะ แต่บังคับโอนทั้งหมดไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นกองมรดกยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทหลายคน ทายาทคนหนึ่งไม่มีสิทธิที่จะเอาไปขายทั้งหมดโดยลำพังได้ ถ้าผู้ซื้อฟ้องศาลขอให้บังคับทายาทผู้นั้นโอนขายที่ดินพิพาททั้งหมดโดยไม่ทราบว่าส่วนของทายาทผู้นั้นมีเนื้อที่เท่าใด ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้ขายให้แก่ผู้ซื้อได้ แต่สัญญาจะซื้อขายนั้นไม่เป็นโมฆะ
พระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชซึ่งทรงให้จัดแบ่งมรดกของเจ้ามรดกให้แก่ทายาทตามส่วน ย่อมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สิทธิในที่ดินมรดกโดยการนำสืบพยานเพื่อหักล้างข้อกล่าวอ้างของคู่ความ และการรับฟังพยานนอกฟ้องเพื่อแก้เหตุ
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงสิทธิที่ดินมรดกของบิดาโจทก์ ซึ่งจำเลยผู้เป็นบิดาเลี้ยง และมารดาโจทก์ครอบครองแทนโจทก์มา จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยก่อนได้กับมารดาโจทก์ และว่ามีคนภายนอกฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่ง โจทก์ย่อมนำสืบพยานได้ว่า คดีที่คนภายนอกฟ้องจำเลยนั้น เป็นเรื่องฟ้องมรดกของบิดาโจทก์ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้างถึงคดีที่ฟ้องกันนี้เป็นประเด็นมาในฟ้อง เพราะเป็นประเด็นที่จำเลยอ้างมาในคำให้การ โจทก์นำสืบแก้ให้เห็นว่าข้ออ้างของจำเลยไม่เป็นความจริงย่อมมีสิทธินำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162-1164/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินมรดกที่มีข้อพิพาท และการเพิกถอนนิติกรรมเนื่องจากผู้รับโอนรู้ถึงการเสียเปรียบของเจ้าหนี้เดิม
สัญญามีข้อความว่า " ที่ดินมรดกเรื่องนายคำ ร้องคัดค้านนายอ่องซึ่งเป็นส่วนของนางเทียบนายแว้นั้นข้าพเจ้าเป็นน้องนางเทียบ นายแว้เป็นผู้รับมรดกที่ดินรายนี้ ข้าพเจ้ายอมยกที่ดินรายนี้มีเท่าใดให้นายอ่องทั้งสิ้น เพราะข้าพเจ้าได้รับเงินนายอ่องไป 410 บาท โดยขายให้นายอ่อง จึงได้ลงลายมือไว้เป็นสำคัญ " ดังนี้ เป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินตามธรรมดา
การที่ผู้ซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่งออกเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความให้แก่ผู้ขายที่ดิน เพื่อฟ้องบุคคลผู้ขัดขวางสิทธิเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นย่อมไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เพราะเป็นการป้องกับประโยชน์ส่วนได้เสียตามปกติไม่ใช่เป็นการแสวงประโยชน์จากการที่บุคคลอื่นเข้าเป็นความกัน
ผู้ขายได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อและรับเงินไว้บางส่วน แต่ยังไม่ได้โอนเพราะผู้ขายกำลังฟ้องบุคคลที่ 3 เป็นจำเลย เรื่องขัดขวางไม่ยอมให้รับมรดกที่ดินแปลงนั้นภายหลังผู้ขายได้ทำสัญญาประนีประนอมกับบุคคลที่ 3 โดยโอนที่ดินให้เป็นของบุคคลที่ 3 ดังนี้เป็นเหตุให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเพราะมี+สิทธิชำระได้ บุคคลที่ 3 จึงเข้าลักษณะเป็นผู้ได้ลาภงอกเงยจากผู้ขาย ซึ่งเป็นลูกหนี้นิติกรรมที่ผู้ขายโอนให้แก่บุคคลที่ 3 จึงอาจถูกเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ.ม. 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: คำสั่งศาลแสดงสิทธิครอบครองไม่ตัดสิทธิทายาท
ไปร้องต่อศาลขอให้แสดงสิทธิครอบครองในที่ดินมีโฉนดอ้างว่าเจ้าของที่ดินขายให้คนนั้นแม้ศาลจะมีคำสั่งแสดง ว่าผู้นั้นได้สิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ก็ตามเมื่อความจริงปรากฎว่า เจ้าจองที่ดินนั้นมิได้ขาย เป็นแต่ให้เช่าดังนี้ คำสั่งของศาลดังกล่าวย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิเจ้าของที่ดินหรือทายาทที่จะฟ้องเรียกร้องเอาที่ดินนั้นคืนมา./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนที่ดินมรดก: คดีไม่ใช่การแบ่งมรดก, น้องไม่สิทธิรับมรดก, อายุความไม่ตัดฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินของบิดา(ซึ่งตกเป็นมรดกได้แก่ตน) จากอาว์ผู้ยึดถือที่ดินนั้นไว้ นั้นไม่ใช่เป็นคดีฟ้องขอแบ่ง
มรดกจำเลยผู้เป็นอาว์โจทก์และเป็นน้องผู้ตายยอมไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย จำเลยจึงจะยกอายุความมรดกขึ้นต่อ
สู้โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนที่ดินมรดก: ไม่ใช่คดีแบ่งมรดก สิทธิการยกอายุความมรดกจึงใช้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินของบิดา(ซึ่งตกเป็นมรดกได้แก่ตน)จากอาผู้ยึดถือที่ดินนั้นไว้ นั้นไม่ใช่เป็นคดีฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยผู้เป็นอาโจทก์และเป็นน้องผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย จำเลยจึงจะยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก เจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้อง แม้ทายาทอื่นไม่ร่วมฟ้อง
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์และทายาทอีกคนหนึ่ง จำเลยคิดแย่งกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงขอให้ขับไล่จำเลยและขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทดังนี้แม้ทายาทนั้นจะไม่ได้มาร่วมเป็นโจทก์ด้วยโจทก์ก็ยังเป็นผู้รับมรดกและเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ฝ่ายจำเลยไม่มีอำนาจอะไรเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิครอบครองที่ดินมรดก: แม้ขาดอายุความฟ้องแบ่งมรดก แต่หากจำเลยยินยอมแบ่งและสละสิทธิครอบครองให้โจทก์ โจทก์ได้สิทธิครอบครอง
ฟ้องของโจทก์ตั้งรูปขอแบ่งที่นามรดก และได้กล่าวถึงการที่จำเลยยินยอมแบ่งที่นารายพิพาทให้โจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์เมื่อปรากฏว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องในทางขอแบ่งมรดกแต่ประเด็นหลังฟังได้ว่าจำเลยได้ยอมแบ่งที่นารายพิพาทซึ่งเป็นที่นามือเปล่าให้โจทก์เป็นการสละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม มาตรา 1378 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และอายุความมรดกในที่ดินมรดกเมื่อไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โดยเจ้าของที่ดินยกให้ ต่อมาเจ้าของที่ดินตาย โจทก์ครอบครองตลอดมาเกินอายุความ 1 ปีแล้ว จำเลยต่อสู้ว่าเจ้าของที่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยไม่ใช่ให้โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทของเจ้าของที่ดิน ได้ครอบครองที่พิพาทร่วมกัน และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อเกินอายุความมรดกแล้ว ไม่มีทายาทคนอื่นของเจ้าของที่ดินเข้ามาเกี่ยวข้อง ศาลย่อมพิพากษาแบ่งส่วนที่รายพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดกที่แบ่งแยกครอบครอง การโอนสิทธิโดยสุจริต และสิทธิในการแบ่งแยกที่ดิน
ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดฝ่ายละกึ่งหนึ่ง แต่ต่างได้ครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้วซึ่งมีเนื้อที่ไม่เท่ากัน ภายหลังคนหนึ่งได้ขายส่วนของตนให้บุคคลภายนอก บุคคลภายนอกรับซื้อไว้โดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิของเขาตาม กฎหมาย แล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อมีสิทธิที่จะฟ้องขอแบ่งที่รายนั้นให้เป็นของตนกึ่งหนึ่งได้ ภายใน 10 ปีนับแต่วันรับโอน
of 12