คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นิติสัมพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมไม่อาจต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายจากนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และ 2 โดยตรง ศาลมีดุลพินิจเรื่องค่าทนาย
โจทก์จ้างเหมาให้จำเลยที่ 2 สร้างคานเรือโดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ก่อสร้างให้เสร็จตามสัญญาจ้างเหมา โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ใช้ค่าเสียหายตามสัญญาค้ำประกัน และศาลเรียกจำเลยที่ 2 เข้ามาในคดีด้วยตามคำขอของจำเลยที่ 1 มีผู้อื่นขอเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยโดยอ้างว่าเป็นผู้รับเหมางานช่วงจากจำเลยที่ 2 อาจถูกไล่เบี้ยได้ ศาลอนุญาต ดังนี้เมื่อฝ่ายจำเลยแพ้คดี ศาลจะพิพากษาให้จำเลยร่วมพลอยต้องร่วมใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2ด้วยหาได้ไม่ แต่จำเลยร่วมอาจต้องร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย
ค่าทนายความอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีรับผิดชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่ชนะหรือไม่เพียงใดย่อมเป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีที่โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีพนักงานอัยการเป็นทนายให้ เมื่อชนะคดี ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าทนายให้ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีนิติสัมพันธ์และอำนาจฟ้องขับไล่ จำเลยครอบครองก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่า
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของ แม้ต่อมาจำเลยจะขอเช่าจากเจ้าของและเจ้าของไม่ยอมให้เช่า จำเลยก็หาได้ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ไม่ โจทก์จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของ มิใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งยังมิได้รับมอบการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ แม้จำเลยจะบุกรุก
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของแม้ต่อมาจำเลยจะขอเช่าจากเจ้าของและเจ้าของไม่ยอมให้เช่า จำเลยก็หาได้ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ไม่ โจทก์จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของ มิใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งยังมิได้รับมอบการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีนิติสัมพันธ์และการละเมิดต่อเจ้าของที่ดิน ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของ. แม้ต่อมาจำเลยจะขอเช่าจากเจ้าของและเจ้าของไม่ยอมให้เช่า. จำเลยก็หาได้ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ไม่. โจทก์จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน. การที่จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ. ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของ มิใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งยังมิได้รับมอบการครอบครอง. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์โมฆะ: การสมยอมทุจริตและขาดนิติสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์ ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505 พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ที่เป็นโมฆะ เนื่องจากการสมยอมกันโดยไม่สุจริต และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับวัด
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย. เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า. ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย. แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า.กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด.ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส.ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด. คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท. จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท. เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์.ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป. โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน. แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี.
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี. แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด. มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย. จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่. ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน. จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505.พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต. เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย. สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย. โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์ซื้อขายที่ดิน: ตัวแทนจำเลย vs. ผู้รับซื้อจริง, ขอบเขตการขายที่ดินรวม และอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์โดยผู้มีชื่อเป็นตัวแทนจำเลย แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ความว่าผู้มีชื่อนั้นไม่ใช่ตัวแทนจำเลย หากแต่เป็นผู้รับซื้อที่ดินจากจำเลยแล้วมาโอนให้โจทก์ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจึงต่างกับข้อหาตามฟ้อง ทั้งเมื่อจำเลยไม่ได้ตกลงขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ได้
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญากันไว้ว่าจะชำระราคาและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน เมื่อโฉนดพ้นจากการอายัด สิทธิเรียกร้องในการบังคับตามสัญญาซื้อขายย่อมเริ่มนับแต่เมื่อมีการเพิกถอนการอายัดเป็นต้นไป หากนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนดสิบปี คดีย่อมไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
จำเลยตกลงจะขายที่ดินของจำเลยตามตราจองซึ่งแบ่งแยกจากตราจองฉบับเดิมซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมหลายเจ้าของ เมื่อตราจองของจำเลยถูกเพิกถอนกลับคืนเป็นตราจองฉบับเดิม ก็ถือได้ว่าจำเลยตกลงขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยตามตราจองฉบับเดิมนั้น ซึ่งจำเลยมีสิทธิขายได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้ซุง การเรียกร้องเงินคืน และอายุความทั่วไป
โจทก์จำเลยติดต่อค้าขายไม้ซุงกัน. โดยโจทก์ให้เงินจำเลยไปก่อน เมื่อจำเลยส่งไม้มาให้โจทก์ก็คิดหักราคาไม้กับเงินที่จำเลยรับไปล่วงหน้า. และถ้าไม้ที่จำเลยส่งมีราคาน้อยกว่าเงินที่จำเลยรับไป หักเหลือเงินเท่าใดก็ขึ้นบัญชีไว้ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์. ดังนี้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาชนิดหนึ่งอันเกิดจากข้อตกลงในการที่จะซื้อขายไม้กัน ซึ่งไม่เข้ากับบทบัญญัติบทหนึ่งบทใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. ฉะนั้น ในกรณีที่เงินของโจทก์ยังเหลืออยู่ที่จำเลยมากน้อยเท่าใด จึงมีสภาพเป็นเรื่องที่จำเลยเก็บรักษาเงินของโจทก์ไว้เพื่อทำการซื้อขายไม้กันต่อไป. เมื่อจำเลยไม่มีไม้มาขายให้แก่โจทก์. โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนั้นได้.
อายุความเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ.จึงต้องปรับใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164 ซึ่งเป็นอายุความเรียกร้องทั่วไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่: ผู้เช่าไม่มีสิทธิขับไล่ผู้ครอบครองก่อนทำสัญญาเช่า แม้จะเช่าที่ดินแปลงเดียวกัน
โจทก์เช่าที่ดินทั้งแปลงแต่บางส่วนในที่ดินแปลงที่โจทก์เช่านั้นจำเลยได้ปลูกบ้านอาศัยอยู่ก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าของที่ดิน และจำเลยได้อาศัยอยู่เรื่อยมาเมื่อโจทก์ยังไม่เคยครอบครองที่ดินที่จำเลยใช้ปลูกบ้านนั้น จำเลยคงมีนิติสัมพันธ์กับเจ้าของที่ดินเท่านั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานนอกประเด็นข้อต่อสู้ในคำให้การ และอำนาจฟ้องกรณีไม่มีนิติสัมพันธ์เช่า
ตามคำให้การของจำเลย จำเลยได้ยอมรับถึงการบอกกล่าวเลิกสัญญาจากโจทก์แล้ว แต่จำเลยมีข้อต่อสู้บางประการ จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยไม่เคยได้รับคำบอกกล่าวหรือไม่ ครั้นเวลาพิจารณา จำเลยกลับเบิกความว่าไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่า ดังนี้ เป็นการสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้ ขัดกับจำเลยได้ยื่นคำให้การไว้
of 14