พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฎีกาในคดีละเมิดอำนาจศาล ผลกระทบต่อธุรกิจ และการรอการลงโทษ
อำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้นมีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 11 (7) แห่ง พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 เพียงมาตราเดียว อีกทั้งตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้เป็นทำนองว่าเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฎีกาแล้วจะกลับมาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นสั่งฎีกาไม่ได้ ส่วนที่ผู้ถูกกล่าวหากล่าวอ้างในคำแก้ฎีกาต่อไปว่า พนักงานอัยการจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่สั่งไม่ฎีกาเป็นสั่งให้ฎีกานั้น จะต้องปรากฏพยานหลักฐานใหม่เพียงพอเห็นได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิด โดยอาศัยเทียบเคียงกับ ป.วิ.อ. มาตรา 147 นั้น เห็นว่า ตามมาตรา 147 แห่ง ป.วิ.อ. เป็นเรื่องผลของการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ซึ่งห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่จะได้มีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ ซึ่งเป็นหลักการของกฎหมายในชั้นสอบสวน เป็นคนละเรื่องคนละขั้นตอนกับคดีละเมิดอำนาจศาลอันเป็นคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง โดยที่มิได้มีผู้ใดเป็นโจทก์ฟ้องคดี ดังนั้น ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาปล่อยผู้นั้น พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (7) จึงมอบให้พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่พิจารณาว่าจะสมควรฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 147 มาเทียบเคียงกับอำนาจฎีกาของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (7) กรณีการสั่งไม่ฎีกาแล้วจะกลับมีคำสั่งให้ฎีกา ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22691/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์ในการพิสูจน์ความผิดอาญา & พยานหลักฐานรับจำนำต้องเชื่อมโยงกับธุรกิจ
ในคดีอาญาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ เป็นหน้าที่ของโจทก์โดยตรงที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนคำฟ้อง และพิสูจน์ให้ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อคดีนี้โจทก์บรรยายว่า จำเลยตั้งโรงรับจำนำ ประกอบการรับจำนำสิ่งของ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า กบไสไม้ โทรศัพท์เคลื่อนที่และอื่น ๆ เป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุรกิจแต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีข้อตกลงว่าจะได้ไถ่คืน โจทก์มีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงให้สมฟ้อง แต่โจทก์มีพยานเพียง 3 คน เบิกความว่านำสิ่งของจำนำไว้แก่จำเลยเท่านั้น แม้เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้หนังสือสัญญาซื้อขาย 69 เล่ม และคู่มือจดทะเบียนรถของกรมการขนส่งทางบก 10 เล่ม มาเป็นของกลาง แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์มิได้อ้างส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานและมิได้นำสืบให้เห็นว่าหนังสือสัญญาซื้อขายและคู่มือจดทะเบียนรถนั้นเกี่ยวข้องกับการรับจำนำสิ่งของที่ร้านค้าของจำเลยหรือไม่ อย่างไร ทั้งในชั้นสอบสวนก็ไม่ได้สอบผู้ที่ทำสัญญาซื้อขาย จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าหนังสือสัญญาซื้อขายและคู่มือจดทะเบียนรถเป็นพยานเกี่ยวกับการรับจำนำสิ่งของของจำเลยอันจะเป็นพฤติการณ์บ่งชี้ให้เห็นว่า จำเลยประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นปกติธุระตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.โรงรับจำนำ พ.ศ.2505 จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานตั้งโรงรับจำนำโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15364-15365/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ละเมิดทางธุรกิจ: การกระทำต่างกรรมต่างวาระ และการนำสืบพยานเอกสารที่ไม่ถูกต้อง
แม้คดีนี้และคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1692/2544 ของศาลชั้นต้น จะเป็นคดีที่มีมูลละเมิดอย่างเดียวกัน จำเลยที่ 3 กับโจทก์ต่างเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่การที่จำเลยที่ 3 รับจำเลยคนอื่นๆ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1692/2544 กับการที่จำเลยที่ 3 รับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าร่วมเดินรถรับส่งผู้โดยสารเป็นคดีนี้เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน โดยร่วมกับบุคคลต่างกัน หาใช่บุคคลผู้เป็นคู่ความรายเดิมไม่ ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ที่ว่า จำเลยทั้งสามกระทำละเมิดในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องที่เกิดต่างกรรมต่างวาระจากมูลละเมิดในคดีดังกล่าว ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1692/2544 ของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
การที่จำเลยทั้งสามส่งสำเนาคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2132/2551 ของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกา โดยในคำฟ้องระบุว่า พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นโจทก์ฟ้อง ช. ในความผิดฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 384/2546, 386/2546, 389/2546 ของศาลชั้นต้น นั้น ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าว จำเลยทั้งสามเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ทั้งโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านเกี่ยวกับพยานเอกสารดังกล่าวนี้ ข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้นจึงรับฟังไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสามส่งสำเนาคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2132/2551 ของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกา โดยในคำฟ้องระบุว่า พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นโจทก์ฟ้อง ช. ในความผิดฐานเบิกความเท็จในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 384/2546, 386/2546, 389/2546 ของศาลชั้นต้น นั้น ข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าว จำเลยทั้งสามเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นการนำพยานเอกสารเข้าสู่สำนวนความโดยไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ทั้งโจทก์ไม่มีโอกาสซักค้านเกี่ยวกับพยานเอกสารดังกล่าวนี้ ข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้นจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341-6342/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะวิกฤติทางธุรกิจ ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
การบอกเลิกสัญญาจ้างเพราะเหตุลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง เป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ปกติที่นายจ้างไม่ได้ประสบภาวะวิกฤติร้ายแรงในการประกอบกิจการ แต่หากนายจ้างต้องประสบภาวะวิกฤติร้ายแรงถึงขั้นความอยู่รอดของกิจการ นายจ้างก็มีสิทธิอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
จำเลยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2541 ผลกำไรลดลง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายนำเครื่องบินชนตึกเวิร์ลเทรดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างสำคัญต่อการประกอบธุรกิจการบินของจำเลย จำเลยต้องดำเนินการเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงทุกด้าน และมีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายสำหรับฐานบินในประเทศไทยด้วยซึ่งเป็นฐานบินขนาดเล็ก โดยลดพนักงานและเลิกจ้างลูกเรือทั้งหมด 38 คน รวมทั้งโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ไม่ปกติ แม้ไม่ใช่สาเหตุมาจากลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิด ขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทจำเลย หรือไม่ไปรับการรักษาพยาบาลตามที่จำเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในอุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิยกเป็นเหตุเลิกจ้างได้ ทั้งจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้างแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ถูกต้องตามกฎข้อบังคับในการว่าจ้าง การบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาแต่อย่างใด
จำเลยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2541 ผลกำไรลดลง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายนำเครื่องบินชนตึกเวิร์ลเทรดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างสำคัญต่อการประกอบธุรกิจการบินของจำเลย จำเลยต้องดำเนินการเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงทุกด้าน และมีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายสำหรับฐานบินในประเทศไทยด้วยซึ่งเป็นฐานบินขนาดเล็ก โดยลดพนักงานและเลิกจ้างลูกเรือทั้งหมด 38 คน รวมทั้งโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ไม่ปกติ แม้ไม่ใช่สาเหตุมาจากลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิด ขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทจำเลย หรือไม่ไปรับการรักษาพยาบาลตามที่จำเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในอุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิยกเป็นเหตุเลิกจ้างได้ ทั้งจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้างแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ถูกต้องตามกฎข้อบังคับในการว่าจ้าง การบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6938/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องหนี้ค่าสินค้าทางการค้า: ผู้ประกอบการค้า vs. ลูกหนี้ใช้ในธุรกิจ
จำเลยซื้อสินค้าประเภทอาหารกุ้งและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งไปจากโจทก์ โดยจำนวนสินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์แต่ละครั้งมีจำนวนหลายรายการและมีปริมาณค่อนข้างมาก อีกทั้งสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าประเภทอาหารกุ้งและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งซึ่งโดยสภาพของสินค้านั้นนำไปใช้กับกิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งเท่านั้น ประกอบกับกิจการการเลี้ยงกุ้งเป็นการเลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายมิใช่เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเอง การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการของลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3568/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันทางละเมิดจากการใช้รถเช่าซื้อในธุรกิจขนส่ง
จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปจากจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นเพียงผู้เช่าซื้อก็สามารถนำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปยื่นขอใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ การที่จำเลยที่ 4 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปใช้ในการประกอบการขนส่งและใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลของจำเลยที่ 4 ในขณะเกิดเหตุโดยจำเลยที่ 4 มิได้ทักท้วงหรือแจ้งถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งของรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าว ทั้งรถคันเกิดเหตุมีป้ายวงกลมซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 4 ติดอยู่ที่หน้ากระจกรถด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบการขนส่งโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ เมื่อขณะเกิดเหตุกระทำละเมิด จำเลยที่ 1 ได้กระทำในทางการที่จ้างและในธุรกิจประกอบการขนส่งของจำเลยที่ 2 และที่ 4 โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าสังหาริมทรัพย์: กรมในรัฐบาลประกอบธุรกิจให้เช่ามีอายุความ 2 ปี
แม้โจทก์จะเป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีภารกิจเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและการบริหารความถี่วิทยุ ดำเนินการด้านใบอนุญาตวิทยุคมนาคมตรวจสอบและเฝ้าฟังวิทยุ และดำเนินการอื่นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมก็ตาม แต่โจทก์รับเป็นผู้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมแก่เอกชนด้วย โดยให้เอกชนเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการของเอกชนผู้เช่า ซึ่งเอกชนผู้เช่าต้องเสียค่าเช่าตามประกาศที่โจทก์กำหนด ทั้งมีหน้าที่ต้องชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุแก่โจทก์อีกด้วยตามประกาศของโจทก์ เรื่องการปรับอัตราค่าเช่าเครื่องวิทยุคมนาคม และประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุ ต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ ดังนี้ การที่โจทก์ให้เอกชนเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์จึงเป็นกิจการอย่างอื่นที่สำคัญและที่ไม่ใช่ราชการ ซึ่งโจทก์จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารความถี่วิทยุอันเป็นภารกิจของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าเช่าจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าทางธุรกิจ: อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(5) และการรับรองการชำระหนี้จากการส่งมอบสินค้า
จำเลยสั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าจากโจทก์แล้ว ถือได้ว่า การซื้อขายสินค้ารายนี้โจทก์ผู้ขายได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยผู้ซื้อแล้ว โจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อของจำเลยมาแสดง การซื้อขายชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม จำเลยต้องชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามฟ้อง
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจของจำเลยอีกต่อหนึ่ง เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องตามฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจของจำเลยอีกต่อหนึ่ง เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องตามฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายบริการทางธุรกิจ ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ลงโทษเฉพาะความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
เมื่อเปรียบเทียบรูปและคำของเครื่องหมายในภาพถ่ายแผ่นป้ายหน้าร้านที่เกิดเหตุกับเครื่องหมายบริการของผู้เสียหายจะเห็นว่าแผ่นป้ายดังกล่าวอยู่ในแนวตั้ง มีสีเหลืองและมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ (โรมัน) สีแดงเรียงจากด้านบนมาด้านล่างว่า N PHOTO EXPRESS โดยอักษร N ทำเป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นซึ่งมีลักษณะคล้ายอักษรประดิษฐ์ตัว K ของผู้เสียหาย ส่วนคำว่า EXPRESS ก็มีลักษณะของการวางตัวอักษร ลวดลาย และสีก็คล้ายคลึงกับเครื่องหมายบริการคำว่า K KODAK EXPRESS ของผู้เสียหาย แม้คำว่า PHOTO ของเครื่องหมายในแผ่นป้ายหน้าร้านจะไม่คล้ายคำว่า KODAK ของผู้เสียหาย และผู้เสียหายปฏิเสธสิทธิว่าจะไม่ใช้คำว่า EXPRESS แต่เพียงผู้เดียว แต่การพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายต้องพิจารณาป้ายบริการทั้งหมดประกอบกัน มิใช่พิจารณาจากตัวอักษรหรือคำใดคำหนึ่ง จึงเห็นว่าเครื่องหมายบริการในแผ่นป้ายหน้าร้านที่เกิดเหตุมีลักษณะโดยรวมคล้ายกับเครื่องหมายบริการของผู้เสียหายดังกล่าว เป็นการเลียนแบบเครื่องหมายของผู้เสียหาย
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม และโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยให้บริการหรือเสนอบริการเลียนแบบเครื่องหมายบริการของผู้เสียหาย จึงไม่ต้องปรับบทว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 และโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นการค้าของผู้เสียหาย อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272 (1) ด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา แต่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวในฐานเลียนเครื่องหมายบริการของผู้เสียหาย อันเป็นความผิดกฎหมายบทเดียว คือ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม และโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยให้บริการหรือเสนอบริการเลียนแบบเครื่องหมายบริการของผู้เสียหาย จึงไม่ต้องปรับบทว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 และโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นการค้าของผู้เสียหาย อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272 (1) ด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา แต่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวในฐานเลียนเครื่องหมายบริการของผู้เสียหาย อันเป็นความผิดกฎหมายบทเดียว คือ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าซื้อขาย: พิจารณาประเภทธุรกิจผู้ขายและผู้ซื้อเพื่อกำหนดระยะเวลาอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม... เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำหรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นรวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง..." และมาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1)...(5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมในการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์และสินค้าอื่น ๆ เมื่อพิจารณาชื่อของบริษัท ศ. ลูกหนี้แล้ว เห็นว่า เป็นบริษัทค้าวัสดุ และบริษัทดังกล่าวติดต่อซื้อปูนซีเมนต์ไปจากโจทก์ เมื่อปี 2536 ต่อมาปี 2537 จำเลยทั้งสองจึงผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับบริษัท ศ. เพื่อชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าปูนซีเมนต์ที่บริษัทดังกล่าวมีอยู่ต่อโจทก์ก่อนแล้ว หรือขณะทำสัญญาค้ำประกันรวมทั้งหนี้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยกำหนดต้นเงินค้ำประกันสูงถึง 6,000,000 บาท แสดงว่าการซื้อขายปูนซีเมนต์ระหว่างโจทก์กับบริษัท ศ. มิได้กระทำเพียงคราวเดียว แต่เป็นการซื้อขายปูนซีเมนต์จำนวนมากต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2536 จึงเชื่อว่า บริษัท ศ. ซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์ไปเพื่อจำหน่าย มิใช่ซื้อไปเพื่อให้เป็นการเฉพาะภายในบริษัท กรณีย่อมตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความห้าปี มิใช่สองปี
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัท ศ. ชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมรับผิดด้วย แต่โจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียวและการที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้น ย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่น ๆ ด้วย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 291 และมาตรา 292 เพื่อมิให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่บริษัท ศ. ในคดีอื่นซ้ำซ้อนกับจำเลยทั้งสองในคดีนี้ จึงกำหนดความรับผิดในการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับบริษัท ศ. ไว้ในคำพิพากษาคดีนี้ด้วย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัท ศ. ชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมรับผิดด้วย แต่โจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียวและการที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้น ย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่น ๆ ด้วย ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 291 และมาตรา 292 เพื่อมิให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่บริษัท ศ. ในคดีอื่นซ้ำซ้อนกับจำเลยทั้งสองในคดีนี้ จึงกำหนดความรับผิดในการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับบริษัท ศ. ไว้ในคำพิพากษาคดีนี้ด้วย