พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าสมุดเช็ค: การนำเข้าเพื่อใช้ในกิจการธนาคาร ถือเป็นการขายสินค้าต้องเสียภาษี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทธนาคาร ได้สั่งสมุดเช็คจากประเทศอังกฤษเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์ โดยมอบให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์ใช้สั่งจ่ายเงิน สมุดเช็คนั้นเป็นสินค้าอย่างหนึ่งตามประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาตรา 79 ทวิ(1) การนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายและสินค้าเหล่านั้นมิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ถือว่าเป็นการขายสินค้า สมุดเช็คที่โจทก์สั่งเข้ามามีราคาถึงสามแสนบาทเศษ มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้ตามปกติและตามสมควร โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าสมุดเช็ค ซึ่งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 3) ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้าในวันนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อคำนวณมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับในการที่จะประเมินภาษีการค้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสมุดเช็คซึ่งคำนวณได้ดังกล่าวในประเภทการค้า 1 การขายของ รายการที่ประกอบการค้า การขายสินค้าชนิด 1(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการสำแดงเท็จและนำเข้าสินค้าโดยไม่ผ่านศุลกากร
มีผู้ส่งสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยาน โดยสายการบินของบริษัท อ. จำเลยร่วมกับพวกเพทุบายนำสินค้านั้นเข้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าของบริษัท อ. ในเขตศุลกากรโดยไม่ชอบ และกำลังจะนำสินค้านั้นออกจากคลังสินค้าเพื่อไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง อันเป็นการพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล แต่เจ้าพนักงานศุลกากรตรวจพบเสียก่อน ดังนี้ จำเลยจึงมี ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 9 มาตรา 6 และฉบับที่ 11 มาตรา 3 แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ด้วยเพราะจำเลยไม่ได้รับเอาสินค้านั้นไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่นำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่พิสูจน์สินค้าต้องห้ามนำเข้า: จำเลยต้องพิสูจน์แหล่งกำเนิดสินค้าที่นำเข้า
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 53 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ผลิตหรือมีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือซึ่งมาจากประเทศจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ใดนำสินค้าดังกล่าวนี้เข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรฐานนำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อจำเลยเป็นผู้นำเขากวางอ่อนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร คงโต้เถียงกันว่าเขากวางอ่อนของกลางเป็นของที่มีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือไม่ หน้าที่การพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ตามนัยแห่งมาตรา 100 พระราชบัญญัติศุลกากร
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การพิสูจน์สินค้าต้องห้ามนำเข้า: ผู้นำเข้าต้องพิสูจน์แหล่งกำเนิดเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดตามกฎหมายศุลกากร
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 53 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ผลิตหรือมีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือซึ่งมาจากประเทศจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ใดนำสินค้าดังกล่าวนี้เข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรฐานนำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อจำเลยเป็นผู้นำเขากวางอ่อนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร คงโต้เถียงกันว่าเขากวางอ่อนของกลางเป็นของที่มีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือไม่ หน้าที่การพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ตามนัยแห่งมาตรา 100 พระราชบัญญัติศุลกากร
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าซีเมนต์เม็ดเพื่อผลิตขาย ไม่ถือเป็นการค้า หากผู้สั่งซื้อไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าซีเมนต์เม็ด จึงไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์สั่งซีเมนต์เม็ดรายพิพาทจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับผลิตเป็นซีเมนต์เพื่อขาย มิได้สั่งซีเมนต์ เม็ดมาเพื่อขาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้า และรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรค 2
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512)
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการซีเมนต์เม็ด จึงถือไม่ได้ว่าการนำซีเมนต์เม็ดเข้ามาสำหรับผลิตเป็นซีเมนต์ผง เป็นการขายสินค้าประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (3)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512)
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการซีเมนต์เม็ด จึงถือไม่ได้ว่าการนำซีเมนต์เม็ดเข้ามาสำหรับผลิตเป็นซีเมนต์ผง เป็นการขายสินค้าประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีการค้าสำหรับซีเมนต์เม็ดที่นำเข้าเพื่อผลิตเป็นซีเมนต์ผง ไม่ถือเป็นการค้าขายซีเมนต์เม็ด
โจทก์สั่งซีเมนต์เม็ดจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตเป็นซีเมนต์ผงขายมิได้สั่งซีเมนต์เม็ดเพื่อขาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตาม มาตรา 78 วรรคสอง
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าซีเมนต์เม็ด จึงถือไม่ได้ว่าการนำซีเมนต์เม็ดเข้ามาสำหรับผลิตเป็นซีเมนต์ผงเป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ทวิ(3)
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าซีเมนต์เม็ด จึงถือไม่ได้ว่าการนำซีเมนต์เม็ดเข้ามาสำหรับผลิตเป็นซีเมนต์ผงเป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ทวิ(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดเข้าประเทศ แม้ชำระภาษีแล้ว ก็ยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ได้แยกการกระทำผิดไว้หลายอย่างหลายชนิด แต่ละชนิดเป็นความผิดอยู่ในตัวเอง ไม่เกี่ยวข้องกัน
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักร ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องมีเจตนาจะฉ้อภาษีรัฐบาล
จำเลยใช้เอกสารปลอมสั่งอาวุธปืนซึ่งเป็นของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา และมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2513)
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักร ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องมีเจตนาจะฉ้อภาษีรัฐบาล
จำเลยใช้เอกสารปลอมสั่งอาวุธปืนซึ่งเป็นของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา และมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดเข้าประเทศโดยใช้เอกสารปลอม แม้ชำระภาษีแล้ว ก็ยังถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ได้แยกการกระทำผิดไว้หลายอย่างหลายชนิด แต่ละชนิดเป็นความผิดอยู่ในตัวเอง ไม่เกี่ยวข้องกัน
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักร ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องมีเจตนาจะฉ้อภาษีรัฐบาล
จำเลยใช้เอกสารปลอมสั่งอาวุธปืนซึ่งเป็นของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญาและมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2513)
ความผิดฐานนำของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักร ไม่จำต้องมีองค์ประกอบในเรื่องมีเจตนาจะฉ้อภาษีรัฐบาล
จำเลยใช้เอกสารปลอมสั่งอาวุธปืนซึ่งเป็นของต้องจำกัดที่จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญาและมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 อีก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากสินค้าที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตของตนเอง ไม่ถือเป็นผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต้องเป็น 'ผู้ประกอบการค้า'ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77. ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบการค้า2 ประเภท. คือ ผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้กำหนดประเภทการค้าและรายการที่ประกอบการค้าไว้ประเภทหนึ่ง. ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีนั้น ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง. กับผู้ที่บทบัญญัติในหมวด 4 ที่ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยอีกประเภทหนึ่ง. ประเภทหลังนี้คือผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (1)และ (2).
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง.อธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด. ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ). มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ.แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว.
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น. โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี. และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า.ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2)ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้. เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว.
คำว่า'ผลิตเพื่อขาย'ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า 'โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย' ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิ วรรคแรก. กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี.การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี. กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า 'มิใช่นำมาขาย' ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว. ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า 'ผลิตเพื่อขาย' ลงไปอีก. และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย. ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512).
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง.อธิบดีกรมสรรพากร(โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด. ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุให้เสียภาษีไว้โดยเฉพาะ). มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใดๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ.แต่อธิบดีฯ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง(1)และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว.
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่สั่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น. โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี. และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า.ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 2)ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้. เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา78 วรรคหนึ่งและมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว.
คำว่า'ผลิตเพื่อขาย'ตามมาตรา 79ทวิ(1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า 'โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย' ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79ทวิ วรรคแรก. กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี.การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี. กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า 'มิใช่นำมาขาย' ในตอนต้นของมาตรา 79ทวิ(1) อยู่แล้ว. ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใส่คำว่า 'ผลิตเพื่อขาย' ลงไปอีก. และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ(ก) ของมาตรา 79ทวิ(1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติและตามสมควรได้เลย. ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79ทวิวรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบฯ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว